Smart Patrol Ranger โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการลาดตระเวน

Smart Patrol Ranger

SPR Main_23

ขอขอบคุณภาพและเรื่องจาก www.wcsthailand.org

ด้วยตระหนักถึงปัญหา และความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาระบบลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์ให้มีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ชุดครูฝึกกองกำกับการฝึกอบรมพิเศษ 2 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกองบังคับการปฏิบัติบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 3 จึงมีการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลาดตระเวนในระดับต่างๆ ภายใต้โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและเทคนิคการลาดตระเวน ตามหลักสูตรเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลาดตระเวนเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาดำเนินการอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้หากต้องการให้การลาดตระเวนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผล สัมฤทธิ์จากการดำเนินงานตามเป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรจะต้องไม่ใช่เพียงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน ให้สามารถปฏิบัติงานได้เท่านั้น แต่ต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลัง เต็มความสามารถ ภายใต้การสนับสนุนด้านความรู้ เทคนิค อุปกรณ์ และเสบียงอย่างเพียงพอ

SPR Main_02

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลาดตระเวนในระดับพื้นที่ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวน พิทักษ์ป่า พนักงาน ลูกจ้าง และข้าราชการในพื้นที่ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในระบบ และเทคนิคการลาดตระเวนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระดับข้าราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคลากรที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของการลาดตระเวนในระดับพื้นที่ โดยตรง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการลาด ตระเวน มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงระดับที่สามารถวางแผนการดำเนินการลาดตระเวนบนพื้นฐานของข้อมูลเชิง วิชาการ สามารถตรวจวัด ติดตาม และประเมินผลการลาดตระเวนได้อย่างเป็นระบบ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเพื่อหวังผลสัมฤทธิ์จากการลาดตระเวนเป็นไป อย่างมีขั้นตอน มีกระบวนการ และเป็นระบบ มีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถตรวจวัดพัฒนาการ และความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น และประเมินความต้องการในการฝึกอบรม (need assessment) อย่างเหมาะสมให้กับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับความรับผิดชอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเป้าหมายคือ

SPR Main_03

1.ระดับปฏิบัติการ

SPR Main_04

ปัจจุบัน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นพื้นที่นำร่องในการนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ ใช้ในการลาดตระเวน โดยเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการได้เรียนรู้และใช้จัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ ตามเส้นทางที่ได้ลาดตระเวน และใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนเส้นทางลาดตระเวน ด้วยผลสัมฤทธิ์ในพื้นที่นำร่องดังกล่าว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้ขยายผลการดำเนินงานสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติแห่งอื่นๆต่อไป โดยการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในระดับพิทักษ์ป่า พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ ที่ทำหน้าที่โดยตรงกับงานลาดตระเวนพื้นที่อนุรักษ์ทั้งหมด 7 รุ่น รุ่นละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 140 คน  ใช้เวลาในการอบรมรุ่นละ 10 วันทำการ โดยมีพื้นที่อนุรักษ์เป้าหมายทั้งหมด 12 พื้นที่ ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 5 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เขตรักษาพันธุ์สสัตว์ป่าเขาบรรทัด  และ อุทยานแห่งชาติ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาปู่ – เขาย่า และอุทยานแห่งชาติภูจอง – นายอย

SPR Main_05

SPR Main_06

SPR Main_22

เนื้อหาในการฝึกอบรมประกอบด้วย การฝึกฝน และการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันได้แก่เทคนิคการลาดตระเวน เทคนิคการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทำผิด เทคนิคการปฐมพยาบาลภาคสนาม เทคนิคการใช้และบำรุงรักษาอาวุธปืน  นอกจากนี้ ยังให้การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ได้แก่ การใช้แผนที่ และเข็มทิศเพื่อการนำทางและกำหนดเส้นทางลาดตระเวน การใช้ GPS เพื่อแสดงพิกัดตำแหน่ง การจำแนกร่องรอยสัตว์ป่า การใช้วิทยุสื่อสาร การทำความเข้าใจและการจดบันทึกในแบบฟอร์มลาดตระเวนที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการใช้กล้องดิจิตอลเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ สภาพพื้นที่ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชที่น่าสนใจ

