การประชุมผู้พิทักษ์ป่าโลก ครั้งที่ 9 World Ranger Congress 2019

การประชุมผู้พิทักษ์ป่าโลกประจำปี 2019 ของ International Ranger Federation(IRF)การประชุมผู้พิทักษ์ป่าโลก World Ranger Congress ครั้งที่ 9 ได้จัดขึ้นที่ อุทยานแห่งชาติจิตวัน ประเทศเนปาล พิธีเปิดมีขึ้นวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 มีผู้พิทักษ์ป่าเข้าร่วม 76 ประเทศทั่วโลก เริ่มต้นด้วยการรำลึกถึงผู้พิทักษ์ป่าที่เสียชีวิต 140 ท่าน ทั่วโลกในหนึ่งปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่มีการเก็บข้อมูลโดย IRF โดยรวมเป็นจำนวน 1,027 คน

ปีนี้เป็นปีแรกที่ผู้พิทักษ์ป่าไทยเข้าร่วมการประชุมผู้พิทักษ์ป่าโลก World Ranger Congress ครั้งที่ 9 ที่อุทยานแห่งชาติจิตวัน เมืองซัวราฮา ประเทศเนปาล โดยการสนับสนุนจากท่านอธิบดีธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสนับสนุนงบประมาณโดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร WWF และมูลนิธิFreeland ให้ทุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชจากประเทศไทยจำนวน 8 ท่านเข้าร่วมประชุม มีเนื้อหาการประชุม ดังนี้

1. การสนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าสำหรับการทำงานเพื่อผู้พิทักษ์ป่า

ทั้งหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และ NGOs ที่ช่วยกัน ที่ประชุมให้ข้อมูลว่าการสนับสนุนหลักๆ ขณะนี้มี 3 ด้าน คือ สวัสดิการที่ดีของผู้พิทักษ์ป่าและครอบครัว อุปกรณ์/เทคโนโลยี และองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานและรูปแบบการสนับสนุน มีการนำเสนอเรื่องการทำประกันชีวิต การช่วยเหลือครอบครัวพิทักษ์ป่าที่เสียชีวิต การฝึกอบรม การสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ เรื่องงานศึกษาคำจำกัดความของRangerในภูมิภาคต่างๆ รายงานผลการเก็บข้อมูลผู้พิทักษ์ป่าทางกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาจากข้อมูลของ World Database on Protected Areas (WDPA) ของ IUCN ในปี 2019 พบว่ามี ผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลกประมาณ 1-1.5 ล้านคน ดูแลพื้นที่อนุรักษ์ 238,432 แห่ง พื้นที่รวมๆประมาณ 20-30% ของโลก ผู้พิทักษ์ป่าจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการดูแลธรรมชาติให้กับเราทุกคน สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนทำงานพิทักษ์ป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วย

1.1 การพัฒนาความรู้

1.2การพัฒนาตนเองให้มีมาตรฐาน

1.3 ฝึกอบรมสม่ำเสมอ

1.4 ได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม มีความมั่นคง

1.5 ประสิทธิภาพและมาตรฐานในงาน

1.6 การสื่อสารที่เป็นมาตรฐาน

1.7 ความมุ่งมั่น

1.8 อยู่องค์กรต้นสังกัดที่เป็นมืออาชีพเช่นกัน

1.9 มีมาตรฐานที่ชี้วัดความสำเร็จได้

1.10 เป็นตัวแทนองค์กรได้อย่างมืออาชีพ

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

2.1 การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนว่าส่วนใหญ่ประสบปัญหาเมื่อฝึกอบรมแล้วไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน ขาดการติดตามผล และเนื้อหาที่อบรมไม่ตรงกับความต้องการจริง กลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าไม่เห็นรูปธรรมโครงการที่น่าสนใจนำมาปรับใช้กับประเทศไทยคือการก่อตั้งโรงเรียนผู้พิทักษ์ป่า โครงการแลกเปลี่ยนการทำงานระหว่างประเทศ เช่น เคนย่ากับมองโกเลีย โปรตุเกสไปทำงานที่บราซิล พิทักษ์ป่าของเนปาลไปฝึกอบรมกับกองทหารของอังกฤษ

