WILDLIFE & PLANTS

บทบาทและหน้าที่ของผู้นำการอนุรักษ์สัตว์ป่า

ในการศึกษาเฉพาะเรื่องบทบาทและหน้าที่ของผู้นำการอนุรักษ์สัตว์ป่าครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดหัวข้อเรื่อง บทบาทและหน้าที่ของผู้นำการอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ถึงแนวความคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นพื้นฐานแนวทางในการศึกษา ซึ่งแบ่งเนื้อหาของการศึกษาค้นคว้ามีรายละเอียดแบ่งได้ ดังนี้

1.ความหมายและทฤษฎีผู้นำ

2.กรอบแนวความคิดด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

2.1 ความหมายของการอนุรักษ์สัตว์ป่า

2.2 การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแบบบูรณาการ

2.3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและระบบนิเวศ

2.4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน

3. ทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

3.1 การจัดการสัตว์ป่า

3.2 การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สัตว์ป่า

3.3 ศึกษาสถานการณ์การสัตว์ป่าไทย

3.4 การลักลอบค้าสัตว์ป่า

3.5 กลยุทธ์ในการอนุรักษ์สัตว์ป่า

3.6 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา แนวทางป้องกันและแก้ไข

4.  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

 

2.1 ความหมายและทฤษฎีผู้นำ

 

2.1.1 ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำ

ผู้นำ (Leadership) หมายถึง บุคคลที่ทำให้องค์กรประสบความก้าวหน้า และบรรลุผลสำเร็จโดยมีศิลปะและความสามารถในการใช้อำนาจ อิทธิพล บารมี จูงใจผื่นให้ปฏิบัติตาม เพื่อทุ่มเททำงานจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

ภาวะผู้นำ (Leadership) หมายถึง ความสามารถในการเป็นผู้นำของบุคคลที่มีศิลปะในการใช้อำนาจ อิทธิพล บารมี จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจนบรรลุผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์การ

การนำ (Leading) หมายถึง ความสามารถจูงใจให้คนเกิดความผูกพันและกระตือรือร้นที่จะทุ่มเทตัวเองให้กับงานหรือกิจกรรมที่ทำอย่างเต็มที่จนงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้

มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมาย คำว่า ผู้นำ(Leadership) ต่างๆ กัน ดังนี้

1)            ผู้นำ หมายถึง เป็นการใช้ความสามารถ หรืออิทธิพล ชักจูงให้ ผู้อื่นร่วมกันทำงานอย่างเต็ม

ใจบรรลุวัตถุประสงค์

2)            ผู้นำ(Leadership) คือ ศิลปะของการทำให้คนอื่นปฏิบัติตามท่านและมีความเต็มใจที่จะทำ

ในสิ่งที่ท่านต้องการ

3)            ผู้นำ คือ Power ความสามารถทำให้คนอื่นปฏิบัติตามที่เราต้องการ

4)            ผู้นำ คือ Influence ผลการใช้ความสามารถหรืออำนาจนั้น

5)            ผู้นำ คือAuthority อำนาจการบังคับบัญชาตามกฏหมายระเบียบภายในองค์การ

6)            ผู้นำ คือ สภาวะที่เป็น กระบวนการใช้อำนาจเพื่อให้ได้รับอิทธิพลเหนือบุคคล

2.1.2 แนวคิดทฤษฎีของภาวะผู้นำ (Theories of Leadership)

                 2.1.2.1 แนวคิดที่ 1 ทฤษฎีลักษณะเด่นของผู้นำ

ทฤษฎีนี้นักศึกษาวิจัยลักษณะส่วนตัวของผู้นำ เป็นตัวกำหนดรูปแบภาวะผู้นำ ประกอบด้วย

2.1.2.1.1 ทฤษฎีพันธุกรรมของภาวะผู้นำ (Genetic Theory of Leadership)

ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ภาวะผู้นำเป็นผลของกรรมพันธุ์ ที่เกิดจากพันธุกรรม หรือยีน (Gene) ของ

บรรพบุรุษที่ถ่ายทอดสู่ลูกหลานรุ่นต่างๆ เมื่อบรรพบุรุษเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะผู้นำในรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปได้

2.1.2.1.2 ทฤษฎีคุณลักษณะของภาวะผู้นำ (Trait Theory of Leadership)

ทฤษฎีนี้ศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของผู้นำที่ได้มาโดยกำเนิดและ/หรือสร้างมาเองจากการพัฒนาตนเองในภายหลัง โดยวัดจาก :  คุณลักษณะทางร่างกาย คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ (Personality) คุณลักษณะทางสติปัญญา (Intelligence คุณลักษณะทางสังคม (Social) คุณลักษณะทางคุณธรรม (Moral)

2.1.2.2 แนวคิดที่ 2 ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ

ทฤษฎีนี้ศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำกับผู้ตามที่มีผลต่อรูปแบบของภาวะผู้นำ ประกอบด้วย

                2.1.2.2.1 ทฤษฎีภาวะผู้นำจากการสร้างและสะสมบารมี (Charismatic Theory of Leadership) ทฤษฎีนี้ศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำที่เกิดมาจากการสร้างและสั่งสมบารมี (Charismatic/Grandeur) สอดคล้องกับแนวคิดของ อริสโตเติล นักปรัชญาชาวกรีก ว่าภาวะผู้นำเกิดจาก

1) Ethics คือ การแสดงพฤติกรรมทางด้านศีลธรรมผู้นำโดยประพฤติดี ประพฤติชอบอันเป็นสิ่งจูงใจคนให้แสดงความนับถือ

2) Pathos คือ ความสามารถเข้าใจสัมผัสเข้าใจในความรู้สึก และเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้คนในสังคมและสามารถจูงใจให้คนอื่นปฏิบัติตาม

3) Logos คือ ความสามารถในการคิด ตัดสินใจและชี้แจงคนอื่นให้ปฏิบัติตาม

2.1.2.2.2 ทฤษฎีพฤติกรรมของภาวะผู้นำ (Behavioral Theories of Leadership)

1) ทฤษฎีภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of lowa Studies) Ronald R. Blake และ Ralph K. White (1930) ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้นำ 3 รูปแบบว่าแบบใด ก่อให้เกิดความสำเร็จมากที่สุด

1.1) ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เน้นการตัดสินใจและกำหนดวิธีทำงานเอง แต่เพียงผู้เดียว โดยจำกัดการมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชา และใช้ข้อมูลที่ได้จากการทำงานในเชิงลบ เช่น ใช้วิธีดุด่าว่ากล่าวในการป้อนกลับผลการดำเนินการ (Punitive Feedback)

1.2) ผู้นำแบประชาธิปไตย (Democratic Leader) เน้นการทำงานโดยให้กลุ่มมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดวิธีการทำงาน โดยประกาศเป้าหมายรวม (Overall Goals) ให้รู้ทั่วกันและใช้ข้อมูลป้อนกลับที่ได้จากการทำงานในเชิงบวกเพื่อเป็นโอกาสชี้แนะ

1.3) ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-Faire Leader) ให้กลุ่มเสรีเต็มที่ในการตัดสินใจและกำหนดวิธีการทำงานโดยหลีกหนีการให้ข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่มีผู้นำแบบเสรีนิยม ได้ผลการปฏิบัติงานต่ำกว่า ผู้นำแบบเผด็จการและผู้นำแบบประชาธิปไตย ผลการปฏิบัติงานของกลุ่มที่มีผู้นำแบบ ประชาธิปไตยบางครั้งก็สูงกว่าบางครั้งก็ต่ำกว่ากลุ่มที่มีผู้นำแบบเผด็จการ ส่วนกลุ่มที่มีผู้นำ แบประชาธิปไตยมีคุณภาพงานและความพึงพอใจในการทำงานสูงกว่าทุกกลุ่ม

2)  ทฤษฎีความต่อเนื่องของพฤติกรรมผู้นำ (Continuums of Leader Behaviors) โรเบิร์ต แทนแนนบาม และ วอเรน ชมิดท์ (Robert Tannenbaum & Warren Schmidt)พฤติกรรมผู้นำที่อเนื่องตั้งแต่ ผู้นำแบบอัตตนิยม เน้นที่อำนาจบทบาทหน้าที่ของหัวหน้า(Boss-Centered Leadership) จนถึง ผู้นำแบบประชาธิปไตย เน้นที่ความสำคัญของลูกน้อง (Subordinate – Centered Leadership) หรือกลับกันรวมเป็น “ทางเลือกของพฤติกรรมผู้นำ” 7 พฤติกรรมจากผูนำที่มีพฤติกรรมเป็นเผด็จการมากที่สุด 1 แล้วค่อยๆลดลงในทางเลือก 2,3,4,5,6 จนถึงผู้นำที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในทางเลือกที่ 7 ดังนี้

2.1) ผู้นำแบบที่ 1 คือ ผู้บริหารที่ตัดสินใจคนเดียว และแจ้งให้พนักงานทราบทั่วกันเพื่อนำ

ปฏิบัติโดยพนักงานไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

2.2) ผู้นำแบบที่ 2 คือ ผู้บริหารที่กำหนดปัญหาและตัดสินใจคนเดียวอย่างอิสระโดยชักจูงให้พนักงานยอมรับและนำไปปฏิบัติตามที่ตัดสินใจ

2.3) ผู้นำแบที่ 3 คือ ผู้บริหารที่นำเสนอความคิด และเปิดโอกาสให้พนักงานสอบถามได้ก่อนที่จะตัดสินใจคนเดียว โดยพยายามชักจูงให้พนักงานยอมรับการตัดสินใจ

2.4) ผู้นำแบบที่ 4 คือ ผู้บริหารที่นำเสนอการตัดสินใจชั่วคราวและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการตัดสินใจโดยยอให้พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจบ้างบางส่วน แต่ผู้บริหารยังเป็นผู้ตัดสินใจ

ขั้นสุดท้าย

2.5) ผู้นำแบบที่ 5 คือ คือผู้บริหารที่นำเสนอปัญหาและเปิดข้อรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขจากพนักงานแล้วตนเองเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

2.6) ผู้นำแบบที่ 6 คือ ผู้บริหารกำหนดกรอบปัญหาและขอบเขตการตัดสินใจแล้วมอบหมายให้กลุ่มพนักงานได้ทีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

2.7) ผู้นำแบบที่ 7 คือ ผู้บริหารที่อนุญาตให้พนักงานดำเนินการภายใต้ขอบเขตงานที่กำหนดขึ้นโดยผู้บริหารโดยยอมให้กลุ่มพนักงานตัดสินใจได้อย่างเท่าเทียมกัน

