การจัดการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติ

 ขอขอบคุณภาพและบทความจาก สำนักอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติ เป็นพื้นที่คุ้มครองประเภทหนึ่งที่มีเป้าหมายหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ความหลากหลายทางธรรมชาติ  เพื่อการศึกษาวิจัยและการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนซึ่งจะเห็นได้ว่า  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป้นวัตภุประสงค์อันดับแรกและสำคัญที่สุดในการจัดการอุทยานแห่งชาติภายใต้หลักการพื้นฐานที่ว่าหากเราสามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาว้ำด้แล้ว  ทรัพยากรดังกล่าวจะสามารถอำนวยประโยชน์ด้านอื่นๆต่อไปได้ทั้งการศึกษาวิจัย หรือการท่องเที่ยวและนันทนาการในขณะที่หากทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายไปหมดสิ้นเราก้จะไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ  ได้เช่นเดียวกัน  การบริหารจัดการดังกล่าวมีความจำเป้นต้องดำเนินการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่  เพื่อให้สามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชาติไว้ให้ได้  ซึ่งภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้จะดำเนินการให้สำเร็จได้ประชาชนต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย  ดังนั้น  การปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ให้บรรลุเป้าหมายได้จึงมีกิจกรรมที่อุทยานแห่งชาติจะต้องปฏิบัติทั้งสิ้น 5 กิจกรรม  ได้แก่

  1.  การป้องกัน
  2. การปราบปราม
  3. การจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. มวลชนสัมพันธ์
  5. การบริหารงาน

การป้องกัน  หมายถึง  ภารกิจที่จะต้องดำเนินการหรือป้องปรามก่อนที่อุทยานแห่งชาติจะถูกบุกรุกทำลาย  มีวิธีดำเนินการได้อย่างหลากหลาย  ได้แก่

.  การให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่  ชุมชน  นักเรียน  นักท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการในอุทยานแห่งชาติ  โดยใช้วิธีการและรูปแบบต่างๆ เช่น

       . การจัดค่ายเยาวชนสร้างจิตสำนึก

       . การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ประเภทต่างๆ เช่น ป้ายโปสเตอร์ แผ่นพับ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และคู่มือ

       . การจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ

. การจัดทำแนวเขตอุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่ให้ชัดเจน  โดยมีป้ายแสดงหลักหมุดพิกัด  หรือวิธีการอื่นในพื้นที่จริง และมีการจัดทำแผนที่อ้างอิงแนวเขตที่ชัดเจน

. การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning) ที่ชัดเจน และมีป้ายชื่อแสดงเขตการใช้ประโยชน์หรือเขตห้ามใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน

. การจัดตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ หรือด่านตรวจเพิ่มเติมในพื้นที่ล่อแหลมต่อการบุกรุกและทำลายทรัพยากร

. รวบรวมข้อมูลทรัพยากรสำคัญ เช่น ไม้หอม ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากและจุดล่อแหลมต่อการถูกบุกรุกทำลาย เพื่อเป้นฐานข้อมูลในการวางแผนป้องกัน

การปราบปรามเป็นการดำเนินงานในเชิงรุก มีกลยุทธในการดำเนินการดังนี้

. การจัดทำแผนการลาดตระเวนประจำปีโดยมีการระบุผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน จำนวนสายตรวจลาดตระเวน รวมถึงรายงานผลการออกตรวจลาดตระเวน

. จัดชุดลาดตระเวนทำการตรวจตราหาข่าว และประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

. จัดหาผู้มีส่วนร่วมในการหาข่าวและตรวจสอบผู้มีอิทธิพลในพื้นที่เพื่อเตรียมการวงาแผนป้องกันและปราบปราม

. ประสานงานและสนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานข้างเคียง

การจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธี เช่น

. การประกาศปิดเขต/แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการฟื้นฟุทรัพยากรธรรมชาติในบางช่วงเวลา หรือการกำหนดเวลาเข้าชมเป้นรอบๆในจุดที่มีความแออัด รวมถึงกำหนดพื้นที่ที่มีความเปราะบางสูงเป็นเขตหวงห้าม

. การปลูกเสริมป่าทดแทนในพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทำลาย และมีสภาพเสื่อมโทรม

. การประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

. การส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น การใช้วัสดุทดแทนไม้

. การตรวจสอบ กำหนด และควบคุม ไม่ให้มีพืชและสัตว์ต่างถิ่นรวมทั้งสัตว์เลี้ยงเช่น วัว ควาย สุนัข เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะเขตป่าเปลี่ยว รวมถึงการกำจัดพืชต่างถิ่นอย่างต่อเนื่อง

. การสำรวจและรวบรวมข้อมูลระบบเวศ สัตว์ป่า ที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ วิเคราะห์ปัจจัยคุกคาม เพื่อป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรดังกล่าว

มวลชนสัมพันธ์ประกอบด้วย

. การจัดทีมงานประชาสัมพันธ์เคลื่อนที เพื่อออกประชาสัมพันธ์ในชุมชน สถานศึกษา งานประเพณี และเทศกาลต่างๆ

. จัดรายการวิทยุหรือร่วมออกรายการวิทยุอย่างต่อเนื่อง

. การพบปะหรือเข้าร่วมประชุมระดับพื้นที่ในการประชุมหมู่บ้าน เข้าร่วมพิธีกรรมประเพณีในวันสำคัญต่างๆ

การบริหารงาน

. การเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมอย่างสม่ำเสมอ

. สร้างขวัญและกำลังใจโดยการประกสศเกียรติคุณ หรือมอบรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดีเด่น

. การสนธิกำลฃังระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย เพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีที่คาดว่าจะเกิดปัญหารุนแรง

. จัดทำข้อกำหนดการปฏิบัติงานในแต่ละหน้าที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

. การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานทุกด้านอย่างใกล้ชิดและเป็นระยะ

หากอุทยานแห่งชาติสามารถดำเนินการได้ตามกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นได้อย่างครบถ้วนทุกด้านเชื่อว่าภารกิจในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชาติจะสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