2.2 งานอาสาสมัครพิทักษ์ป่าจากชุมชนในพื้นที่ ยกตัวอย่างในประเทศออสเตรเลียเนื่องจากประเทศออสเตรเลียมีกลุ่มชนพื้นเมือง (Aborigin)ที่อยู่ดั้งเดิม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการให้เกียรติทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกัน การทำงานจึงเน้นการจัดการร่วมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีฯลฯด้วย คล้ายงานจอมป่า (Joint Management ofPropected Area) ในประเทศไทยอาสาสมัครพิทักษ์ป่าจากชุมชนในพื้นที่สามารถทำกิจกรรมได้ ดังนี้

2.21 การทำงานวิจัยร่วมกับชุมชน และการฝึกอบรมแกนนำชุมชน เยาวชน

2.2.2 การลาดตระเวนของอาสาสมัครในพื้นที่นกันชน3. การจัดการพื้นที่คุ้มครองร่วม4. การจัดการพื้นที่คุ้มครอง

2.2.3 ผู้หญิงที่ทำงานพิทักษ์ป่าผู้หญิงที่จะทำงานพิทักษ์ป่าได้ดีจะต้องมีความรักความทุ่มเทต่องานที่ทำ เนื่องจากหลายประเทศ เช่น อินเดีย หรือแอฟริกา ผู้หญิงที่จะเข้าทำอาชีพนี้ได้มีน้อยมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดทั้งประเพณี ครอบครัว เสี่ยงอันตราย และการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน จึงเป็นบทพิสูจน์ความรักในอาชีพได้เป็นอย่างดี

3. เทคโนโลยีที่ใช้ในงานของผู้พิทักษ์ป่า มีการนำเสนอมี 4 เรื่อง คือ

3.1 ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ

3.2 ระบบการเชื่อมโยงสัญญาณในพื้นที่คุ้มครอง

3.3 การติดปลอกคอสัตว์ป่าเพื่องานวิจัยและการติดตาม

3.4 การใช้ระบบดาวเทียมที่เหมาะสมกับการทำงานสำหรับการใช้เทคโนโลยีในงานของผู้พิทักษ์ป่าไม่ว่าจะเป็นแอพและอุปกรณ์มือถือระบบการจัดการข้อมูลที่สร้างขึ้นกล้องวงจรปิดกับดักกล้อง, เซ็นเซอร์ตรวจจับด้วยความร้อนการใช้งานของภาพถ่ายดาวเทียมและการเตือนภัยโดรนการระบุชนิดพันธุ์ตาม DNA ปัญญาประดิษฐ์จากเทคโนโลยีอิสระ มีข้อแนะนำดังนี้ ต้องปรับให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น ทดสอบอย่างดีและใช้งานได้อย่างยั่งยืน หลีกเลี่ยงการทำซ้ำและความสับสน ตอบสนองความต้องการที่ชัดเจน คุ้มค่าเมื่อเทียบกับการแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น

4.สมาคมผู้พิทักษ์ป่า

สมาคมผู้พิทักษ์ป่าเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายผู้พิทักษ์ป่าเข้าด้วยกันและยังเป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าในภาพรวม บทบาทของการสร้างเครือข่ายรวมถึงการสร้างความตระหนักเพื่อสนับสนุนงานสำคัญที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์รักษามรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของโลก เป็นการส่งเสริมเรียนรู้และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติงานที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นการการเชื่อมสายใยเพื่อนร่วมอาชีพในระดับท้องถิ่นกับผู้พิทักษ์ป่าในระดับสากล