ทฤษฎีนี้เสนอแนะว่า ในระยะยาวผู้นำควรมุ่งพฤติกรรมไปทางขวาสู่บริเวณที่เน้นพนักงาเป็นศูนย์กลาง เพราะก่อให้เกิดผลดีหลายประการคือ การเพิ่มแรงจูงใจให้แก่พนักงานการตัดสินใจที่มีคุณภาพการทำงานเป็นทีม การสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานและการพัฒนาพนักงาน

2.1.2.3 แนวคิดที่ 3 ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory)

ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์เกิดจากการศึกษาวิจัยถึงอิทธิพลของสถานการณ์ที่มีผลต่อรูปแบบของภาวะผู้นำ นอกเหนือจากพฤติกรรมาของผู้นำแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์และพฤติกรรมผู้นำ

2.1.2.3.1 ทฤษฎีสถานการณ์ของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพของฟิดเลอร์ (Fiedler’s Contingency Theory of Leadership Effectiveness) ทฤษฎีนี้มีกรอบแนวคิดว่า ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมสอดคล้องของรูปแบบภาวะผู้นำกับความจำเป็นของสถานการณ์ ฟิดเลอร์ใช้แบบประเมินการมุ่งงานหรือมุ่งความสัมพันธ์ของผู้นำ (LPC Scale : Least Preferred Coworker Scale) เป็นเครื่องมือวัดรูปแบบภาวะผู้นำ 2 แบบ คือ

1.1)  ผู้นำที่มุ่งงาน (Task-oriented Leader)

1.2)  ผู้นำที่มุ่งสัมพันธ์ (Relationship-oriented Leader)

ฟิดเลอร์เชื่อว่า รูปแบบภาวะผู้นำเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพถาวรของแต่ละคน ดังนั้น จึงเปลี่ยนแปลงได้ยาก แทนที่จะฝึกอบรมให้ผู้นำที่มุ่งงานหัมมามุ่งสัมพันธ์ หรือในทางตรงกันข้าม
ฟิดเลอร์แนะนำให้จัดคนที่เป็นผู้นำให้ความเหมาะสมกับสถานการณ์

2.1.2.3.2 ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮีอร์ซีย์ – เบลนชาร์ด (Hersey – Blanchard’s Situational Theory of Leadership) Paul Hersey และ Kenneth H. Blanchard เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่มุ่งศึกษาลักษณะ “วุฒิภาวะของผู้ตาม” (Maturity of Followers) เป็นปัจจัยสำคัญของสถานการณ์ที่ตัดสินพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิผล. เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา (ผู้ตาม) มีระดับความพร้อมในการทำงาน (Readiness) ที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ (1) มีความสามารถและทักษะ (Ability & Skills) ที่ได้รับการฝึกอบรม (2) มีความมั่นใจเต็มใจในการทำงาน (Willingness) ที่แตกต่างกัน

2.1.2.4 แนวคิดที่ 4 ทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดร่วมสมัย เพื่อการศึกษาวิจัยภาวะผู้นำรูปแบบต่างๆ เช่น  ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติ (Transactional Leadership)  ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership)  ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)  ภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมี( Charismatic Leadership) ภาวะผู้นำที่ทดแทนกันได้( Substitutes Leadership) ภาวะผู้นำที่ดีเลิศ ( Super leadership) เป็นต้น

บทสรุป (Summary) : ในการบริหารงานของผู้บริหารแต่ละคนก็จะมีแนวทางทฤษีและรูปแบบภาวะผู้นำต่างๆ กันไป ตามวิสัยทัศน์ของตนเองที่คิดว่าดีที่สุดเหมาะสมที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุด ผู้นำ ที่เข้ารับหน้าที่ในการบริหารงานนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หลักสองด้านด้วยกันคือ การบริหารงานเกี่ยวกับปัจจัยภายใน เพื่ออำนวยให้ทรัพยากรที่เป็นตัวบุคคลและวัตถุประสานเข้ากันและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะเดียวกันจะต้องมีการบริหารงานเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกเพื่อนำองค์กรให้สามารถดำเนินไปโดยมีการประบตัวอย่างเหมาะสมมากที่สุดกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรจึงจะสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ในสังคมมีการทำงานที่ได้ผล

 

2.2 กรอบแนวความคิดด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

 

2.2.1 ความหมายของการอนุรักษ์สัตว์ป่า

                สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีพอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้ความหมายรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิด ด้วยแต่ไม่รวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฏหมายด้วยสัตว์พาหนะและสัตว์พาหนะที่ได้จากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว (พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535)

สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจัดอยู่ในทรัพยากรประเภทที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้จึงจำเป็นต้องมีการป้องกัน รักษา จัดหาที่อยู่อาศัย อาหาร และแหล่งน้ำให้พอกับความต้องการ อีกทั้งต้องมีการสงวนพันธุ์ไว้มีให้ถูกทำลายถึงสูญพันธุ์ โดยทั่วไปแบ่งสัตว์ป่าออกเป็นพวกใหญ่ คือ

1)              สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ช้าง เสือ กวาง ค้างคาว เป็นต้น

2)              นก เช่น นกเขา ไก่ป่า นกยูง ไก่ฟ้า เป็นต้น

3)              สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด กิ้งก่า งูชนิดต่างๆเป็นต้น

4)              สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด ปาด คางคก เป็นต้น

5)              ปลา

ประเภทของสัตว์ป่า

สัตว์ป่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 คือ

1) สัตว์ป่าสงวน หมายความว่า สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้ และตามที่ได้กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบันมีจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพยูน

2) สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายความว่า สัตว์ป่า ตามที่กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฏกระทรวงเพื่อเป็นการป้องกันมิให้สัตว์ป่าบางชนิดต้องสูญพันธุ์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 189 ชนิด นก 182 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 63 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 13 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 13 ชนิด (จำนวนชนิดนี้เป็นจำนวนชนิดในขณะทำเอกสาร แต่อาจเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงหากมีการกำหนดชนิดสัตว์คุ้มครองมากขึ้น) ซึ่งมีจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น

2.1)  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวอย่างเช่น ช้าง กระทิง กวางป่า ค่าง ค้างคาวคุณกิตติ(ซึ่งถือว่า

เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก) ชะนี ชะมด เนื้อทราย วัวแดง เสือ โลมา วาฬ
หมาจิ้งจอก หมาไน หมี เป็นต้น

2.2)  สัตว์พวกนก ตัวอย่างเช่น ไก่จุก ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกระทุง นกกระสา นกกาบบัว

นกขุนทอง นกปรอท นกเขา นกเหงือก นกแต้วแล้ว นกอินทรี นกพญาไฟ เป็นต้น

2.3)  สัตว์เลื้อยคลาน ตัวอย่างเช่น กิ้งก่าดง กิ้งก่าธรรมดา กิ้งก่าบิน งูจงอาง งูสิง งูหลาม งู

เหลือม จระเข้น้ำเค็มและน้ำจืด ตะกวด ตะกอง ตะโขง ตำขาบน้ำ เต่า เห่าช้าง เหี้ย เป็นต้น

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 12 ชนิด คือ กบเกาะช้าง กบดอยช้าง กบท่าสาร กบทูดหรือเขียดแลว กบอกหนาม กระทั่ง คางคกขายาว คางคกต้นไม้ คางคกเล็ก คางคกห้วยมลายู คางคกหัวราบ และจงโคร่ง

2.4)  สัตว์จำพวกปลา มี 4 ชนิด คือ ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า ปลาติดหินหรือปลา

ค้างคาว ปลาเสือตอหรือปลาเสือหรือปลาลาด และปลาหมูอารีย์

2.5)  สัตว์จำพวกแมลง ตัวอย่างเช่น ด้วงกว่างดาว ด้วงคีมยีราฟ ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว

ผีเสื้อไกเซอร์ ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อนางพญา ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ เป็นต้น

2.6) สัตว์ป่าพวกไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ได้แก่ กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ผึ้งตัวใหญ่

ปะการังแข็ง ปะการังไฟ ปะการังสีฟ้า ปะการังอ่อน ปูเจ้าฟ้า ปูราชินี หอยมือเสือ และหอยสังข์แตร

                3) สัตว์ป่านอกประเภท หมายถึง สัตว์ป่าที่ไม่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติ

สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และไม่ปรากฏในบัญชีท้ายกฏกระทรวงที่กำหนดถึงชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครอง

ประเทศไทยมีสัตว์ป่าประเภทต่างๆ จำนวน 2,748 ชนิด เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่นจำนวน 124 ชนิด ใกล้สูญพันธุ์จำนวน 320 ชนิด สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ อาจจะกล่าวได้ในสามลักษณะด้วยกันคือ

ประการแรก มีคุณประโยชน์ซึ่งแบ่งออกได้หลายอย่างคือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การพักผ่อนหย่อนใจ ชีววิทยา รักษาความงามตามธรรมชาติ

ประการที่สอง สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่งอกเงยเพิ่มพูน ได้ซึ่งจะต้องมีการลงทุนรักษาไว้ ความเพิ่มพูนที่ได้รับไม่สามารถจะกล่าวออกมาในรูปของเงินตราได้ว่า มีมูลค่ามากน้อยเพียงใด

ประการสุดท้ายคือ ผลประโยชน์ที่ได้จากสัตว์ป่าจะทำให้สิ่งแวดล้อมของมนุษย์คงอยู่หรือรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นไว้

การอนุรักษ์สัตว์ป่า มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป และการเพิ่มพูนซึ่งทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่า โดยให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้านนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะต้องมีศาสตร์และศิลปของการนำหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้กับการจัดการสัตว์ป่า ประกอบด้วย

1) การใช้กฎหมายควบคุม เป็นการอนุรักษ์สัตว์ป่าทางตรง

2) การสงวนแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า หมายถึง การป้องกันรักษาป่าไม้ที่จัดเป็นเขตรักษา พันธ์สัตว์ป่า เขตป่าในอุทยานแห่งชาติ เขตวนอุทยาน เพื่อให้สัตว์ป่าได้อยู่อาศัยและสืบพันธุ์

3) การเพาะพันธุ์เพิ่ม เพื่อนำสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติเป็นการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่า

4) การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ ถือได้ ว่าเป็นพื้นฐานของการจัดการสัตว์ป่าให้มีจำนวน เพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัย

5) การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่า ตรงตามหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น
จัดสถานที่ชมสัตว์ป่า ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ความรู้แก่มนุษย์

