ASEAN REGIONAL PROTECTED AREA PROTECTION AND ENFORCEMENT MANAGER (PAPEM)

ASEAN REGIONAL PROTECTED AREA PROTECTION AND ENFORCEMENT MANAGER (PAPEM)
STRATEGIC & TACTICAL OPERATIONAL PATROLLING (STOP)
การฝึกอบรมระดับภูมิภาคอาเซียนสาหรับหัวหน้าฝ่ายป้องกันและปราบปรามในพื้นที่อนุรักษ์และ วางแผนปฏิบัติการลาดตระเวนยุทธวิธี
วันที่ 4-17 ตุลาคม 2553 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


การฝึกอบรมระดับภูมิภาคอาเซียนสาหรับหัวหน้าฝ่ายป้องกันและปราบปรามในพื้นที่อนุรักษ์และ วางแผนปฏิบัติการลาดตระเวนยุทธวิธี

การฝึกอบรมระดับภูมิภาคอาเซียนสาหรับหัวหน้าฝ่ายป้องกันและปราบปรามในพื้นที่อนุรักษ์และ วางแผนปฏิบัติการลาดตระเวนยุทธวิธี

การอบรมที่ออกแบบสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติการลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์ หรือ สภาพป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระยะเวลา 12 วัน รวมภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ มีการพักแรมในพื้นที่ป่าระหว่างการฝึกอบรม
วัตถุประสงค์ของการอบรม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม (ผู้ที่อยู่ในระดับหัวหน้าฝ่ายป้องกัน หรือ ผู้ที่กาลังได้รับตาแหน่งหัวหน้าฝ่ายป้องกัน) สามารถออกแบบ วางแผน ปฏิบัติ และวิเคราะห์ ปฏิบัติการลาดตระเวนยุทธวิธีเพื่องานป้องกันและปราบปรามอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ :
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ โดยให้การสนับสนุนในเรื่องที่พัก และ สถานที่ฝึกอบรม
ศูนย์ความหลากลายทางชีวภาพแห่งอาเซียน (ASEAN CENTRE FOR BIODIVERSITY – ACB) สนับสนุนงบประมาณสาหรับตัวแทนผู้เข้าร่วมอบรมจากประเทศสมาชิกอาเซียน
มูลนิธิฟรีแลนด์ รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตร คู่มือประกอบการอบรม และอบรม โดยงบประมาณสนับสนุนจาก USAID

 

การฝึกปฏิบัติภาคสนาม

การฝึกปฏิบัติภาคสนาม

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1) มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานของรัฐในประเทศของตน
2) สามารถอ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ
3) สุขภาพร่างกาย แข็งแรง
4) เป็นผู้ที่รับผิดชอบบัญชาการ วางแผน และ ปฏิบัติการลาดตระเวนเพื่อป้องกันและปราบปรามในพื้นที่อนุรักษ์
5) ผู้เข้ารับการอบรมยังอยู่ในตาแหน่งรับผิดชอบงานเดิมที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 3 ปี หลังจากฝึกอบรม
ระดับของการอบรม
1) การฝึกอบรมนี้อยู่ในระดับ 3 ตามมาตรฐานการอบรมที่ระบุในมาตรฐานความสามารถของอาเซียน (ACB Competency Standards) และมีการประเมินตลอดระยะเวลาการอบรม
2) การฝึกอบรมนี้มีการทดสอบและสะสมคะแนนระหว่างการอบรมเพื่อกาหนดระดับความสามารถของผู้เข้าร่วมอบรม