สำหรับประเทศไทยการประชุมผู้พิทักษ์ป่าโลก 2019 ครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย(Thai Ranger Association:TRA)อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากเว็บไซต์ผู้พิทักษ์ป่าไทยได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ world ranger day หรือ วันผู้พิทักษ์ป่าโลก หรือ วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2010(2553) http://www.thairanger.com/world-ranger-day. คณะเจ้าหน้าที่ไทยและผู้สนับสนุน ได้ร่วมกันหารือและเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย ในการขับเคลื่อนและยกระดับการทำงานของ ผู้พิทักษ์ป่าในประเทศไทย และเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของ IRF ต่อไป

5.การนำเสนอผลงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีตัวอย่างที่น่าสนใจบางอย่างได้ถูกเน้นให้เห็นถึงความสำคัญ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับ Pikasเปิดเผยถึงศักยภาพพิเศษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กนี้ในแง่ของการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ต่อมนุษยชาติผ่านระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การวิเคราะห์ทางสถิติใหม่ๆ รวมถึงการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือที่จะนำไปสู่การใช้การบันทึกรอยตีนเพื่อใช้ระบุสัตว์แต่ละชนิดและเพศด้วย ความแม่นยำประมาณ 90% โดยมีการใช้งานมากกว่า 10 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ ไจแอนท์แพนด้า ในเขตสงวนธรรมชาติฉงชิ่งในประเทศจีน คาเมร่าแทรปถูกนำไปใช้ใหม่เพื่อบันทึกกิจกรรมของมนุษย์ที่ผิดกฎหมายและ เพิ่มการบังคับใช้กฎหมายโดยการวิเคราะห์เบื้องต้น แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมที่เป็นอันตรายได้ลดลง

สำหรับประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก IRF เมื่อไม่นานมานี้(ค.ศ.2017-2019) เช่นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ จอร์เจีย สาธารณะรัฐเช็ก ฯลฯ ได้นำเสนอการทำงานโดยส่วนใหญ่พบว่างานของ ผู้พิทักษ์ป่าในแถบยุโรป จะเป็นงานสนับสนุนการท่องเที่ยว ศึกษาธรรมชาติและโบราณสถานในพื้นที่ในพิธีปิดการจัดงานรัฐบาลประเทศเนปาลเป็นเจ้าภาพ

ในที่ประชุมได้คัดเลือกประธาน IRF คนใหม่ ได้แก่คุณChris Galliersจาก Africa Representative พร้อมตั้งคณะทำงานชุดใหม่ไปพร้อมกัน (ภูมิภาคเอเชียเรามีคุณRohit Singh เจ้าหน้าที่ของ WWF ทำงานอยู่ประเทศกัมพูชา ทำหน้าที่ประสานงาน) อีกสามปี(2022) จะมี การจัดประชุม World Ranger Congress ครั้งที่ 10 หารือกันว่าจะมีขึ้นที่ประเทศเปรู

6.การศึกษาดูงานภาคสนาม Chitwan National Park อุทยานแห่งชาติจิตวันจิตวัน

(Chitwan) แปลว่า “หัวใจของป่าทึบ”ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงกาฐมาณฑุไป 165 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 932 ตารางกิโลเมตร(582,500ไร่) มีพื้นที่ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาหิมาลัย เป็นบริเวณที่มีร่องรอยอารยธรรมของพื้นที่ที่ราบลุ่มต่ำตราอิ(Terai) พื้นที่ในอุทยานฯจะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง เนื่องจากมีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำนารายาณี แม่น้ำราฟ และแม่น้ำรีฟ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่นี้มี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบทุ่งหญ้า แบบพืชน้ำและแบบป่าเนื้อแข็ง อันได้แก่ ต้นสาละ ต้นนุ่น ต้นโพธิ์ ต้นมะเดื่อก่อนปี พ.ศ. 2503 จิตวันเป็นที่สงวนให้ล่าสัตว์ป่าสำหรับกษัตริย์ และผู้มีฐานันดรศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีจัดจั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของเนปาล

ในปีพ.ศ. 2527 ได้รับประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดย UNESCO ในพื้นที่เป็นป่าผลัดใบปกคลุมเต็มแนวเขา Siwalik ranges และที่ราบลุ่มรับน้ำนอง ในผืนดินที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสูง กระจัดกระจายในริมแม่น้ำ และ ป่าไม้ (hardwood sal forest) อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ยังสามารถพบเห็นสัตว์ป่าต่างๆ เช่น กวาง สายพันธุ์ต่างๆ แรดนอเดียว (One horn rhinoceros) เสือดาว (Leopard)หมีไม้ (Sloth bear) เสือเบงกอล(Royal Bengal tiger) จระเข้ ควายป่า (Asiatic Wild Buffalo)และมีนกนานาพันธุ์มากมาย

ในการศึกษาดูงานภาคสนาม ผู้จัดได้นำผู้เข้าร่วมประชุมไปทัศนศึกษาและรับฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ในหัวข้อการจัดการอุทยานแห่งชาติจิตวัน ดังนี้1. การคุ้มครองพื้นที่ (Protection)วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 ได้รับเกียรติจาก Tika Ram และ RamesThapa อดีตเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า(park warden)ของอุทยานแห่งชาติจิตวัน ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการพื้นที่กันชนมาถ่ายทอดประสบการณ์ ในการคุ้มครองพื้นที่ให้คณะผู้พิทักษ์ป่าไทยได้รับทราบว่าอุทยานแห่งชาติจิตวันมีพื้นที่ 5 แสนกว่าไร่ มีสถานะเป็นมรดกโลกเป็นป่าอนุรักษ์เข้มข้นเหมือนหัวใจ และมีพื้นที่กันชนเป็นอวัยวะปกป้องหัวใจ

6.1 การป้องกันพืนที่ มีสามเสาหลักร่วมกันดูแลคือ

6.1.1 หน่วยงานราชการคืออุทยานแห่งชาติจิตวัน ขึ้นอยู่กับส่วนกลางคือกรมอุทยานแห่งชาติและอนุรักษ์สัตว์ป่า (Department of National Parks and Wildlife Conservation) ประกอบไปด้วย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ 1 คน ผู้ช่วย 8 คน (บริหาร 8 ส่วนจัดการ) เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า 20 นาย (เป็นหัวหน้าควบคุม หน่วยพิทักษ์ป่า 20 หน่วยที่เรียกว่า ranger post หรือ military camp) และคนงานสนับสนุนอีกกว่า 200 คน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติมีหน้าที่ควบคุมดูแลทั้งคณะกรรมการพื้นที่ชุมชน และหน่วยงานทหาร เรียกว่าสามารถเสนอย้ายได้หมดทั้งทหารและพลเรือนหากไม่สนองนโยบายอุทยานแห่งชาติ

6.1.2 ภาคประชาชนในนามของคณะกรรมการพื้นที่กันชน(Buffer Zone Comittee) มีหน้าที่ดูแลมีกิจกรรมต่างๆเช่นการเกษตร อยู่อาศัย ท่องเที่ยว โรงแรมในพื้นที่กันชน ให้เป็นไปตามนโยบายของอุทยานแห่งชาติ เงินรายได้ของอุทยานแห่งชาติ 30% จะนำมาพัฒนาพื้นที่กันชน ดังนั้นประชาชนจึงเป็นเกราะป้องกันให้ อุทยานแห่งชาติจิตวัน เพราะถ้าสัตว์โดนล่าประชาชนก็ขาดรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

6.1.3 กองกำลังทหาร 900 นาย พร้อมอาวุธและเสบียงกระจายตาม ranger post ที่มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเป็นหัวหน้าชุด มีการเดินลาดตระเวนเชิงคุณภาพโดยอุทยานแห่งชาติเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลและวางแผนลาดตระเวน (Smart Patrol System) มีการใช้กล้องวงจรปิด สุนัขสงครามดมกลิ่น สนับสนุนการปฏิบัติงานด้วยสามเสาหลักประสานภายใต้การควบคุมของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติจิตวันจึงไม่แปลกใจที่ไม่มีการล่าสัตว์หรือพบภัยคุกคามในพื้นที่มา 3 ปีแล้ว (Zero Poaching)