2.2.2 การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแบบบูรณาการ

ถึงแม้จะมีมาตรการการประกาศพื้นที่ไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และมีมาตรการในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าแล้ว แต่เมื่อสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีปัจัยภายนอกเข้ามามีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ป่าอยู่เสมอ เพื่อให้การอนุรักษ์มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และเป็นที่รับทราบของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกสาขา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการกำหนดทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าขึ้น ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยได้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ตลอดจนได้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่วันที่1 กรกฎาคม 2546 จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2547 และนำผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะดังกล่าวมาเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติขึ้น เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถดำรงค์เผ่าพันธุ์และอำนวยประโยชน์ต่อประชานในชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป

แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548 -2557 ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์สัตว์ป่าของโลกและการลดลงของสัตว์ป่าในธรรมชาติ เนื่องจากการบุกรุกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า กระแสการอนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม อิทธิพลของแนวคิดด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนสิ่งเหล่านี้ได้รับการบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การดำเนินการเพื่อลดปัญหาและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ นับว่าเป็นการบูรณาการทำงานของหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมดกับภาคเอกชน องค์กรเอกชน โดยมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ ดังนี้

1) นโยบายของรัฐด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาตินี้ จะสนับสนุนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รัฐบาลได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพ การป้องกันการเสื่อมโทรมและสูญสิ้นไป และการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตเกิดความสมดุลในการพัฒนา

2) นโยบายการสร้างรายได้ แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาตินี้ จะส่งเสริมและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ โดยจะส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่มีค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรที่สนใจในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เพื่อการค้า อันเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

                3) นโยบายด้านการท่องเที่ยว นันทนาการ และการศึกษา แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาตินี้ จะส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและนันทนาการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาจังหวัดตามแผนบูรณาการกลุ่มจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย และ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการท่องเที่ยวในลักษณะเพื่อการศึกษาหาความรู้ในพื้นที่ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความหมุนเวียนเงินตราแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและเกิดจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

2.2.3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและระบบนิเวศ

ทรัพยากรสัตว์ป่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศ สัตว์ป่าเป็นตัวช่วยเร่งให้เกิดการหมุนเวียนพลังงานในระบบนิเวศของป่า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติให้ระบบนิเวศมีความมั่นคงและยั่งยืน สามารถอำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติได้อย่างต่อเนื่องตลอดมา รวมทั้งยังสามารถเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ นอกจากนี้สัตว์ป่ายังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหาร ประโยชน์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และการพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน บางครั้งสัตว์ป่าถูกใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรป่าไม้ ในทางกลับกันสถานภาพของทรัพยากรป่าไม้ก็ส่งผลโดยตรงต่อการคงอยู่ของสัตว์ป่าซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นด้วยเช่นกัน เพราะระบบนิเวศของป่าไม้และสัตว์ป่ามีการเกื้อกูลกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการจัดการควบคู่กันไป

สัตว์ป่า เป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับป่าไม้ สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม สัตว์ป่าเป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมสัตว์ด้วยกันเองช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศ เช่น ค้างคาวช่วยกินแมลง นกช่วยกินหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ ซึ่งหากไม่มีสัตว์ป่ามนุษย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้เป็นจำนวนมาก คุณค่าของสัตว์ป่า ต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เช่น การทำลายศัตรูป่าไม้ การช่วยผสมเกสรดอกไม้ การกระจายพันธุ์ไม้ การทำให้ดินอุดมสมบรูณ์ เป็นต้น

2.2.4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน

คุณประโยชน์ของสัตว์ป่า แบ่งออกได้เป็น 6 ประการ คือ

              1)  คุณประโยชน์ด้านการค้า (Commercial values) เป็นประโยชน์ที่เราได้รับจากการค้าสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่า หรือผลิตผลที่ได้จากสัตว์ป่า ทั้งเป็นการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นการนำมาซึ่งรายได้ และนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งผลิตผลที่ได้จากสัตว์ป่านำไปทำเป็นการอุตสาหกรรมทางด้านอื่นๆ ได้อีกเช่น อาหารของมนุษย์ อาหารสัตว์ ปุ๋ย กาวยารักษาโรค แปรง เครื่องปัดฝุ่น เครื่องนุ่งห่ม สบู่ วัตถุระเบิด ผ้าขนสัตว์ และเครื่องประดับต่างๆ

2) คุณประโยชน์ทางด้านการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreational Values) เป็นประโยชน์ที่มนุษย์ได้จากการไปเที่ยวดู ชมสัตว์ป่า การถ่ายรูป การสะกดรอย การสังเกตพฤติกรรมเพื่อความเพลิดเพลิน ซึ่งไม่สามารถวัดด้วยเงินตราว่ามีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังทำรายได้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอีก เช่น ขายฟิล์มถ่ายรูป เข็มทิศ กระติกน้ำ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เข้าไปชมสัตว์ป่าจะได้ซื้อไปใช้

3) คุณประโยชน์ทางด้านชีววิทยา (Biological Values) เป็นประโยชน์ที่นับได้ว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์อยู่มาก เช่น ช่วยแพร่ขยายชนิดพันธุ์ไม้ กำจัดแมลงศัตรูพืช ทำลายสัตว์ที่เป็นศัตรูพืช กำจัดสิ่งปฎิกูล ฯลฯ เป็นต้น อาจจะเป็นประโยชน์ทางอ้อมสำหรับมนุษย์ เช่น สัตว์ที่กินลูกไม้สุกเป็นอาหาร ในท้องที่หนึ่ง และนำไปถ่ายมูลในอีกท้องที่หนึ่ง จะทำให้เมล็ดนั้นงอกขึ้นมาในท้องที่ใหม่ มีคุณประโยชน์ต่อป่าไม้ แมลง หลายชนิดที่ชอบกินผลผลิตทางการเกษตร ก็มีนกบางชนิดที่กินแมลงนั้นเป็นอาหาร นกเหยี่ยว นกฮูก นกเค้าแมว ชอบจับหนูกินเป็นอาหาร จะช่วยลดจำนวนหนู ซึ่งมักจะทำลายข้าวกล้าในนา นกแร้งที่กินสัตว์เน่าเป็นอาหาร ช่วยกำจัดสิ่งปฎิกูลแทนเจ้าหน้าที่

4) คุณประโยชน์ทางด้านความงามตามธรรมชาติ (Esthetic Values) เป็นคุณประโยชน์เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์ ความนึกคิด แรงบันดาลใจจากที่ได้เห็นสัตว์ป่านำไปแต่งเป็นเพลง บทกลอน การเขียนเรื่อง การแกะสลัก การวาดภาพ นอกจากนี้ก็มีประเทศต่างๆ เห็นความสำคัญของสัตว์ป่า ใช้รูปสัตว์ป่าเป็นเครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ เช่น รูปสิงโตในธงชาติ ของบางประเทศในทวีปอาฟริกา เป็นต้น

5) คุณประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Values) เป็นคุณประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้สัตว์ป่าเป็นเครื่องมือทดลอง เช่น สาขาแพทย์ สัตววิทยา ชีววิทยาและสาขาอื่นๆ ใช้สัตว์ป่าทดลองด้านเชื้อโรค การทดลองส่งสัตว์ขึ้นไปกับยานอวกาศ การศึกษาทางด้านพฤติกรรมด้านสรีระวิทยา แร่ธาตุ การขยายพันธุ์ ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

                   6) คุณประโยชน์ทางด้านสังคม (Social Values) ประโยชน์ทางด้านนี้มีความเกี่ยวข้องกับคุณประโยชน์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วซึ่งถ้าหากว่าเรามีสัตว์ป่าอยู่มากก็จะอำนวยประโยชน์ให้แก่เราทุกทางทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างหนึ่ง เมื่อเรากล่าวถึงคุณประโยชน์ของสัตว์แล้ว นับว่าสัตว์ป่ามีประโยชน์หลายด้านด้วยกัน ในปัจจุบันนี้สัตว์ป่าหลายชนิดหรือแทบทุกชนิดกำลังประสบกับปัญหาการลดจำนวนประชากรลง หรือหาได้ยากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ บางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว สืบเนื่องมาจากการล่าสัตว์ป่านำมาใช้ประโยชน์และ การทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งมีพบอยู่ทุกส่วนของโลก ก็ได้มีนักวิชาการ นักบริหารหลายสาขาได้พยายามที่จะกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองสัตว์ป่าไว้เพื่อให้มีประโยชน์ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

 

 

 

 

2.3 ทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

 

2.3.1 การจัดการสัตว์ป่า

การจัดการและการอนุรักษ์ประชากรสัตว์ป่าให้อยู่ได้ยั่งยืนถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความรู้หลากหลายสาขาทั้งด้านประชากร พันธุกรรม พฤติกรรม นิเวศวิทยา และภูมิศาสตร์อื่นๆ หลักสำคัญคือการใช้วิทยาศาสตร์ในการนำ การจัดการ คือการตอบคำถามหลักๆ คือ

สัตว์ป่าอยู่ตรงไหน ใช้พื้นที่อย่างไร เป็นข้อมูลพื้นฐานและเบื้องต้นที่สุดว่าสัตว์ป่าที่เราต้องการอนุรักษ์ยังมีอยู่แท้จริงหรือไม่ากยังมีอยู่พวกมันใช้ชีวิตหากินบริเวณไหนมีการครอบครองพื้นที่อย่างไร ชอบใช้บริเวณไหนมากกว่ากัน มีการอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาลบ้างหรือไม่

สัตว์ป่ามีจำนวนเท่าไหร่  คำถามที่มักถูกถามเป็นประจำคือเสือโคร่งเหลืออยู่กี่ตัว ช้างเหลืออยู่กี่ตัวป็นคำถามที่ฟังดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะอบยากอะไรแต่ในความเป็นจริงเป็นคำถามที่ตอบยากที่สุดเพราะป่าช่วยบดบังสัตว์ป่าไว้และสัตว์ป่าเคลื่อนที่ได้ีการเกิดการตายมีการอพยพเข้าออกอยู่ตลอดเวลานศาสตร์แห่งการจัดการสัตว์ป่าการศึกษาเรื่องเทคนิคการสุ่มตัวอย่างเพื่อนับประชากรสัตว์ป่ามักถือเป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุด การจะตอบคำถามนี้ได้ด้วยความมั่นใจจึงจำเป็นต้องมีระบบการตรวจวัดที่มีคุณภาพ และเป็น ระบบ

