วันผู้พิทักษ์ป่าไม้โลก World Ranger Day

31 กรกฎาคม 2555–วันนี้เป็นวันผู้พิทักษ์ป่าไม้โลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อยุติการล่าเสือ: WWF เปิดตัวกิจกรรมโปสการ์ดเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์เสือ

วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก

วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก

ขอขอบคุณบทความจาก www.wwf.or.th

31 กรกฎาคม 2555–วันนี้เป็นวันผู้พิทักษ์ป่าไม้โลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อยุติการล่าเสือ WWF จึงริเริ่มการส่งสัญญาณเพื่อสนับสนุนและแสดงความขอบคุณเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ที่ทำงานในเขตอาศัยของเสือทั้ง 12 เขต ที่สนับสนุนการอนุรักษ์พันธุ์เสือ นับจากวันนี้เป็นต้นไป ผู้คนจากทั่วโลก สามารถเข้าร่วมกับ WWF ในการเขียนข้อความบนโปสการ์ด ส่งถึงเจ้าหน้าที่ ป่าไม้ ว่าเราใส่ใจ และสนับสนุนการทำงานของพวกเขา ความริเริ่ม Cards4Tigers นี้ จะดำเนินต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายน 2556 และผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์www.panda.org/tigers/cards4tigers เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม   จากข้อมูลของ Thin Green Line Foundation[1] พบว่ามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ถึง 1,000 นาย ที่ต้องเสียชีวิตในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าทุกๆ 4 วัน จะมีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไม้เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และในจำนวนนี้ มากกว่าครึ่งถูกสังหารใน ช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2554 ในจำนวนนี้มีเจ้าหน้าที่หลายคนที่ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าต่อสู้กับผู้ลักลอบล่าเสือ

“เจ้าหน้าที่ป่าไม้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยุติการล่าเสือ” ไมค์ บัลเซอร์ หัวหน้าความริเริ่มTigers Alive ของ WWF กล่าว “บางครั้งการทำงานของพวกเขาก็ไม่ค่อยได้รับการยกย่องนัก แต่ด้วยกิจกรรม Cards4Tigers เรามุ่งหวังว่าจะเป็นช่องทาง สำหรับผู้คนทั่วโลกในการแสดงความสนับสนุนเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ง่ายๆ เราตั้งใจที่จะใช้โปสการ์ดเพื่อแสดงให้ผู้นำของรัฐบาลต่างๆ ได้ทราบว่าโลกต้องการให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้รับความช่วยเหลือ และมีเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มมากขึ้นเพื่อการอนุรักษ์เสือ”

การเรียกขานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ แตกต่างกันไปแต่ละประเทศ บ้างก็เรียกเจ้าหน้าที่ป่าไม้  ผู้คุมป่า หรือเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เจ้าหน้าที่เหล่านี้ต่างทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ท่ามกลางสภาวการณ์เลวร้ายในการเป็นแนวหน้าปกป้องเสือ พวกเขาจัดอยู่ ในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำที่สุด ในหลายประเทศพวกเขาอาจไม่ได้รับเงินเดือนติดต่อกันหลายเดือน เจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่ที่ทำงานในเขตพิทักษ์พันธุ์เสือ ต้องอาศัยห่างไกลจากครอบครัว และอาจไม่ได้เจอหน้ากันหลายๆวันหรือหลายสัปดาห์ พวกเขาต้องเดินเท้าเข้าไปในป่า ในทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะฝนตก แดดออก หรือกระทั่งช่วงที่หิมะตก นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยัง ได้รับอันตรายจากกับดักของพรานป่าด้วย โดยได้รับค่าชดเชยอาการบาดเจ็บระหว่างทำงานเพียงน้อยนิด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ทำงานในเขตอนุรักษ์พันธุ์เสือส่วนใหญ่ก็ไม่มีประกันชีวิต

“หากไม่มีแนวหน้าที่อุทิศตนทำงานหนักเพื่อป้องกันการล่าสัตว์แล้ว ชาติที่มีประชากรเสือก็ไม่มีหวังจะบรรลุเป้าหมาย TX2 เพื่อ เพิ่มจำนวนประชากรเสือตามธรรมชาติภายในปี 2565”เครก บรู๊ซ ผู้เชี่ยวชาญความริเริ่ม Tigers Alive ของ WWF กล่าว “รัฐบาลจะต้องทุ่มงบประมาณเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และจัดหาเครื่องมือให้เพียงพอเพื่อต่อสู้กับกลุ่มพราน ติดอาวุธ ตอนนี้มีผู้เสียชีวิตโดยไม่จำเป็นมากเกินไปแล้ว”

เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังเผชิญกับความเสี่ยงนานัปการ รวมทั้งชีวิตของพวกเขา ที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้หลายคนที่เสียชีวิตเพราะถูก เสือทำร้าย แต่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ไม่ได้เกิดจากเสือ แต่เกิดจากกลุ่มพรานติดอาวุธ บ่อยครั้งที่ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ไม่มีอาวุธและมีเครื่องมือไม่เพียงพอ แต่พวกเขาก็ต้องเป็นผู้พิทักษ์แถวหน้า ท่ามกลางวิกฤตการลักลอบล่า สัตว์ป่า และอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าที่รุนแรงและขยายวงขึ้นทุกขณะ การลักลอบล่าสัตว์ป่ากลายเป็นขบวนการของกลุ่ม อาชญากรรมติดอาวุธ การถูกข่มขู่เอาชีวิตเกิดขึ้นเป็นประจำ และในขณะที่ครอบครัวห่วงใยชีวิตของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่ เองก็กังวลถึงความปลอดภัยของครอบครัวเช่นกัน

เจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ต้องทำงานในพื้นที่อนุรักษ์เสือและสัตว์ป่าสายพันธุ์อื่นๆ รวมทั้งที่อาศัยของพวกมัน ซึ่งจากการสำรวจ ที่ WWF จัดทำขึ้นเมื่อเดือนเมษายน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่อนุรักษ์หลายแห่ง ไม่มีเครื่องมือและศักยภาพเพียงพอที่จะปกป้องเสือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจนี้ พนักงานและเจ้าหน้าที่ภาคสนามของ WWF 41 พื้นที่จากพื้นที่อนุรักษ์ทั้งหมด63 พื้นที่ หรือร้อยละ 65 รู้สึกว่าพวกเขาไม่มีกำลังเพียงพอใจการปกป้องพื้นที่อนุรักษ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการล่าสัตว์เป็นศูนย์ ตัวอย่างเช่น อุทยานแห่งชาติมาเลเซีย รอยัล เบลัม ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการอยู่รอดของเสือมลายัน และมีการบันทึกข้อมูล การลักลอบล่าสัตว์ในระดับสูง อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่มากกว่า 1000 ตารางกิโลเมตร แต่อุทยานแห่งนี้มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพียง17 คน ในทางกลับกัน พื้นที่อนุรักษ์อย่างศูนย์สงวนพันธุ์เสือคาสิรังกาในอินเดีย มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ราว 800 นายดูแลพื้นที่ราว 860 ตารางกิโลเมตร และสามารถป้องกันการลักลอบล่าสัตว์ได้

ในประเทศเนปาล ปี 2554 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองการยุติการล่าแรด ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มจุดตรวจป่าไม้ทั่วเขตอนุรักษ์ จาก 7 จุด เป็น 51 จุด ซึ่งมาตรการนี้ยังช่วยให้ประชากรเสือในอุทยานแห่งชาติบาร์เดียเพิ่มจำนวนขึ้นทั่วประเทศ ตามการรายงานของกรมป่าไม้ และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ที่เปิดเผยออกมาในวันเสือโลกเมื่อสองวันก่อน

ในเดือนธันวาคม 2554 ความริเริ่ม Tigers Alive ของ WWF ได้มอบรางวัลให้ทีมเจ้าหน้าที่ป่าไม้และทีมเจ้าหน้าที่ในเขตอนุรักษ์ หลายทีม เพื่อแสดงการยอมรับถึงผลงานที่โดดเด่นของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ต่อต้านการล่าเสือ เหยื่อ และการกระทำผิดกฏหมาย ในรูปแบบอื่นๆ

 

หมายเหตุ

  1. ประเทศที่มีประชากรเสือ 13 ประเทศ ยอมรับเป้าหมาย TX2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553ระหว่าง “การประชุมสุดยอดเสือ” ที่นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารโลก ในการประชุมยังมีการนำเสนอโครงการฟื้นฟูเสือทั่ว โลก (GTRP) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
  2. วันเจ้าหน้าที่ป่าไม้โลก เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2550 ซึ่งเป็นปีครบรอบการก่อตั้งสมาพันธ์เจ้าหน้าที่ป่าไม้นานาชาติ ครบรอบ 15 ปี  ทุกๆวันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เสียชีวิตหรือบาด เจ็บระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งยังเป็นการยกย่องเจ้าหน้าที่ป่าไม้และงานของพวกเขาในการปกป้องธรรมชาติ ของโลกรวมทั้งสมบัติทางวัฒนธรรม อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.int-ranger.net/

 

        [1] The Thin Green Line Foundation ก่อตั้งในปี 2550 เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่อยู่ในอันตราย ปัจจุบันผู้ที่ให้การสนับสนุนมูลนิธินี้ มีทั้ง ดร.เจน กู๊ดดอล, ทิมแฟลนเนอรี, ไบรซ์ คอร์ทนีย์, โกทตีย์ และอีกหลายท่าน ภารกิจของมูลนิธิ คือการให้การสนับสนุนที่สำคัญแก่เจ้าหน้าที่ ป่าไม้ที่อยู่แนวหน้าของการอนุรักษ์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และพื้นที่ขัดแย้ง“การปกป้องผู้ที่ทำหน้าที่พิทักษ์พื้นที่ป่าของโลก คือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ รวมทั้งครอบครัวของพวกเขาและชุมชนที่เขาทำงานอยู่ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์”