6.2 การจัดการพื้นที่กันชน (Buffer Zone Management)อุทยานแห่งชาติจิตวันและผู้คนในท้องถิ่นร่วมกันริเริ่มกิจกรรมการพัฒนาชุมชนและจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่กันชน รัฐบาลเนปาลได้จัดสรรเงิน 30-50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้อุทยานเพื่อการพัฒนาชุมชนในเขตกันชน ในปี 1996 (พ.ศ.2536) พื้นที่ 750 km2 (468,750ไร่)โดยรอบอุทยานได้รับการประกาศให้เป็นเขตกันชนซึ่งประกอบด้วยป่าไม้และที่ดินเอกชนรวมถึงที่ดินเป็น Ramsar Site – Beeshazari Lakes ซึ่งบริเวนที่ดินเอกชนก็มีทั้งการประกอบกิจการร้านค้า โรงแรม รีสอร์ท ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์

เรียกได้ว่าเป็นเมืองซึ่งอยู่ภายในพื้นที่กันชนในพื้นที่กันชนมีการออกกฎหมายเป็นข้อบังคับในการจัดการพื้นที่เพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตกันชน สิ่งเหล่านี้ทำให้อุทยานแห่งชาติจิตวันเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐกับชุมชนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของอุทยานแห่งชาติ เมื่อชุมชนได้ประโยชน์ ก็มีการลงทุนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร มีการจัดทำแผนการจัดการพื้นที่กันชนให้สอดคล้องกับนโยบายของอุทยาน ซึ่งแผนการจัดการพื้นที่กันชนจะได้รับการปรับปรุงและแก้ไขเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาการจัดการที่สำคัญได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ

6.3 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) Mr.RampritYadav อดีตเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและเป็นเจ้าของโรงแรมรายแรกๆ ในพื้นที่กันชนของอุทยานแห่งชาติจิตวัน เล่าให้เราฟังว่ารัฐส่งเสริมคนท้องถิ่นด้วยการจัดสรรเงินรายได้จากค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน (2,000 รูปีเนปาลประมาณเกือบ 700 บาทต่อคนต่อวัน) ค่าธรรมเนียมรถผู้ประกอบการ ค่าธรรมเนียมไกด์ ประมาณ 30-50% เพื่อมาพัฒนาพื้นที่กันชนการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่มีอะไรซับซ้อน ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของอุทยาน อย่างเคร่งครัด

ทัวร์ซาฟารีมีแบบเต็มวันและครึ่งวัน รถทุกคันจะต้องประกอบด้วยคนขับรถ 1 คนและไกด์ที่ผ่านการอบรมมาแล้วอย่างดีอีก 1 คน และจะต้องลงไปเช็คหรือลงเวลาที่ด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่รถวิ่งผ่านทัวร์เดินป่าก็เช่นกัน แม้ลูกทัวร์จะมีแค่คนเดียวจะต้องมีไกด์ถือกระบองไม้ไผ่ไว้ไล่สัตว์ป่า 1 คนและคอยระวังหลังอีก 1 คน จะไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ การล่องเรือชมสัตว์ป่าตามลำน้ำ ก็เป็นที่นิยม แต่การขี่ช้างดูสัตว์ป่าก็มีความนิยมลดลงไปเนื่องจากกระแสความสงสารสัตว์

ภายในอุทยานยังเปิดให้ชมศูนย์เพาะเลี้ยงจระเข้และช้างอีกด้วย ในอุทยานแห่งชาติไม่มีสถานที่พักค้างแรม นักท่องเที่ยวจะกลับออกมาพักที่โรงแรมรีสอร์ททานอาหารได้ในเมืองพื้นที่กันชนรอบๆอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีการรณรงค์ไม่ใช้โฟมและพลาสติกเช่นเดียวกันประเทศไทย

7. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในฐานะหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ ได้มีการพัฒนาระบบสวัสดิการและการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้พิทักษ์ป่ามาระดับหนึ่งแล้ว เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าอย่างต่อเนื่องและมีมาตรฐานสากลมีข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นดังนี้

7.1 การก่อตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย (Thai Rangers Association)โดยการรวบรวมสมาชิกผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการทำงานปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ก่อตั้งเป็นสมาคม ผู้พิทักษ์ป่าไทย (Thai Rangers Association) โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิผู้พิทักษ์ป่าและทะเลไทย เข้าร่วมกับ สมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ International Ranger Federation เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิชาการประสบการณ์ในวิชาชีพ เสริมสร้างกำลังใจ ช่วยเหลือและ แบ่งบันในด้านสวัสดิการ และเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานของผู้พิทักษ์ป่าไทยและผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลก

คำนิยามของสมาชิกสมาคมผู้พิทักษ์ป่า จะหมายรวมถึง เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า (เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า หมายรวมถึง เจ้าหน้าที่กรมอุทยาน กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเล) และประชาชนทุกสาขาอาชีพ ชาวบ้าน ที่ร่วมปกป้อง สนับสนุนการทำงานของพิทักษ์ป่า อาจเป็นบุคคล องค์กร ที่สนับสนุนหรือดำเนินการด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากร ป่าไม้ สัตว์ป่า ทะเล รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัย

วิสัยทัศน์ของสมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย

1). จรรยาบรรณ สร้างความภาคภูมิใจในการพิทักษ์ป่า

2). สร้างพิทักษ์ป่าเป็นอาชีพที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับสาธารณะ

3). สื่อสาร สร้างศรัทธาให้สาธารณะ รับรู้ เข้าใจบทบาท ของพิทักษ์ป่า ไม่ใช่สงสาร

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสมาคม

1). สร้างพิทักษ์ป่าไทยให้มีมาตรฐานระดับสากล รวมถึงความก้าวหน้าในสายงานอาชีพพิทักษ์ป่า และการจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่า Park Ranger School

2). ดำเนินการเพื่อตอบสนองอนุสัญญา ยุทธศาสตร์พิทักษ์ป่าของ IUCN แผนชาติ แผนแม่บทป่าไม้ ฯลฯ

3). แบ่งปันความรู้ ทรัพยากร เทคโนโลยี ติดต่อสื่อสาร ในประเทศไทยและกับองค์กรหน่วยงาน สมาคมพิทักษ์ป่าโลก และภูมิภาค

4). การส่งพิทักษ์ป่าเข้าร่วมประชุม World Ranger Congress ทุกสามปี

5). สร้างความเข้มเข็ง สนับสนุนการทำงาน สวัสดิการ ในการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงครอบครัวของผู้พิทักษ์ป่า

6). ประสานงานกับหน่วยงานทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสนับสนุนการทำงาน การความเข้มเข็งให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

7). ทำหน้าที่ในการประสานงานเพื่อสิทธิและสวัสดิการ ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

8)กำหนดจรรยาบรรณ สร้างความภาคภูมิในอาชีพเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

9). สร้างเวทีให้พิทักษ์ป่าได้นำเสนอการทำงานในระดับสากล รวมถึงการฝึกอบรมในต่างประเทศ

7.2 การจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่า (park ranger school)ในส่วนของการฝึกอบรม มีองค์ประกอบหลายๆด้านที่ต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เช่น ตัวเจ้าหน้าที่เอง เครื่องมือที่เติมให้ องค์กร ระบบและนโยบายให้ความสำคัญ รวมทั้งการสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชพิจารณาตั้งคณะทำงานร่างหลักสูตรผู้พิทักษ์ป่า 3 ระดับ คือ ผู้ปฏิบัติ หัวหน้าหน่วย และผู้บริหาร