                    ปัจจัยคุกคามคืออะไร…หนักหนาขนาดไหน อะไรคือปัจจัยคุกคามที่สำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงจากเป้าหมาย  โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่ปัจจัยคุกคามที่มีสาเหตุจากมนุษย์เป็นหลักเพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยากที่สัตว์ป่าจะปรับตัวให้ทัน ปัจจัยคุกคามโดยตรง เช่น การล่าสัตว์ชนิดนั้นๆ โดยตรง การล่าสัตว์ที่เป็นเหยื่อของผู้ล่า การขยายพื้นที่ทำกินการจุดไฟเผาป่า การเก็บหาของป่าจนเกินขอบเขต ส่วนปัจจัยคุกคามโดยอ้อมที่เป็นประเด็นที่เกิดจากมนุษย์ที่ชัดเจนในปัจจุบัน เช่น นโยบายการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มุ่งแต่การขยายพื้นทีปลูกเป็นหลัก  การเลี้ยงวัวแบบปล่อยป่าตลอดจนปัญหาราษฎรขาดความตระหนักในผลกระทบระยะยาวของการใช้ทรัพยากร

                    แนวทางการจัดการเพื่อลดปัจจัยคุกคามคืออะไร อะไรคือแนวทางการลดปัจจัยคุกคามขึ้นอยู่กับการระบุรายละเอียดของปัจจัยคุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมปัญหาเฉพาะหน้า ที่ชัดเจน เช่น การจัดการกับปัญหาความอ่อนแอในการลาดตระเวน คือ การปรับปรุงศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการลาดตระเวนให้มีระบบลาดตระเวนที่เข้มแข็งบนพื้นฐานของข้อมูล ส่วนการจัดการเพื่อลดปัญหาราษฎรขาดความตระหนักในการอนุรักษ์คือ การเพิ่ม คุณภาพและแนวทางใหม่ๆในกิจกรรมธรรมชาติ

คำถามด้านการจัดการอนุรักษ์สัตว์ป่าทั้ง 4 ข้อ มีความเกี่ยวโยงกันอย่างแน่นแฟ้น  หากนักจัดการพยายามตอบคำถาม ทั้ง 4 ข้อโดยการใช้ข้อมูลที่เป็นจริง ภายใต้หลักการอันเป็นวิทยาศาสตร์แล้วก็จะสามารถเป็นหลักประกันที่ยั่งยืนมั่งคงให้แก่สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยได้อย่างมั่นคงขึ้น โดยใช้ขัอมูลเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการ และปรับปรุงพัฒนาการอนุรักษ์ตามพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง

2.3.3 กฏหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่า

ปัจจุบันนี้มีการลักลอบจำหน่ายสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ป่าอยู่ เสมอ ๆ บริเวณตลาดนัด ศูนย์การค้า สถานที่ค้าสัตว์เลี้ยง และร้านอาหารป่า ที่พบเห็นกันเป็นประจำ ได้แก่ นกขุนทอง นกปรอดหัวโขน นกกะรางคอดำ แมวดาว นางอาย ผีเสื้อบางชนิด เขาเก้ง เขากวาง หรือกระเป๋า รองเท้าที่ทำจากซากของหนังตะกวด งูเหลือม งูหลาม งูจงอาง เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย นำเข้า ส่งออกสิ่งดังกล่าว เป็นการทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ผู้กระทำผิดอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย จึงมีข่าวการจับกุมผู้กระทำความผิดให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ซึ่งคนเหล่านั้นมีทั้งพวกตั้งใจกระทำผิด และพวกที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อ

สรุปย่อสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองป่า พ.ศ.2535

บทกำหนดโทษตามลักษณะของความผิด

1)โทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้

1.1) ล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยที่ไม่เป็นข้อยกเว้น

1.2) มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง ยกเว้น เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมาย

1.3) ค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ยกเว้น เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมายนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่า หรือนำผ่านสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี

 

2)โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้

2.1) เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

2.2) นำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยมิใช่กรณีการนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ และได้รับอนุญาตจากอธิบดี

2.3) จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

3) โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ มีไว้ในครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการพาะพันธุ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต

4) โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ ทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาต

5) โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้

5.1) เก็บ ทำอันตราย มีรังของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง

5.2) ยิงสัตว์นอกเวลาอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น

5.3) ล่าสัตว์ป่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าอื่นๆ หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในบริเวณวัดหรือในบริเวณสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

6) โทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ นำสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี นำสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า โดยไม่แจ้งหรือแสดงใบอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า

7) โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ ล่าสัตว์ป่าใดๆ เก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

8) โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้

8.1) ยึดถือ ครอบครองที่ดิน ปลูกสร้างสิ่งใด แผ้วถาง ทำลายต้นไม้ พรรณพืช ฯลฯ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

8.2) ล่าสัตว์ เก็บรัง ยึดถือครอบครองที่ดิน ทำลายต้นไม้ พันธุ์พืช ฯลฯ ในเขตกำหนดห้ามล่าสัตว์ป่า

9)โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ “ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้”

10) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นตน มิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วย

2.3.4 การลักลอบค้าสัตว์ป่า

เจมส์ คอมป์ตัน ผู้อำนวยการ TRAFFIC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงมูลค่าของการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศว่า การลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็นธุรกิจในตลาดมืดที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่ขบวนการค้ายาเสพติดเท่านั้น เป็นธุรกิจที่ผิดกฏหมายที่มีมูลค่าเป็นหมื่นๆล้านบาท การค้าระหว่างประเทศเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสัตว์และพืชนานาชนิด การค้าสัตว์ป่าก็เหมือนกับการค้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ในขณะที่ภาพรวมของปัญหาแต่ละประเทศอาจจะคล้ายกัน แต่ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่พอสมควร คนที่ทำงานด้านนี้จึงต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องรู้ความเป็นไปตั้งแต่ระดับผู้ผลิตหรือแหล่งที่มใของสัตว์ป่า ไปจนถึงพ่อค้าคนกลางที่มีบทบาทสำคัญในการส่งออกและนำเข้า และศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยมาตราการทางกฏหมายเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้เพราะมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ความเชื่อและคตินิยมของสังคมนั้นๆซึ่งต้องอาศัยเวลาในการเปลี่ยนแปลง

คริส เชฟเฟิร์ด เจ้าหน้าที่ประจำ TRAFFIC องค์กรเอกชนนานาชาติ ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าทั่วโลกบอกเล่าถึงประสบการณ์ตรงกว่า 10 ปี ในการทำงานเก็บข้อมูลขบวนการค้าสัตว์ป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ดินแดนแถบนี้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในการค้าสัตว์ป่าระดับโลก เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ป่าเขตร้อนที่นี่จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่มีความต้องการในตลาดสูงการค้าสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นไปเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ใหญ่ๆ 5 ประการคือ

1)            เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง เช่น งาช้างแกะสลัก เขาสัตว์ หนังเสือ กระดองเต่า

ซากผีเสื้อ

2)            เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของยาแผนโบราณ เช่น นอแรด กระดูกเสือ ดีหมี ลิงลม

ตากแห้ง

3)            เพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะนกป่า สัตว์ในกลุ่มลิง และสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ

4)            เพื่อการบริโภค ทั้งในระดับท้องถิ่น และส่งขายให้ร้านอาหารทั้งในประเทศ และ

ต่างประเทศ

5)            เพื่อตอบสนองกิจการสวนสัตว์ ทั้งของรัฐและเอกชน

 

เทคนิคการลักลอบขนสัตว์ป่า

หลบซ่อน เป็นวิธีการที่พบบ่อยที่สุดในการลักลอบส่งออกและนำเข้าสัตว์ป่าผิดกฏหมาย โดยมีวิธีการต่างๆ กันไปอาทิ ซ่อนไว้ในกระเป๋าเดินทาง เก็บไว้ในกระเป๋าถือ ซ่อนไว้ในถุงเท้า เสื้อชั้นใน มีทั้งกรณีที่จับนกมัดขามัดปีกใส่ถุงพลาสติกเจาะรูใส่รวมๆกันใส่ไว้ในประเป่าเดินทาง หรือแอบเอาไข่นกป่าหายากซ่อนไว้ในกางเกงใน

แจ้งข้อมูลเท็จ โดยปกติดำเนินการอยู่สามรูปแบบคือ บิดเบือนเรื่องชนิด จำนวน และมูลค่าของสินค้า

การปลอมใบอนุญาต ปกติจะใช้ในขั้นตอนการนำเข้าเพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ค่อยเข้มงวดและไม่ค่อยคุ้นเคยกับใบอนุญาตที่ออกจากประเทศต้นทาง ใบอนุญาตต่างๆจำนวนมากรวมทั้งของไซเตสเป็นของปลอม

การอ้างว่าเป็นชนิดที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง ผู้ส่งออกสัตว์ป่ามักใช้ข้ออ้างว่าสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าที่มีการซื้อขายนั้น ได้จากสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในฟาร์ม ในหลายประเทศมีการใช้ข้ออ้างนี้ร่วมกับการใช้ใบอนุญาตปลอม ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

การสวมรอยสัตว์ป่าและการส่งออกซ้ำ สัตว์ป่าที่เพาะเลี้ยงได้บางชนิดมีการอนุญาตให้ค้าภายในประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย ทำให้มีการนำสัตว์ป่าที่จับได้จากธรรมชาติมาสวมรอย หรือในกรณีที่มีการอนุญาตให้นำชิ้นส่วนสัตว์ป่าบางประเภทเช่น งาช้าง หนังงู เข้ามาในประเทศเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆและส่งกลับออกไปจำหน่ายอีกครั้งในกระบวนการนี้ก็มักมีการนำชิ้นส่วนสัตว์ป่าในประเทศมาสวมรอยและส่งออกไปร่วมกับชิ้นส่วนนำเข้า

การลักลอบส่งทางไปรษณีย์ ปัจจุบันมีการลักลอบส่งสินค้าสัตว์ป่าทางไปรษณีย์เป็นประจำ โดยเฉพาะสินค้าประเภทหนังสัตว์เช่น หนังเสือ หนังหมี หนังงู หนังกวาง ขนนก หรือแม้แต่สินค้าประเภทงาช้าง เพราะเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้สินค้าเหล่านี้เป็นของผิดกฏหมาย

การปลอมสินค้า  วิธีการนี้ใช้เพื่อหลอกผู้ซื้อโดยเฉพาะโดยมีการปลอมเพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าจากสัตว์ป่าซึ่งมีราคาสูงเช่นกระดูกเสือ อวัยวะเพศเสือ ดีหมี นอแรด งาช้าง

2.3.5 กลยุทธ์ในการอนุรักษ์สัตว์ป่า

แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548 – 2557 ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสัตว์ป่ารวมถึงถิ่ที่อาศัยของสัตว์ป่าให้คงอยู่และดำรง ไว้ซึ่งบทบาทและกระบวนการของระบบนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืน ดังนี้

2.3.5.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการจัดทำ

ฐานข้อมูลสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ

1)            จัดทำแผนการศึกษาวิจัยด้านวิชาการของสัตว์ป่าอย่างเป็นระบบ

2)            พัฒนาเทคโนโลยีด้านการศึกษาวิจัยสัตว์ป่าและผลผลิตสัตว์ป่า

3)            จัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศด้านสัตว์ป่า