SPR Main_07

2.ระดับหัวหน้าหน่วยงาน

นอกจากการฝึกอบรมบุคคลากรในระดับปฏิบัติ การแล้ว การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพบุคคลากรในระดับหัวหน้างาน ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนอีกประการหนึ่งที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ในระดับสำนักงาน  หรือระดับข้าราชการ ผู้ควบคุม และรับผิดชอบพื้นที่อนุรักษ์ บุคคลากรระดับหัวหน้างานจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการผลักดันงานลาดตระเวนให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมาย อีกทั้งเป็นผู้ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลงานในเชิงปริมาณและคุณภาพในเวลาที่รวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาระบบลาดตระเวนให้ได้ มาตรฐานในระดับสากล ส่งผลให้การบริหารจัดการในแต่ละพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เอื้อต่อการดำเนินการตามมาตรการทางกฏหมาย และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนากลยุทธในการวางแผนการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ใน วงกว้างต่อไป

SPR Main_08

SPR Main_09

ด้วยความสำคัญดังกล่าว จึงนำไปสู่แนวคิดในการเสริมสร้างระบบการลาดตระเวน ภายใต้โครงการการลาดตระเวนเชิงพื้นที่ MIST (a spatial Management Information System) ด้วยระบบดังกล่าว บุคคลากรในระดับหัวหน้างานจะสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของการลาดตระเวน ผ่านการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลด้านสถานภาพสัตว์ป่า และปัจจัยคุกคามที่ตรวจพบในแต่ละช่วงเวลา และในแต่ละพื้นที่ได้สะดวกและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของปัจจัยคุกคามได้ในเบื้องต้น นำไปสู่การวางแผนการปฏิบัติงานลาดตระเวน และการจัดการเพื่อป้องกันพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างตรงจุด ซึ่งระบบดังกล่าว ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540  และปัจจุบันได้มีการนำระบบการลาดตระเวนนี้มาใช้อย่างแพร่หลายในภูมิภาค เอเชีย  โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS)

SPR Main_20

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงกำหนดให้มีการฝึกอบรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการลาดตระเวนในพื้นที่ อนุรักษ์ระดับหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นข้าราชการ หรือพนักงานราชการที่ทำหน้าที่จัดการฐานข้อมูลการลาดตระเวนและระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ โดยมีพื้นที่อนุรักษ์เป้าหมายทั้งหมด 14 พื้นที่ คือ สำนัก ป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่า สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปรานบุรี) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฏธานี)  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (ตาก)


SPR Main_21

เนื้อหาวิชาประกอบด้วย การแนะนำสถานการณ์ และความจำเป็นในการใช้ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ  แนะนำแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล และโครงสร้างของระบบฐานข้อมูล MIST การเตรียมข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อใช้ใน MIST การจัดระบบข้อมูลจากการลาดตระเวน การวิเคราะห์ผล การจัดทำรายงาน และการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากระบบฐานข้อมูล MIST

ปัจจุบัน พื้นที่อนุรักษ์ตามเป้าหมายการขยายผลในโครงการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อการ จัดการพื้นที่อนุรักษ์ กำลังรุดหน้าอย่างต่อเนื่อง จากพื้นที่ที่เป็นหัวใจของการอนุรักษ์ในประเทศไทยคือมรดกโลกห้วยขาแข้ง-ทุ่ง ใหญ่นเรศวร สู่พื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในขณะที่วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าก็กำลังถูกคิดค้น ทดสอบ ปรับปรุง และพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งSPR Main_01

ติดตามกิจกรรมในโครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน ในพื้นที่เป้าหมาย ได้ที่นี่…