วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก 2561 World Ranger Day 218

วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก 2561

world ranger day 218

World Ranger Day 2018

วันที่ระลึกถึงผู้พิทักษ์ป่าซึ่งบาดเจ็บและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่

“เราไม่สามารถนำพวกเขาเหล่านั้นกลับมาได้ แต่เราสามารถแสดงความเคารพและไม่ลืมเลือนความเสียสละของพวกเขา”

ที่มาของวันผู้พิทักษ์ป่าโลก

ในการประชุมWorld Congress Ranger ปี 2006 ที่สกอตแลนด์ ผู้เข้าร่วมประชุมจาก International Federation Ranger (IRF) หรือสมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์ป่า ผู้เป็นกำลังสำคัญในการทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่คุ้มครองของโลก ได้ลงมติให้วันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี เริ่มต้นในปี 2007 เป็นวันผู้พิทักษ์ป่าโลก จัดขึ้นครั้งแรกในวาระครบรอบปีที่ 15 ของการก่อตั้ง IRF (วันที่ 31 กรกฎาคม 1992) ในวันผู้พิทักษ์ป่าโลกครั้งแรกได้รวบรวมเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลกแสดงเป็นภาพยนต์ในรอบปฐมทัศน์เรื่อง “The Thin Green Line”

International Ranger Federation (IRF) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ใน Peak National Park ในสหราชอาณาจักร มีการลงนามข้อตกลงระหว่างสมาคมการจัดการพื้นที่ชนบท (CMA) ตัวแทนผู้พิทักษ์ป่าในอังกฤษและเวลส์สมาคมผู้พิทักษ์ป่าสกอตแลนด์(SCRA) และสมาคมผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (ANPR)

เป้าหมายของข้อตกลงนี้คือการจัดเวทีระดับโลกสำหรับผู้พิทักษ์ป่าจากทั่วโลกเพื่อแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวในการปกป้องมรดกทางธรรมชาติของโลกและเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีจากประเทศต่างๆที่การจัดการพื้นที่คุ้มครองได้รับความนิยมจากทั้งภาครัฐและภาครัฐ สนับสนุนประเทศที่มีการสนับสนุนน้อยลง

ปัจจุบัน 65 สมาคมผู้พิทักษ์ป่าจากหน่วยงานระดับชาติหน่วยงานภาครัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับ IRF รวมทั้งผู้พิทักษ์ป่าหลายแห่งจากทั่วโลกที่มีสถานะเป็นสมาชิกชั่วคราวในขณะที่พวกเขาพยายามที่จะจัดตั้งสมาคมผู้พิทักษ์ป่าในประเทศของตน

World Ranger Congress 

สหพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ (IRF) ได้จัดการประชุมสภาผู้พิทักษ์โลกขึ้น โดยการรวบรวมผู้พิทักษ์ป่าจากทั่วโลกมาชุมนุมกันเพื่อการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงานใหม่ๆแบ่งปันความรู้ ความสำเร็จ ความล้มเหลวที่เป็นประโยชน์และสร้างความเป็นหุ้นส่วนกัน การประชุมจัดทุกๆสามปีโดยประเทศเจ้าภาพจากตัวแทนในแต่ละภูมิภาคของ IRF

การเข้าร่วมการประชุมเช่นนี้เป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิตของผู้พิทักษ์ป่าหลายคนที่จะได้มาพบกับเพื่อนร่วมงานจากทั่วโลก เป็นการสร้างความหวังและเพิ่มกำลังใจในการทำงานของพวกเขา บ่อยครั้งที่งานของพวกเขาตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและโดดเดี่ยวซึ่งพวกเขาไม่ค่อยมีการติดต่อกับครอบครัวผู้พิทักษ์ป่าในโลก พวกเขามักไม่ค่อยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องราวและเรียนรู้จากคนอื่น ๆ ซึ่งอาจตั้งอยู่ครึ่งทางทั่วโลก

สภาผู้พิทักษ์ป่าโลกยังเป็นเวทีสำหรับการสร้างข้อเสนอแนะนำในประเด็นที่มีผลต่อการทำงานของพวกเขาในแนวหน้า ความท้าทายเหล่านี้มาจากผู้พิทักษ์ป่าโดยตรงทำให้ข้อความมีพลังมากขึ้น คำแนะนำจะถูกนำเสนอในฟอรัมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทั่วโลก