4)            สร้างความร่วมมือในด้านการวิจัยสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัย ระหว่างหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในระดับประเทศและนานาชาติ

2.3.5.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแบบ

บูรณาการ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ

1)            ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงานด้านการจัดการสัตว์ป่า

2)            สร้างและพัฒนาบุคคลากรด้านสัตว์ป่า

3)            พัฒนาการบริหารจัดการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

4)            ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภายในประเทศและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

5)            ปรับปรุงพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 รวมทั้งพระราชกฤษฎีกา

6)            แผนบูรณาการกับแผนแม่บทอื่นๆ

2.3.5.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและ

ระบบนิเวศ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ

1)            จัดการสัตว์ป่าและถิ่นที่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม

2)            จัดการและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ป่าและถิ่นที่อาศัยให้อยู่ในสภาวะสมดุลตามธรรมชาติ

3)            อนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์นอกถิ่นกำเนิด

4)            จัดการพื้นที่อนุรักษ์โดยใช้หลักการเชิงระบบนิเวศ

5)            เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านสัตว์ป่าและระบบนิเวศให้กับประชาชนทั่วไป

2.3.5.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

3 กลยุทธ์ คือ

1)            จัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่านอกถิ่นที่อยู่อาศัย

2)            จัดการทรัพยากรสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัยนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์

3)            จัดการการศึกษา และนันทนาการด้านสัตวืป่าและถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่าตามศักยภาพของพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

2.3.6 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา แนวทางป้องกันและแก้ไข

2.3.6.1 ปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า

ในปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดน้อยลงมาก ชนิดที่สมัยก่อนมีอยู่ชุกชุมก็ไม่ค่อยได้

พบเห็นอีกบางชนิดก็ถึงกับสูญพันธุ์ไปเลย ปัญหานี้สาเหตุมาจาก

1)  ถูกทำลายโดยการล่าโดยตรงไม่ว่าจะล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬาหรือเพื่ออาชีพ

2)  การสูญพันธุ์หรือลดน้อยลงไปตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเอง ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมได้ หรือจากสาเหตุภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า

3)  การนำสัตว์ป่าต่างถิ่น (Exotic animal) เข้าไปในระบบนิเวศสัตว์ป่าประจำถิ่น ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความสมดุลของสัตว์ป่าประจำถิ่นจนอาจเกิดการสูญพันธุ์

4)  การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งก็ได้แก่การที่ป่าไม้ถูกทำลายด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดยถากถางและเผาเพื่อทำการเกษตรกิจกรรมการพัฒนา เช่น การตัดถนนผ่านเขตป่า การสร้างเขื่อน ฯลฯ ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นหรือไม่ก็เสียชีวิตขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย

5)  การสูญเสียเนื่องจากสารพิษตกค้าง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เช่น
ยาปราบศัตรูพืชจะทำให้เกิดการสะสมพิษในร่างกายทำให้บางชนิดถึงกับสูญพันธุ์ได้

2.3.6.2 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จึงต้องมีวิธีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้

1) กำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ

2) การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง

3) การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองเพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมากทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ

4) การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้วยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย

5) การปลูกฝังการให้ความรัก และเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธีสัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่า ซึ่งมักไม่มีชีวิตรอด

6) การเพาะพันธุ์เพิ่มสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ควรมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนและเร่งให้มีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น

 

2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

 

ธีรภัทร ประยูรสิทธิ (2548) ศึกษาลักษณะงานวิจัยสัตว์ป่าในอดีตถึงปัจจุบัน พบว่างานวิจัยสัตว์ป่าในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ 1)  เพื่อทราบความหลากชนิด และความชุกชุมของสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์  2) เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของสัตว์ป่าในธรรมชาติ  3) เพื่อเข้าใจความสัมพันธุ์ของสัตว์ป่ากับถิ่นอาศัย และ  4) เพื่อเข้าใจผลกระทบของมนุษย์ที่ต่อสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ นักวิจัยส่วนใหญ่สังกัดส่วนวิจัยสัตว์ป่ากรมป่าไม้เดิม ประกอบกับนักวิจัย และนิสิตซึ่งทำวิทยานิพนธ์ด้านสัตว์ป่า จากคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เปิดสอนสาขาวิชาด้านชีววิทยาและการจัดการสัตว์ป่ามาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี เสริมด้วยงานวิจัยจาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีงานวิจัยกับสัตว์ป่ามีการกระจายอยู่ในวงจำกัด คือ เป็นงานวิจัยที่ต้องทุ่มเทกำลังในการเก็บข้อมูลในภาคสนาม ในพื้นที่ทุรกันดารและยากลำบาก และมักต้องใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลภาคสนามยาวนานกว่า 1-2 ปี ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องมีใจรักด้านนี้เป็นทุนเดิมอยู่พอสมควร

ปัญหาสำหรับงานวิจัยด้านสัตว์ป่าที่ผ่านมาที่ชัดเจนประการหนึ่งคือ ขาดความเชื่อมโยงกับงานจัดการ หรือในทางกลับกันงานจัดการและการอนุรักษ์ส่วนใหญ่ไม่ใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่จำกัดการพัฒนางานวิจัยและนักวิจัยอย่างยิ่ง ซึ่งมีผลสะท้อนไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์ป่าและคคุณภาพของถิ่นอาศัยโดยรวม

นิคม พุทธา, และคณะ (2551) ได้ศึกษาสถานการณ์สัตว์ป่าไทย การค้าขายสัตว์ป่า สวนสัตว์ และเขตอนุรักษ์ จากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ภายในและต่างประเทศ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับ 1) การค้าสัตว์ป่า 2) การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าในกิจการสวนสัตว์ 3) การปรับแก้ไขกฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า 4) ปัญหาการคุกคามสัตว์ป่าในถิ่นกำเนิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สัตว์ป่าในประเทศไทยยังคงถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าลดลงจากโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่างๆและการขยายตัวของเมือง
สัตว์ป่ายังคงถูกล่าในถิ่นกำเนิดแม้เป็นเขตอนุรักษ์และถูกจัดลำดับเข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์มากขึ้น ประเทศไทยยังคงถูกนานาประเทศมองว่าเป็นศูนย์กลางของการค้าสัตว์ป่าสำคัญแห่งหนึ่งของโลก ในการนำ สัตว์ป่าทั้งจากป่าภายในประเทศและประเทศใกล้เคียงไปสู่ผู้ซื้อภายในและต่างประเทศ มีการขยายตัวของการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่ามากขึ้นในรูปแบบของสวนสัตว์และการครอบครองรายย่อย มีข้อสังเกตว่า ด้วยข้อจำกัดของการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่า การแข่งขันและความอยู่รอดของธุรกิจ ตลอดจนข้อจำกัดของประสิทธิภาพการควบคุมและพิสูจน์ที่มาของสัตว์ป่า ทำให้การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าดังกล่าวอาจไม่สามารถอ้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ป่าในธรรมชาติให้อยู่รอดได้ แต่ในทางตรงข้าม กระตุ้นการนำสัตว์ป่าจากธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์อย่างหนักส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าในธรรมชาติมากขึ้น

ในขณะเดียวกันก็มีข้อสังเกตที่น่าเป็นห่วงด้วยว่า ขณะที่การบังคับใช้กฎหมายและโครงสร้างการบริหารจัดการที่มีอยู่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในปัจจุบัน ยังไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะคุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แก้ไขช่องโหว่และป้องกันการลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่าได้ แต่การขาดความตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่าต่อระบบนิเวศตลอดจนค่านิยมที่มุ่งเน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติตอบสนองแต่ทางด้านเศรษฐกิจของคนทั่วไปและผู้กำหนดนโยบาย กำลังมีส่วนผลักดันส่งเสริมให้เกิดนโยบาย โครงการและการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่อาศัยของสัตว์ป่าและใช้ประโยชน์สัตว์ป่าในลักษณะที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการอนุรักษ์สัตว์ป่า ปรากฏการณ์และข้อสังเกตดังกล่าวนำมาสู่ข้อเสนอให้เร่งศึกษาสถานะ การปราศจากสัตว์ป่าที่สำคัญในพื้นที่ธรรมชาติของไทยเพื่อหาทางป้องกันและฟื้นฟู ศึกษาปัญหาและผลกระทบของการค้าสัตว์ป่าเพื่อหามาตรการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กำหนดรายละเอียดมาตรฐานและมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์สัตว์ป่า และในทิศทางที่เกิดประโยชน์ต่อสัตว์ป่าในถิ่นกำเนิดอย่างแท้จริง ให้ความรู้และกระตุ้นจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง ตลอดจนขยายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการป้องกันการค้าสัตว์ป่าที่ส่งผลกระทบ การคุกคามสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การติดตามควบคุมการดำเนินงานตามมาตรฐานของสวนสัตว์และผู้ครอบครองรายย่อย และการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์สัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าให้เกิดความยั่งยืน

ผลการศึกษา

 

การศึกษาเรื่อง “บทบาทและหน้าที่ของผู้นำการอนุรักษ์สัตว์ป่า”  เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการศึกษาวิจัย เอกสารทางราชการ ตัวบทกฎหมาย ทฤษฎีแนวความคิด ผลการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าของไทยและต่างประเทศ อำนาจหน้าที่บทบาทของเจ้าหน้าที่ และข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะศึกษาถึงสถานการณ์และแนวโน้มในปัจจุบันด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าจากสื่อด้านต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต วารสารต่างๆ เป็นต้น

การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ บทบาทและคุณสมบัติของผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่เหมาะสมในสถานการณ์การอนุรักษ์สัตว์ป่าปัจจุบัน ประกอบด้วย

1. สถานการณ์สัตว์ป่าไทย

2. ความรู้ทางวิชาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและถิ่นอาศัย

3. การทำหน้าที่ของผู้นำด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า

4.  เปรียบเทียบผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าของไทยและต่างประเทศ

 

4.1 ศึกษาสถานการณ์สัตว์ป่าไทย

 

