การฝึกอบรมด้านการป้องกันและปราบปรามของผู้พิทักษ์ป่าไทย

ภาพรวมของการฝึกอบรมด้านการป้องกันและปราบปรามของผู้พิทักษ์ป่าไทย

1.การฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานพิทักษ์ป่า สำหรับลูกจ้างชั่วคราว นักงานพิทักษ์ป่า ผู้ช่วยหรือหัวหน้าพื้นที่คุ้มครองในอดีต ฝึกอบรมที่เขาสามหลั่น จ.สระบุรี ค่ายฝึกรบพิเศษประตูผา จ.ลำปาง หรือ ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปัจจุบันไม่มีการฝึกแล้ว

2.การฝึกอบรมหลักสูตรสืบสวนและการดำเนินคดีด้านการป่าไม้ ของกรมป่าไม้ ปัจจุบัน ศูยน์ฝึกอบรมการป่าไม้ที่ 3 (ตาก) ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในพื้นที่เป็นอย่างมาก

3.การฝึกอบรมโดยร่วมกับองค์กรเอกชน

3.1 Smart Patrol Ranger ร่วมกับ wcs และ ตชด. ในการปูพื้นฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ และพัฒนาระบบ mist ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและพื้นที่นำร่อง หลักสูตรประกอบด้วย การใช้ แผนที่ เข็มทิศ และ GPS โดยเป็นรุ่นใหม่ คือ GPSMap 76 CSx และ 60 CSx การใช้แบบฟอร์มการเก็บข้อมูลลาดตระเวนและการ จำแนกร่อยรอยสัตว์ป่า สำหรับหลักสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน ได้แก่ ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย, กายบริหารและการเตรียมความพร้อมร่างกายตอนเช้า สันทนาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์, เทคนิคการลาดตระเวนและการจับกุม (รูปแบบการลาดตระเวน, การพรางตัว, การแกะรอย, ระยะประชิด),การวาง แผนยุทธศาสตร์การลาดตระเวน, การฝึกภาวะเป็นผู้นำ, ภาคปฏิบัติการฝึกใช้การอาวุธปืนHK, และการบำรุงรักษาอาวุธปืน

3.2 ร่วมกับ Freeland อบรมพนักงานพิทักษ์ป่าด้านการบังคับใช้กฎหมาย ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง หลักสูตรประกอบด้วย บรรยาย – อาชญากรรมด้านสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และบทบาทของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า บรรยาย – กฎหมายป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เบื้องต้น บรรยาย – การประเมินปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่อนุรักษ์และประเภทของผู้ละเมิดกฎหมาย ฝึกการปฐมพยาบาล และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์นำร่องบอกทิศทาง (แผนที่ เข็มทิศ GPS) ความปลอดภัยในการใช้อาวุธ การใช้อาวุธ การเตรียมการ ปฏิบัติการภาคสนาม สัญญาณมือ การตั้งฐานลาดตระเวน ปฏิบัติการลาดตระเวนในรูปแบบต่างๆ การปะทะ ยุติการปะทะ การจู่โจมและจับกุมทักษะการสังเกต และการค้นหาผู้ละเมิดกฎหมาย กระบวนการสถานที่เกิดเหตุ การใช้เครื่องพันธนาการ การควบคุมตัว ค้นตัวผู้ละเมิดกฎหมาย บันทึกการจับกุม และการสอบปากคำ การตั้งด่านตรวจแบบต่างๆ การทดสอบ

4.การฝึกอบรมโดยพื้นที่คุ้มครองจัดขึ้นเองหรือเชิญวิทยากรมาร่วม เช่น ตำรวจ ทหาร อัยการ ผู้พิพากษา

5.การฝึกอบรมหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การกู้ภัย ปฐมพยาบาล การดำน้ำ การฝึกสุนัข การมีส่วนร่วม เป็นต้น

การบริหารจัดการงานป้องกันและปราบปรามในพื้นที่คุ้มครองมีความสำคัญมาก ควรจัดเป็นความจำเป็นเร่งด่วนประการแรกในการจัดการพื้นที่คุ้มครอง หากรักษาพื้นที่ไว้ไม่ได้ งานด้านอื่นๆ ก็ไม่สามารถกระทำได้

ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

ระยะสั้น

-ตั้งคณะทำงานร่างหลักสูตรผู้พิทักษ์ป่า 3 ระดับ คือ ผู้ปฏิบัติ หัวหน้าหน่วย และผู้บริหาร โดยนำข้อดีของแต่ละหลักสูตรมาพิจารณาประกอบการปฏิบัติงานได้รอบด้านและครบวงจร เช่น การลาดตระเวนคุณภาพ ประกอบกับการจัดตั้งหน่วยสืบสวน และหน่วยข่าว ประสานทำงานร่วมกัน

-รวบรวมสมาชิกผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการทำงานปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ก่อตั้งเป็นสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย

( Thai Rangers Association) และเข้าร่วมกับ สหพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศInternational Ranger Federation www.int-ranger.net ป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ในวิชาชีพ เสริมสร้างกำลังใจ ช่วยเหลือและ แบ่งปันในด้านสวัสดิการ และเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิงานของผู้พิทักษ์ป่าไทยและผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลก

ระยะกลาง

กำหนดเป็นโครงสร้างการบริหารงานป้องกันในแต่ละพื้นที่คุ้มครอง โดยจัดอัตรากำลัง อาวุธ อุปกรณ์การปฏิบังาน ที่เหมาะสม ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตลอลเวลาและทุกสภาวะ

ระยะยาว

ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่าหรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยปรับใช้หลักสูตรของ park ranger school ประเทษสหรัฐอเมริกาที่ผู้เข้าทำงานในพื้นที่คุ้มครองต้องเข้าโรงเรียนพิทักษ์ป่าก่อน 10 เดือน และทดลองงานในพื้นที่ อีก 3 เดือน จึงจะทำงานในพื้นที่คุ้มครองได้