การประชุม World Ranger Congress ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นที่ประเทศเนปาลในปีพ. ศ. 2562 (2019) สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก IRF แต่เราก็จัดงานวันผู้พิทักษ์ป่าโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ หวังว่าปีหน้าเราจะได้ส่งตัวแทนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไทยไปประชุมเป็นครั้งแรกที่เนปาล

ในอดีตมีการจัดประชุม World Ranger Congress มาแล้ว 8 ครั้ง ดังนี้

2016 – Estes Park, Colorado, USA

2012 – อารูชาประเทศแทนซาเนีย

2009 – Santa Cruz, โบลิเวีย

2549- สเตอร์ลิงสกอตแลนด์

2003 – อุทยานแห่งชาติ Wilsons Promontory ประเทศออสเตรเลีย

2000 – อุทยานแห่งชาติ Kruger, South Africa

1998- ซานโฮเซ่, คอสตารเกา

1995 – Zakopane, Poland

คุณช่วยได้อย่างไร

สมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ(IRF) ร้องขอให้สมาชิกของสมาคม, หน่วยงานป้องกันพื้นที่คุ้มครอง ผู้ทำหน้าที่พิทักษ์ป่าทุกท่าน ผู้ให้การสนัสนุนผู้พิทักษ์ป่าทุกท่าน ทุกองค์กร ริเริ่มในการจัดหรือเข้าร่วมใน กิจกรรมที่ตระหนักถึงการทำหน้าที่ของผู้พิทักษ์ป่า แนวหน้าในการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองของโลก แหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดนี้

กิจกรรมที่คุณหรือองค์กรสามารถกระทำได้เนื่องในวันผู้พิทักษ์ป่าโลก :

  • เชิญประชาชนเข้าร่วมพิธีจุดเทียนและสงบนิ่งไว้อาลัยแด่ ผู้พิทักษ์ป่าซึ่งเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
  • ปลูกต้นไม้เป็นสายใยชีวิตของผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลก
  • จัดสัมมนาเพื่อประสานความร่วมมือ กับหน่วยงานป้องกันพื้นที่ซึ่งอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน
  • กล่าวถึงบทบาทและสดุดีวีรกรรม ของผู้พิทักษ์ป่าให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ศึกษาธรรมชาติทราบ
  • จัดกิจกรรมสาธารณะ เกี่ยวกับการทุ่มเทให้กับการทำงานของผู้พิทักษ์ป่า ในหรือนอกพื้นที่คุ้มครอง
  • พบปะชุมชนในท้องถิ่น พันธมิตรและกลุ่มสนับสนุน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทของผู้พิทักษ์ป่า การทำงานของ IRF และวิธีการที่จะสามารถช่วยสนับสนุนผู้พิทักษ์ป่าในการป้องกันพื้นที่
  • เยี่ยมชมโรงเรียน – ดึงดูดเยาวชนผู้กำหนดอนาคตของพื้นที่ ให้สนในในความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์
  • เชิญผู้พิทักษ์ป่าจากประเทศอื่นหรือพื้นที่คุ้มครองอื่นๆ ร่วมกันทำงานในพื้นที่เป็นเวลาหนี่งสัปดาห์ คาบเกี่ยววันที่ 31กรกฎาคม
  • ถ้าคุณคือผู้พิทักษ์ป่า, พบกับเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อหารือ เกี่ยวกับวันผู้พิทักษ์ป่าโลก และบทบาทของผู้พิทักษ์ป่ารวมถึงการทำงานของ IRF
  • เขียนบทความสำหรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของคุณ เกี่ยวกับผู้พิทักษ์ป่าและความสำคัญของวันผู้พิทักษ์ป่าโลก
  • มอบรางวัลให้แก่ ผู้พิทักษ์ป่า ที่ได้ทำคุณูปการพิเศษเพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
  • สนับสนุนรัฐบาลเพื่อกำหนดวันผู้พิทักษ์ป่าขึ้นในประเทศ
  • ใช้กิจกรรมวันผู้พิทักษ์ป่าโลก , หาผู้มีส่วนร่วม และผู้บริจาคที่สนใจในการสนับสนุนและทำงานอย่างยั่งยืนในพื้นที่คุ้มครองและ IRF
  • รื่นเริง ฉลองบทบาทในการปกป้องขุมทรัพย์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของโลก

ที่มาของวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

สำหรับประเทศไทย เว็บไซต์ผู้พิทักษ์ป่าไทย www.thairanger.com ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2009(2552) เพี่อบอกเล่าเรื่องราวของผู้ทำหน้าที่รักษากฎหมายและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่คุ้มครองของประเทศ หรือที่รู้จักกันในนามของ “ผู้พิทักษ์ป่า” ซึ่งปฏิบัติงานตามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน พื้นที่ป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งพื้นที่คุ้มครองทั้งทางบกและทางทะเลของประเทศไทย เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิชาการประสบการณ์ในวิชาชีพ เสริมสร้างกำลังใจ ช่วยเหลือและแบ่งปันในด้านสวัสดิการและเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิงานของผู้พิทักษ์ป่าไทย

เว็บไซต์ผู้พิทักษ์ป่าไทยได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ world ranger day หรือ วันผู้พิทักษ์ป่าโลก หรือ วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2010(2553) http://www.thairanger.com/world-ranger-day/ ซึ่งเป็นการเผยแพร่ให้สังคมไทยรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญของวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก ประเทศไทยได้จัดงานวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลกเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2014 (2556) และจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าประเทศได้จัดงาน World Ranger Dayได้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IRF หรือ สมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศแต่อย่างใด

ในปี 2561 นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีซึ่งมีการก่อตั้ง “มูลนิธิผู้พิทักษ์ป่า” ขอขอบคุณผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นความสำคัญของผู้พิทักษ์ป่า

ในส่วนของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเองซึ่งปัจจุบันบันมีการรวมกลุ่มหรือชมรมกันอยู่แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การจัดตั้ง “สมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย” ซึ่งควรจะดำเนินการภายใต้ “มูลนิธิผู้พิทักษ์ป่า” โดยมีสมาชิกซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการพิทักษ์ป่าทั้งในส่วนของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สมาคมผู้พิทักษ์ป่าไทย Thai Ranger Association : TRA

TRA มีวัตถุประสงค์(สามารถแก้ไขได้เมื่อมีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ) เพื่อ

1.การสร้างมาตรฐานการทำงานระดับมืออาชีพของผู้พิทักษ์ป่าไทยให้เทียบเท่าผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลก รวมถึงการเข้าร่วมเป็นสมาชิก International Ranger Federation หรือ สมาพันธ์ผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศ(IRF) มุ่งสู่เป้าหมายของยุทธศาสตร์การอนุรักษ์โลกของ IUCN

2.การแบ่งปันความรู้และทรัพยากร การสร้างการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาคมผู้พิทักษ์ป่าทั่วโลกและองค์กรต่างๆ

3.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวิชาชีพระหว่างผู้พิทักษ์ป่า
โดยการส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมผู้พิทักษ์ป่าระหว่างประเทศในการประชุมWorld Ranger Congress ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี หมุนเวียนกันไปแต่ละประเทศสมาชิก

4.ดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของผู้พิทักษ์ป่าไทย เช่น การฝึกอบรม จัดหาและสนับสนุนผู้พิทักษ์ป่าและครอบครัวของผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในหน้าที่

5.เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของผู้พิทักษ์ป่าผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น IUCN คณะกรรมาธิการพื้นที่คุ้มครอง มูลนิธิการกุศล The Thin Green Line

เป็นที่น่ายินดีอีกเช่นกันที่ปีนี้ คุณ Louise Reynolds ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารของ IRF ได้มาร่วมงานเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก 2561 ที่ประเทศไทย ซึ่งผมได้สมัครเป็นสมาชิกในแบบ individual ของ IRF กับ Louise เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง Louise คงจะได้พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อเขิญให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสามาชิดของ IRF ต่อไป

มีความสุขในวันผู้พิทักษ์ป่าโลกนะครับ

พลวีร์ บูชาเกียรติ
30 กรกฎาคม 2561
www.thairanger.com