4.1.1 สถานการ์การอนุรักษ์สัตว์ป่าของไทย

การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย มีการดำเนินการมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ที่มีการจัดตั้งเขตไว้เป็นที่ล่าสัตว์ของเจ้านายและขุนนางชั้นสูง ทำให้การล่าในพื้นที่ดังกล่าวลดความรุนแรงลง ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่น ที่ราษฎรมีความอิสระในการล่าสัตว์ป่าที่มีอยู่อย่างชุกชุม การควบคุมการล่าเริ่มเป็นรูปธรรมตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่พระองค์ทรงโปรดการล่าช้างโดยเฉพาะในพื้นที่รอบเมืองลพบุรี (ละโว้) จึงได้ทรงออกกฎในการล่าช้างขึ้นบังคับใช้ ในรัชสมัยของพระองค์มีการบันทึกว่าในพระนครมีช้างอาศัยอยู่ถึง 20,000 เชือก หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ขึ้นบังคับใช้ เนื่องจากการลดจำนวนของช้างลงในทุกหัวเมือง กฎหมายฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมการจับช้าง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2464 ขึ้นทดแทนของเดิม โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวในปี พ.ศ. 2503 และในปีเดียวกันนี้ได้มีการตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากชนิดยิ่งขึ้น กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้มาเป็นเวลา 31 ปี จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในปี พ.ศ. 2535 โดยได้เพิ่มสาระสำคัญทางด้านการเพาะเลี้ยงและการสวนสัตว์สาธารณะ

ในส่วนของการจัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับสัตว์ป่านั้น ก่อกำเนิดขึ่นหลังจากที่มีการตั้งกรมป่าไม้ 56 ปี คือในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยโอนกรมป่าไม้ไปสังกัดกระทรวงเกษตร และได้เพิ่มแผนกพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ขึ้นในกองค้นคว้า มีหน้าที่สำรวจ วิจัยตัวอย่างสัตว์ป่าตลอดทั้งแมลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับป่าไม้เป็นหลัก

ในปีพ.ศ. 2504 ได้มีการจัดตั้งหมวดคุ้มครองสัตว์ป่า สังกัดกองบำรุง ขึ้นมารองรับภารกิจตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ในการปรับปรุงระบบบริหารราชการตามคำสั่งคณะปฎิวัติฉบับที่ 282 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 หมวดคุ้มครองสัตว์ป่า ยังสังกัดกองบำรุงอยู่เหมือนเดิม หลังจากนั้นอีก 3 ปี ได้มีการแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ใหม่ โดยได้มีการเพิ่มกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ขึ้นมารับผิดชอบภารกิจด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยตรง หลังจากนั้นเป็นต้นมา องค์กรที่รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้เติมโตขึ้นตามลำดับ จนปี พ.ศ. 2545 จึงยกฐานะเป็นสำนักอนุรักษ์ป่า ในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามราชการบริหารแผ่นดินในปัจจุบัน

ในส่วนของสงวนพื้นที่ไว้สำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยตรงนั้น ได้มีการจัดตั้งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นเป็นแห่งแรกหลังจากที่มีกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นมา 5 ปี คือใน ปีพ.ศ. 2508 ได้มีการประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระขึ้นเป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศตั้งเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ขึ้นเป็นแห่งแรก การเพิ่มขึ้นของการประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแสดงไว้ในรูปที่ 3 ซึ่งในปี พ.ศ. 2538-2545 เป็นช่วงที่มีการประกาศพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพิ่มมากที่สุด ในขณะที่ ระหว่างปี พ.ศ. 2526-2532 เป็นช่วงที่มีการประกาศพื้นที่ป่าเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามากที่สุด ปัจจุบันมีพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว จำนวน 21,780,497 ไร่ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2,782,357 ไร่ นอกเหนือจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าเกิดขึ้นด้วย

การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยนั้นได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 หลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยได้มีการกันพื้นที่ไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ทั้งในรูปแบบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้วประมาณ 25 ล้านไร่ นอกจากนี้ได้มีการกำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เป็นการช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับการประกาศนี้ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า โดยมีพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้วประมาณ 43 ล้านไร่ ในปัจจุบัน แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองใช้หลักการจัดการเป็นพื้นที่ หรือการจัดการเป็นระบบนิเวศ (Ecosystem Management) ซึ่งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

นอกจากประเทศไทยจะได้มีการอนุรักษ์พื้นที่ไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และมีมาตรการควบคุมการล่าสัตว์ป่าแล้วยังได้ให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ด้วยการเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ที่เป็นความร่วมมือของสมาชิกในการที่จะร่วมกันควบคุมและป้องกันการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุสัญญา RAMSAR ว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในการอนุรักษ์ชนิดและชนิดถิ่นที่อยู่อาศัยและสัตว์ป่าเหล่านั้น

4.1.2 สถานการณ์พื้นที่อนุรักษ์

พื้นที่อนุรักษ์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชรับผิดชอบบริหารจัดการจะจัดตั้งดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 103,809.82 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลปี พ.ศ. 2553) หรือคิดเป็นเนื้อที่ 65,081,113.65 ไร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเนื้อที่ประเทศไทยทั้งหมด  513,115 ตารางกิโลเมตรแล้ว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บริหารจัดการพื้นที่ถึง ร้อยละ 22.23 ของประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่จำนวนมาก และเมื่อนำมาเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อพื้นที่ป่ากับอัตรากำลังของบุคลากรทั้งหมด จำนวน 19,698 คนซึ่งแยกเป็นข้าราชการ 3,568 คน ลูกจ้างประจำ  3,782 คน และพนักงานราชการ 12,348 คน(ข้อมูลปี พ.ศ. 2553) พบว่า บุคลากรทุกประเภท 1 คน ต้องดูแลรับผิดชอบพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน  33,039.46 ไร่ ซึ่งเป็นสัดส่วนความรับผิดชอบที่สูง จากผลการสำรวจการถือครองพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ ในช่วงปีงบประมาณ  2541 –2543 สรุปได้ดังนี้ป่าสงวนแห่งชาติ    มีราษฎรถือครอง 336,824 รายเนื้อที่ 5,789,527 ไร่ ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย มีราษฎรถือครอง 83,741 ราย เนื้อที่ 1,595,601 ไร่ การบุกรุกถือครองพื้นที่อนุรักษ์เป็นปัญหาหลักในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ยั่งยืน เพราะการบุกรุกครอบครองที่ดินป่าไม้เพื่อตั้งชุมชน และทำการเกษตรกรรมเป็นการทำลายพื้นที่อนุรักษ์โดยสิ้นเชิง นอกจากนี้แล้วพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ยังคงมีอยู่ก็อยู่ในสถานการณ์ที่ถูกคุกคาม   ทรัพยากรกายภาพและชีวภาพเสื่อมโทรมและลดน้อยลง ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์การบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ว่าจะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น หากจะนำเอาการกระทำผิดด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในรูปแบบ
อื่น ๆ มาวิเคราะห์ยิ่งจะเห็นสถานการณ์ด้านพื้นที่ป่าอนุรักษ์ว่าจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างขนานใหญ่และแน่นอนที่สุดส่วนหนึ่งจะอยู่ที่การปรับปรุง  ประสิทธิภาพการลาดตระเวนพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นภารกิจที่เป็นหน้าด่านในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์

 

4.1.3 สถานการณ์สัตว์ป่าไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจทำให้ทราบว่ามีจำนวนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย 285 ชนิด ในส่วนของสัตว์ปีกมีการสำรวจพบนก 938 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานจำนวน 313 ชนิด และจำนวนที่พบมากที่สุดคือ งู ถึงร้อยละ 53.7 รองลงมาได้แก่ กลุ่มของตุ๊กแก จิ้งเหลนพบร้อยละ 34.5 ส่วนเต่าพบ 27 ชนิด จากจำนวนที่มีอยู่ในโลก 257 ชนิด จำแนกเป็นเต่าบก 3 ชนิด เต่าปูลู 1 ชนิด เต่าน้ำจืด 13 ชนิด ตะพาบ 5 ชนิด เต่าทะเล 4 ชนิด และเต่ามะเฟือง 1 ชนิด จำนวนชนิดพันธุ์ที่พบน้อยที่สุด คือ จระเข้พบ 3 ชนิด

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบมากที่สุดประเทศไทย คือ ค้างคาว คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาคือสัตว์แทะ (Rodentia) คิดเป็นร้อยละ 25 สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ลดจำนวนลงจนคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วน่าจะมีจำนวน 4 ชนิด และนกอีก 9 ชนิด คือ นกช้อนหอยใหญ่ นกกระสาปากเหลือง นกกระเรียนและนกพงหญ้า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ สมัน ซึ่งถูกล่าจนสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เมื่อ 30 ปีมาแล้ว นอกจากนี้จระเข้ปากกระทุงเหว ก็ไม่พบในสภาพธรรมชาติอีกต่อไป ปลาน้ำจืดอีก 5 ชนิด ได้สูญพันธุ์ไป ได้แก่ ปลาหางไหม้ ปลาหวีเกศ ปลาโจกหรือปลาไส้ตัน ส่วนอีกสองชนิดไม่มีชื่อสามัญคือ Longiculturecaihi และ Oxygaster willaminae ปลาน้ำจืดที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์มีประมาณ 30 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกจับเพื่อเป็นอาหาร เช่นปลากระโห้ ปลาตะลุมพุก ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลาเกด ส่วนปลาที่ถูกจัดเป็นปลาสวยงาม ได้แก่ ปลาหมูอารีย์ ปลาปักเป้าทอง ปลาเสือตอ ปลาตองลาย ปลาสะพัด เป็นต้น ส่วนพะยูน ฝูงสุดท้ายของประเทศไทย ปัจจุบันพบเฉพาะบริเวณหาดเจ้าไหม และเกาะลิบง จังหวัดตรัง

                สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้มีการสำรวจพบ 106 ชนิดโดยพบว่าเป็นพวกกบ เขียด ร้อยละ 94.4 ชนิดที่สำรวจพบน้อยที่สุด คือ กระท่างหรือจักกิ้มน้ำ พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย อาศัยอยู่ตามลำธารบนยอดเขาสูงในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

                สัตว์จำพวกปลา ในประเทศไทยพบปลาน้ำจืดประมาณ 552 ชนิด ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยพบ 1,160 ชนิด ปลาน้ำลึก 30 ชนิด ปลาที่พบทั้งหมดแยกเป้นปลากระดูกอ่อน 78 ชนิด ปลากระดูกแข็ง 1,664 ชนิด สำหรับสัตว์อื่นที่อาศัยอยู่ในทะเล พบแมงดาทะเล 2 ชนิด จากที่พบในโลก 4 ชนิด ซึ่งได้แก่แมงดาจานและแมงดาถ้วย กุ้งทะเล ในอ่าวไทยพบ 183 ชนิด หอยทะเล 1,016 ชนิด แบ่งเป็นหอยฝาเดียว 643 ชนิด และหอยสองฝา 382 ชนิด สำหรับหมึกพบในอ่าวไทย มี 28 ชนิด เป้นหมึกกล้วย 11 นิด หมึกกระดอง 7 ชนิด หมึกสาย 5 ชนิดและหมึกกระตูน 5 ชนิด