โดยนำข้อดีของแต่ละหลักสูตรมาพิจารณาประกอบการปฏิบัติงานได้รอบด้านและครบวงจร เช่น การลาดตระเวนคุณภาพ ประกอบกับการจัดตั้งหน่วยสืบสวน และหน่วยข่าว ประสานทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่าหรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยปรับใช้หลักสูตรของ park ranger school ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผู้เข้าทำงานในพื้นที่คุ้มครองต้องเข้าโรงเรียนพิทักษ์ป่าก่อน 14 สัปดาห์ และทดลองงานพื้นที่ อีก 11 สัปดาห์ จึงจะทำงานในพื้นที่คุ้มครองได้

7.3 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

7.3.1 กำหนดเป็นโครงการสร้างการบริหารงานป้องกันในแต่ละพื้นที่คุ้มครอง โดยจัดอัตรากำลัง อาวุธ อุปกรณ์ การปฏิบัติงาน ที่เหมาะสม ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาและทุกสภาวะด้วยการพัฒนาระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

7.3.2 การพัฒนาระบบสวัสดิการของเจ้าที่ที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากปฏิบัติงานด้วยการแก้ปัญหาความต่อเนื่องในการทำงานของพนักงานTOR/จ้างเหมาปรับปรุงการเข้าถึงบริการที่สามารถดูแลสุขภาพและความปลอดภัยทั้งในและนอกหน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือการเข้าถึงเครือข่ายการสื่อสารและอุปกรณ์ที่พักอาศัยน้ำสะอาดการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการจัดการไฟอย่างมีประสิทธิภาพ มีแผนการอพยพทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่เพียงพอ ทั้งในแง่ของการเข้าถึงและความคุ้มครองiมอบความคุ้มครองประกันชีวิตที่มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนครอบครัวของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสในการปฏิบัติหน้าที่การให้วันลาที่เพียงพอเพื่อลดความเครียด ทั้งทางร่างกายและจิตใจการจ้างงานเจ้าหน้าที่ให้มีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมต่อสถานที่กำหนดกรอบและโอกาสที่ชัดเจนสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพ

7.3.3 การสานความสัมพันธ์กับชุมชนให้ตระหนักถึงการเป็นผู้ปกป้องดูแลสาธารณะสมบัติและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ด้วยการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติให้ครอบคลุมในหัวข้อความสัมพันธ์ชุมชนและโอกาสในการสร้างความไว้วางใจเพื่อเพิ่มความร่วมมือ มีความโปร่งใส มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนความรู้และความเชื่อของชุมชนดั้งเดิมทิ่ไม่ผิดกฎหมาย สนับสนุนการจ้างงานของคนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น

7.3.4 พัฒนาแนวทางและกรอบนโยบายตามมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติที่ดีในการฝึกอบรมที่มีคุณภาพสูง (รวมถึงโปรแกรมการให้คำปรึกษาการแลกเปลี่ยนและหลักสูตรทบทวน) ปรับให้เข้ากับบริบทและข้อกำหนดของท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมมาตรฐานสากลระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายการป้องกันทางสังคมและ กฎการใช้กำลังรวมทั้งทักษะการใช้อาวุธ

7.3.5 ส่งเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหญิง ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ความมีตระหนักถึงช่องว่างทางเพศด้วยการกำหนดนโยบายเพื่อให้แน่ใจว่ามีโอกาสเท่าเทียมกันในการจ้างงานและการได้รับค่าจ้างเท่ากันรวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีมาตรการในสถานที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเพศหญิงรู้สึกปลอดภัยและได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมในสถานที่ทำงาน (เช่นสิ่งอำนวยความสะดวกแยกต่างหาก)

7.3.6 สนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้มีศักยภาพที่จะเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิผลของการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ด้วยการสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์ศักยภาพของเทคโนโลยีต่าง ๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากับโอกาส ในการทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทชนเอกหรือในนามส่วนตัวที่อาจอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

พลวีร์ บูชาเกียรติ

Polawee Buchakiet