ความเป็นมาของการจัดตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่า (Thai Ranger Association)

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ตัวแทนจากชมรมผู้พิทักษ์ป่าแดนสยาม มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิฟรีแลนด์ และ Panthera รับรองข้อบังคับ เลือกตั้งคณะกรรมการชั่วคราว รับรองที่ปรึกษาสมาคม เพื่อดำเนินการจัดตั้งสมาคม มีเนื้อหาหลักๆ คือ การสรรหาคณะกรรมการเพื่อจัดตั้งสมาคม การคัดเลือกคณะกรรมการของสมาคมให้เหมาะสมกับตำแหน่ง และพิจารณาร่างข้อบังคับสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย

โดยนายพลวีร์ บูชาเกียรติ ประธานในที่ประชุมได้เสนอร่างข้อบังคับที่ได้จัดทำมาให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อใช้เป็นข้อบังคับของสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทยต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ใช้ข้อบังคับที่ประธานเสนอมานั้นเป็นข้อบังคับของสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย แล้วให้นำไปยื่นจดทะเบียนกับทางราชการต่อไป

ส่วนการพิจารณาแต่งตั้งผู้ยื่นคำขอจัดตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ยื่นคำร้อง รวมทั้งดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับเอกสารในการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมจนเสร็จสิ้น และมีอำนาจมอบให้ผู้อื่น ยื่นคำขอดังกล่าวแทนได้ ประกอบด้วย

1.นายพลวีร์ บูชาเกียตินายกสมาคม
2.นายเปลี่ยนประสพ ขาวนวลอุปนายกสมาคมฝ่ายบริหาร
3.นายธรรมรัฐ วงศ์โสภาอุปนายกสมาคมฝ่ายกฎหมาย
4.นางพีรนุช ดุลกูล แคพเพลลาอุปนายกสมาคมฝ่ายต่างประเทศ
5.นายนริศ บ้านเนินปฏิคม
6.นายสมนึก แผนสมบูรณ์เหรัญญิก
7.นางสาวเกศรินทร์ เจริญรักษ์เลขานุการ
8.ม.ล.ปริญญากร วรวรรณประชาสัมพันธ์
9.นายประเสิรฐ พ่านพัฒนกุลนายทะเบียน
10.นายภาณุเดช เกิดมะลิกรรมการ
11.นางสาวกฤษณา แก้วปลั่งกรรมการ
12.นายวินัย เทพเสนากรรมการ
13.นายบุญแถม ตามประสีกรรมการ
14.นางสาวอุษารดี ภูมาลีกรรมการ

วัตถุประสงค์ของสมาคม

1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้พิทักษ์ป่าไทยให้มีมาตรฐานระดับสากล รวมถึงความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ พิทักษ์ป่า อันเป็นการตอบสนองต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศ แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทป่าไม้ แผนแม่บทของหน่วยงาน โดยสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่า (Park Ranger School) หรือจัดหลักสูตร การฝึกอบรมพัฒนาผู้พิทักษ์ป่า เพื่อแบ่งปันความรู้ ทรัพยากร เทคโนโลยี ในประเทศไทย และกับองค์กร นานาชาติ

2. สร้างการรับรู้ในสิทธิ และสวัสดิการของผู้พิทักษ์ป่า รวมถึงครอบครัวของผู้พทักษ์ป่า ที่พึงได้รับอัน เกิดจากการปฏิบัติภารกิจ รวมถึงส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี และความสามัคคีของกลุ่มสมาชิก

3. สื่อสาร สร้างความภาคภูมิใจ และความตระหนักถึงบทบาท การทํางาน หน้าที่ของผู้พิทักษ์ป่า ต่อผู้พิทักษ์ป่า และสาธารณะชน

4. ส่งตัวแทนผู้พิทักษ์ป่าไทยเข้าร่วมประชุม World Ranger Congress ที่จัดขึ้นทุก 3 ปี

5. กิจกรรมทุกประการ ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง

นอกจากนี้ ภายหลังจากดำเนินการจัดตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย เรียบร้อยแล้ว จะเปิดรับสมัครสมาชิกสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย โดยจะเปิดกว้างสำหรับสาธารณชนทุกคน ที่มีจิตใจรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงาน “พิทักษ์ป่า” ไปพร้อมๆ กันกับ “ผู้พิทักษ์ป่า” ตัวจริง