ส่วนแมลงในประเทศไทยซึ่งมีมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะแมลงปีกแข็งและผีเสื้อกลางคืนสำหรับคนไทยยังรู้จักแมลงน้อยมาก เมื่อเทียบกับแมลงทั้งหมดในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยมีสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง 109 ชนิด ได้รับการขึ้นบัญชีว่าใกล้สูญพันธุ์และมากกว่าครึ่งหนึ่งของชนิดพันธุ์ของสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในป่า มีสัตว์ที่ถูกคุกคามใกล้สูญพันธุ์และมากกว่าครึ่งหนึ่งของชนิดพันธุ์สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในป่า มีสัตว์ที่ถูกคุกคามใกล้สูญพันธุ์เป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงลูกด้วยนม 79 ชนิด (ประมาณ 1 ใน 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย) นก 126 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 40 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 26 ชนิด ซึ่งหากปราศจากการป้องกันพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยุ่และพื้นที่วิกฤติอื่นๆ อย่างจริงจังแล้ว แนวโน้มว่าสิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันอันใกล้นี้ มีสาเหตุจาก

1)            การลดลงหรือสูญพันธุ์ไปตามธรรมชาติ (แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม ไฟป่า)

2)            การลดลงหรือสูญพันธุ์จากการล่าโดยตรง

3)            การลดลงหรือสูญพันธุ์จากการทำลายที่อยู่อาศัย (เช่น การทำลายป่า)

4)            การลดลงหรือสูญพันธุ์จากสารพิษ(สารเคมี ยาฆ่าแมลง)

5)            การลดลงหรือสูญพันธุ์จากนำสัตว์ต่างถิ่นเข้าพื้นที่ (การแก่งแย่ง โรคระบาด)

4.1.4 แนวโน้มการวิจัยและการอนุรักษ์สัตว์ป่าในอนาคต

                หลังจากมีการปฎิรูปและยกระดับหน่วยงานที่ดูแลและรักษาป่าอนุรักษ์และสัตว์ป่าเป็นระดับกรมคือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำให้ต้องการความชัดเจนในเรื่องงานวิชาการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น ทำให้แนวโน้มของงานด้านงานวิจัยและการอนุรักษ์สัตว์ป่าในอนาคตมมีทิศทางที่น่าจับตามอง เช่น

4.1.4.1        การขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านงานอนุรักษ์สัตว์ป่าระหว่างกรมอุทยาน

แห่งชาติฯ และสถาบันการศึกษาหลักของประเทศที่มีนักวิจัยสัตว์ป่ากระจายอยู่ รวมถึงการขยายเครือข่ายงานวิจัยด้านสัตว์ป่าและอนุรักษ์สัตว์ป่าร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในและต่างประเทศ

4.1.4.2 ความพยายามผลักดันให้การจัดการและการอนุรักษ์อยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยตามหลักการและทฤษฎีด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการในปัจจุบันซึ่งดำเนินมาบนพื้นฐานของกฎหมาย และระเบียบต่างๆ หรือการตัดสินใจไปตามกระแสความบีบคั้นจากการใช้ประโยชน์สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยในรูปแบบต่างๆ หากผลักดันสำเร็จจะส่งผลถึงความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์ป่าและทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยและอนุรักษ์สัตว์ป่าในอนาคต

4.1.4.2         การเน้นให้เกิดงานวิจัยเพื่อการพื้นฟูประชากรสัตว์ป่าที่หายาก หรือถิ่นอาศัยที่ถูกเปลี่ยนสภาพ เนื่องจากสัตว์ป่าหลายชนิดตกอยู่ภาวะใกล้สูญพันธุ์ไปจากหลายพื้นที่ หรือถิ่นอาศัยถูกเปลี่ยนสภาพทรุดโทรม การฟื้นฟูต้องดำเนินการตามหลักวิชาการโดยการติดตามผลตามหลักวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนของการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่ดำเนินการอยู่ และมีงานวิจัยเพื่อเตรียมสัตว์ป่าที่เพาะได้ในกรงเลี้ยงบางชนิดกลับคืนสู่สภาพธรรมชาติ และในบางพื้นที่ที่สถานการณ์เอื้ออำนวย ควนเปิดกาสให้ชุมชนในพื้นที่ได้มีโอกาสร่วมด้วย

4.1.4.3         การส่งเสริมให้มีงานวิจัยด้านสัตว์ป่าที่เสริมคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 แนวทางคือ

1)            สัตว์ป่า กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นแนวทางที่สมควรได้รับพิจารณาสนับสนุนให้

เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เพราะโดยปกติแล้วสัตว์ป่าจะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้กับนักท่องเที่ยวให้เข้าไปสัมผัสธรรมชาติ หากมีการจัดการที่ดีจะทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมหลากหลายประการ เช่น พัฒนานิสัยนักท่องเที่ยวไทยให้เพิ่มความตระหนักต่อการที่ต้องรักษาสัตว์ป่า และระบบนิเวศ สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างชัดเจน ทำให้ลดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยตรงของชุมชนท้องถิ่นโดยรอบและภายในพื้นที่อนุรักษ์

2)            สัตว์ป่า กับการเพาะเลี้ยงเชิงพานิชย์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่กำลังถูกผลักดันให้เกิดขึ้นโดย

รัฐบาลนี้ โดยได้มีการกำหนดชนิดสัตว์ป่าที่ให้เพาะเลี้ยงได้ เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง หรือเพื่อขายเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสำหรับสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เสือ หมี ได้รับการต่อต้านจากองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่านานาประเทศ เนื่องจากหลายคนเชื่อว่าแนวทางนี้จะเป็นกลจักรสำคัญที่ทำให้สัตว์ป่าในธรรมชาติสูญพันธุ์เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากการล่าสัตว์เป็นการลงทุนที่ถูกมากเมื่อเทียบกับการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า

3)            การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอีกมิติหนึ่ง คือการวิจัยเพิ่มพูลประชากรสัตว์ป่าบางชนิด

นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติบางแห่ง จนถึงระดับการอนุญาตให้มีการใช้ประโยน์สัตว์ป่าบางชนิดในธรรมชาติโดยตรงได้ โดยเน้นที่ความต้องการพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์โดยตรงจากสัตว์ป่าเป็นหลักแต่ต้องมีระบบการควบคุมการใช้ประโยน์อย่างรัดกุมและมีข้อมูลด้านประชากรที่ทันสมัยเพื่อปรับอัตราการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและสัตว์ป่าไม่สูญไปจากพื้นที่

4.2 ความรู้ทางวิชาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและถิ่นอาศัย

 

4.2.1 การจัดการพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่า

การจัดการพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าที่รอบคอบจะช่วยเพิ่มโอกาสของการมีชีวิตรอดของสัตว์ป่า และช่วยอนุรักษ์สัตว์ป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งกิจกรรมพื้นฐานการจัดการสัตว์ป่าตามหลักวิชาการ มีดังนี้

4.2.1.1 การจัดลำดับความสำคัญในการจัดการโดยมุ่งหรือเน้นไปที่สิ่งใด (เช่น

ถิ่นอาศัย สัตว์ป่า หรือความสัมพันธ์กับประชาชน) จุดมุ่งหมายของพื้นที่คุ้มครองคืออะไร (เช่นสัตว์ป่าหรือประชาชน) ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกับทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน หัวข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวถึง เพราะหลายคนที่ทำงานเกี่ยวกับการป้องกันพื้นที่คุ้มครองเชื่อว่าสามารถทำให้เกิดได้ทั้งสองทาง

4.2.1.2 กิจกรรมในการจัดการ ขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญ ที่ได้ทำการจัด

เอาไว้แล้ว มีความจำเป็นต้องกระตุ้นในเรื่องเหล่านี้หรือไม่ อาทิ การคุ้มครองป้องกัน การวิจัย การศึกษา การก่อสร้างสะพานการสร้างทางเดินเท้า การประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1)  กิจกรรมการจัดการสำหรับสัตว์ป่า

1.1)  การเพิ่มผลผลิตของอาหารที่มีตามธรรมชาติ

กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงการเพิ่มจำนวนอาหารที่มีอยู่สำหรับสัตว์ป่าบางชนิด ตัวอย่างเช่น การเผาที่มีการควบคุมสำหรับการเกิดหญ้าหรือไม้ระบัดซึ่งเป็นอาหารของสัตว์กินพืช และการปลูกไม้ผลสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินผลไม้และนกชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามระลึกไว้เสมอว่าการกระทำนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ดังนั้นสิ่งนี้อาจจะเป็นผลดีสำหรับสัตว์ป่าบางชนิด แต่อาจจะให้ผลกระทบในทางตรงกันข้ามกันกับสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ กิจกรรมเหล่านี้ควรกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง

1.2)  การปรับปรุงถิ่นอาศัย

กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงการสร้างสภาพของถิ่นอาศัยให้เหมาะสมกับสัตว์ป่าชนิดใดชนิดหนึ่งท่านสามารถสร้างพื้นที่สำคัญต่างๆ สำหรับสัตว์บางชนิดได้ เช่น แหล่งน้ำ โป่ง รวมถึงการสร้างกล่องหรือแท่นสำหรับทำรัง เพื่อช่วยในกิจกรรมการผสมพันธุ์ของนกบางชนิดได้ ท่านสามารถควบคุมไฟป่าเพื่อเป็นการป้องกันนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินและสัตว์เลื้อยคลาน หรือสร้างบ่อน้ำขนาดเล็ก พื้นที่ที่เป็นแหล่งเก็บน้ำ สำหรับเป็นถิ่นอาศัยเพิ่มเติมสำหรับปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทิ้นบกชนิดต่างๆ

2)  กิจกรรมสำหรับประชาชน

รวมถึงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์มากขึ้น แต่ไม่ก่อให้เกิดการรบกวนระหว่างประชาชนกับสัตว์ป่า ตัวอย่างเช่น

2.1) การสร้างที่กำบังหรือแหล่งพรางตา เพื่อใช้เฝ้าดูสัตว์

2.2) ระบบทางเดินเท้าเข้าสู่พื้นที่คุ้มครองที่ดี

2.3) ป้ายที่แสดงความหมายชัดเจนเพื่อให้การศึกษาแก่สาธารณะชน

2.4) ศูนย์ธรรมชาติหรือการแสดงสำหรับการพักผ่อนและการศึกษาของประชาชน

2.5) จำกัดให้ประชาชนอยู่แต่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนทราบถึงเขตพื้นที่ที่สามารถเข้าไปได้ และสัตว์ป่ารู้ว่าสามารถที่จะหลีกหนีไปยังที่ปลอดภัยได้ที่ไหน