การฝึกวางแผนลาดตระเวนโดยการจำลองสถานการณ์

การฝึกวางแผนลาดตระเวนโดยการจำลองสถานการณ์

หัวข้อในการอบรม
1. การบริหารจัดการงานป้องกัน
2. ภัยคุกคามต่อพื้นที่อนุรักษ์และการละเมิดกฎหมาย
3. การประเมินภัยคุกคามและสิ่งที่ขาด และจาเป็น
4. ปฏิบัติการลาดตระเวน ประเภทและการใช้ประโยชน์ เทคนิคและแบบฝึกหัด ความเชี่ยวชาญ
5. ความเป็นผู้นา และการบริหารทรัพยากรบุคคล
6. การสืบสวนสอบสวน
7. การพัฒนาและบริหารเครือข่าย (สาย) ผู้ให้ข่าว
8. การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนลาดตระเวน การประสานงาน การออกคาสั่งบังคับบัญชา และการควบคุม
9. การเก็บข้อมูลให้เป็นความลับ
10. วิธีการสั่ง การพัฒนาการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
11. ทดสอบด้วยการปฏิบัติครบวงจร

หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปราบปรามจากประเทศแถบอาเซียน 10 ประเทศ

การบริหารจัดการงานป้องกันและปราบปรามมีความสำคัญมาก ควรจัดเป็นความจำเป็นเร่งด่วนประการแรกในการจัดการพื้นที่คุ้มครอง หากรักษาพื้นที่ไว้ไม่ได้ งานด้านอื่นๆ ก็ไม่สามารถกระทำได้ โดยรวมการอบรมครั้งนี้ทำให้เราได้รับทราบแนวคิด มุมมองและวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติงานป้องกันพื้นที่คุ้มครอง ของอีกหลายๆ ประเทศ ทั้งประเทศตะวันตก และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่สำคัญคือการได้พันธมิตรและเครือข่ายเพื่อนบ้านในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการสืบสวนอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีการค้าผิดกฏหมายระหว่างประเทศอีกด้วย

สำหรับเนื้อหาในการอบรมนั้น เพียงพอต่อความต้องการแต่ต้องนำมาปรับใช้กับประเทศไทยภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งคุณภาพและปริมาณบุคลากร อาวุธ อุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การติดต่อสื่อสาร สวัสดิการ การฝึกอบรมทั้งระดับผู้ปฏิบัติและผู้บังคับบัญชา รวมทั้งภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ เช่นการจัดการกับม็อบ การเจรจาต่อรอง มวลชนสัมพันธ์ ซึ่งวิทยากรภายในประเทศก็มีความรู้ความสามารถที่จะทำการฝึกอบรมได้

ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

ระยะสั้น

-ตั้งคณะทำงานร่างหลักสูตรผู้พิทักษ์ป่า 3 ระดับ คือ ผู้ปฏิบัติ หัวหน้าหน่วย และผู้บริหาร โดยนำข้อดีของแต่ละหลักสูตรมาพิจารณาประกอบการปฏิบัติงานได้รอบด้านและครบวงจร เช่น การลาดตระเวนคุณภาพ ประกอบกับการจัดตั้งหน่วยสืบสวน และหน่วยข่าว ประสานทำงานร่วมกัน

-รวบรวมสมาชิกผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการทำงานปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ก่อตั้งเป็นสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย

( Thai Rangers Association) และเข้าร่วมกับ สหพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศInternational Ranger Federation www.int-ranger.net ป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ในวิชาชีพ เสริมสร้างกำลังใจ ช่วยเหลือและ แบ่งปันในด้านสวัสดิการ และเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิงานของผู้พิทักษ์ป่าไทยและผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลก

ระยะกลาง

กำหนดเป็นโครงสร้างการบริหารงานป้องกันในแต่ละพื้นที่คุ้มครอง โดยจัดอัตรากำลัง อาวุธ อุปกรณ์การปฏิบังาน ที่เหมาะสม ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตลอลเวลาและทุกสภาวะ

ระยะยาว

ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่าหรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยปรับใช้หลักสูตรของ park ranger school ประเทษสหรัฐอเมริกาที่ผู้เข้าทำงานในพื้นที่คุ้มครองต้องเข้าโรงเรียนพิทักษ์ป่าก่อน 10 เดือน และทดลองงานในพื้นที่ อีก 3 เดือน จึงจะทำงานในพื้นที่คุ้มครองได้