2.6) จำกัดจำนวนและขนาดของกลุ่มผู้มาเที่ยวที่จะเข้าสู่พื้นที่พิเศษ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมไว้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่งดงามนั้น

2.7) อนุญาตให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมเข้าในพื้นที่กับคนนำทางที่ได้รับการฝึกฝนแล้วเท่านั้นเพื่อที่สัตว์จะได้ไม่ถูกขับไล่หรือถูกรังควาน และเพื่อไม่ให้มีการทิ้งขยะในป่า

2.8) ไม่อนุญาตให้นำสุนัข ปืน วิทยุ หรือทำเสียงดังในขณะที่อยู่ในพื้นที่คุ้มครอง

4.2.1.3 การแบ่งเขตการจัดการ พื้นที่ควรได้รับการจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อ

สนองความต้องการของสัตว์ป่า ในขณะที่พื้นที่ได้ถูกจัดทำให้เหมาะสมกับกิจกรรมของประชาชนหรือไม่ ท่านอาจต้องพิจารณาส่วนต่างๆ ต่อไปนี้

1) พื้นที่ใจกลาง (Core Zone) สำหรับสัตว์ป่า

2) ส่วนพื้นที่ที่ได้รับการจัดการเป็นพิเศษสำหรับการพักผ่อน การศึกษา และการวิจัย

3) แนวกันชนเพื่อการใช้ประโยชน์ทั่วไป ในบริเวณรอบเขตพื้นที่คุ้มครอง

เมื่อไม่แน่ใจว่าความต้องการของสัตว์ป่าได้รับการสนองตอบ และสัตว์ป่าได้รับการคุ้มครองแล้ว การปฏิบัติใดๆ ที่กระทำก็ควรให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนที่อยู่รอบๆ พื้นที่มากเท่าที่จะทำได้

4.2.1.4 การจัดการที่พิจารณาเป็นพิเศษ พื้นที่คุ้มครองหลายแห่งมีปัญหาหรือกรณี

เฉพาะในพื้นที่คุ้มครองหรือภูมิภาคนั้น แต่ไม่มีระเบียบการจัดการที่เฉพาะเจาะจงลงไป เหตุการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องดำเนินการไปตามแต่กรณี และอาจจะมีผลบังคับให้การปฏิบัติการเป็นไปในรูปแบบใหม่และอาจเป็นข้อโต้แย้งได้สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงมือการปฏิบัติการใดๆ คือข้อมูลที่ได้รับการภาคสนามซึ่งการปฏิบัติการนั้นๆ จะช่วยสางเสริมความอุดมสมบูรณ์และการมีชีวิตรอดของสัตว์ป่า ตัวอย่างหนึ่งเช่นเรื่องของไฟป่าซึ่งเกิดขึ้นตามปกติในป่าผลัดใบ ในขณะที่บางคนกล่าวว่าไฟป่าเป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์บางชนิด อีกกลุ่มหนึ่งแย้งว่าไฟป่านี้ส่งผลกระทบในทางตรงกันข้ามต่อสัตว์ป่าหลายชนิด และเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของชุมชนพืชและสัตว์

ตัวอย่างของเรื่อง “พิเศษ” อื่นๆ เช่น การปล่อยให้ฝูงสัตว์เลี้ยงเข้าหากินในเขตพื้นที่คุ้มครอง การที่ไร่สวนถูกทำลายจากสัตว์ป่าในพื้นที่ และปัญหาของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครอง หากเรื่องเหล่านี้ไม่ได้กล่าวถึงเสียแต่ต้นๆ ก็จะนำไปสู่ภาวะของการจัดการแบบเฉพาะหน้า การปฏิบัติการที่ถูกบังคับให้ทำโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเป็นผลของภาวะวิกฤต ซึ่งเกือบจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครอง

4.2.1.5 แผนการจัดการ พื้นที่คุ้มครองทุกแห่งควรมีแผนการจัดการของตัวเอง การ

เขียนแผนการจัดการ และการสนับสนุนแผนการนั้นๆ ควรตรวจดูโดยเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ขั้นตอนในการเขียนแผนการจัดการได้กล่าวไว้ในตอนต้นและสามารถนำมาทบทวนได้ถ้าจำเป็น

4.2.1.6 การปรับปรุงแผนที่ของพื้นที่คุ้มครองให้ทันสมัย บุคคลที่ทำหน้าที่จัดการ

พื้นที่คุ้มครองจำเป็นต้องการตรวจสอบและติดตามแผนที่ของพื้นที่ตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ แผนที่ภูมิประเทศที่มีมาตราส่วนขนาดใหญ่ (1:50,000) สามารถใช้แสดงกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น การตัดไม้หรือบุกรุกพื้นที่ ถนนและทางเดินเท้าที่ไม่ได้มีปรากฏบนแผนที่หรือพื้นที่ที่สำคัญ เช่น บ่อน้ำ แหล่งน้ำซึม น้ำพุ และโป่ง แผนที่ยังสามารถใช้เป็นตัวชี้ถึงตำแหน่งที่พบเห็นสัตว์ป่า และการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของการกระยายของสัตว์ป่า

4.2.1.7 การปรับปรุงข้อมูลการประเมินผลกระทบรอบพื้นที่คุ้มครอง ส่วนเพิ่มเติม

ในการติดตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่คุ้มครอง เช่น การจดบันทึก การถ่ายภาพเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ เช่นการก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ การถางพื้นที่ และการละทิ้งหมู่บ้าน จะช่วยให้ท่านคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถที่จะลงมือแก้ไขปัญหาได้

4.2.2 การป้องกันพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่า

เมื่อพื้นที่แห่งหนึ่งได้รับการคุ้มครองบนแผ่นกระดาษ งานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสัตว์ป่าพึ่งจะเริ่มต้น ในบางครั้งการผลักดันให้พื้นที่ให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนั้นง่ายกว่าที่จะปกป้องคุ้มครองพื้นที่นั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย เป็นการแสดงให้เห็นว่าเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานภาคสนามและเจ้าหน้าที่ระดับบริหารจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน ปัจจัยเช่นกำลังคนและงบประมาณมักจะขาดแคลนในกรมสัตว์ป่าทุกแห่งในโลก แต่สิ่งนี้ไม่ควรเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติสิ่งใด ในขณะที่ท่านไม่สามารถปฏิบัติงานการป้องกันสัตว์ป่าและการจัดการตามวิธีที่ท่านต้องการ ก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำได้ด้วยทรัพยากรที่ท่านสามารถหาได้

4.2.2.1 การป้องกันพื้นที่คุ้มครองโดยการใช้กำลังคน

                1) การลาดตระเวน วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไปที่เจ้าหน้าที่ด้านสัตว์ป่าใช้ในการป้องกัน โดยผลที่ได้จากการลาดตระเวนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในบางครั้งระบบกฎหมายของประเทศที่เป็นส่วนที่มัดมือเจ้าหน้าที่ของกรมสัตว์ป่า หรือระบบการพิพากษาตัดสินลงโทษ แก่ผู้ที่ละเมิดกฎการคุ้มครองสัตว์ป่าเบาเกินไป เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องถิ่นให้ความร่วมมือต่อการพยายามป้องกันสัตว์ป่าให้เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ หรือในบางครั้งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารก็มิได้ใช้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเจ้าหน้าที่เหล่านั้นไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเหมาะสม

สำหรับการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย จากตำรวจในท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่จากกองทัพหรือไม่

เจ้าหน้าที่ด้านสัตว์ป่าควรลาดตระเวนทั้งในพื้นที่และรอบของพื้นที่คุ้มครอง และควรทำบ่อยครั้ง แต่ควรเปลี่ยนช่วงเวลาลาดตระเวนอยู่เสมอๆ เพื่อที่คนในท้องถิ่นไม่สามารถคาดเดาได้ การลาดตระเวนควรทำบ่อยครั้งที่สุดในช่วงเวลาที่พื้นที่คุ้มครองง่ายต่อการถูกลบกวน เช่น ในพื้นที่ที่มีทางเข้าออก และในช่วงที่เป็นวันหยุดพักผ่อน

ในขณะลาดตระเวนเจ้าหน้าที่ควรเก็บและบันทึกข้อมูลที่สำคัญต่อการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ การเก็บและจดบันทึกข้อมูลเหล่านนั้นรวมไปถึงการสังเกต หรือการถ่ายรูปการตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง หลักฐานการล่าสัตว์ การรบกวนหรือการบุรุกเข้าพื้นที่ของประชาชน เจ้าหน้าที่ระดับบริหารควรได้รับรายงานเป็นประจำจากในภาคสนาม และควรให้มีการสอบถามในสิ่งต่อไปนี้ เช่น การตรวจดูแนวเขตสำหรับการบุกรุกพื้นที่ การตรวจใบอนุญาตล่าสัตว์สำหรับนักล่าสัตว์ ประชาชนที่มีสัตว์ป่าไว้ในครอบครองและตารางเวลาของการลาดตระเวน

เจ้าหน้าที่ระดับบริหารที่จะต้องออกแบบและกระจายรูปแบบของการลาดตระเวนอย่างเหมาะสม และการตรวจสอบว่ามีการออกลาดตระเวนและปฏิบัติตามแผนจริง นอกจากนี้ยังต้องมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเหมาะสม เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างแข็งขันก็สมควรที่จะได้รับรางวัล

2) การใช้กำลังคนในท้องถิ่น เมื่อมีโอกาสควรจะจ้างคนในท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของกำลังคนของกรมสัตว์ป่า การที่คนในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์บางประการจากพื้นที่คุ้มครองเป็นสำคัญ เมื่อคนในท้องถิ่นตระหนักว่าเขาได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าเนื่องมาจากสถานภาพของเขาเขาจะเริ่มให้ความสำคัญต่อพื้นที่คุ้มครองเสมือนว่าเป็น “ของเขา” และจะปฏิบัติเสมือนว่าเป็นเจ้าของซึ่งเป็นผลประโยชน์ต่อพื้นที่คุ้มครองนั้น ในบางประเทศมีระบบของการแต่งตั้งผู้พิทักษ์หรือผู้พิทักษ์สัตว์ป่าสำหรับประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งบางคนยังไม่มีคุณสมบัติพอที่จะเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์ป่าของรัฐบาล หรือเมื่องบประมาณจำกัดและไม่สามารถจ้างเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นก็ตาม แต่ระบบนี้ก็สามารถเป็นประโยชน์ในการยกฐานะของคนในท้องถิ่นบางคนและจะได้รับการสนับสนุนจากพวกเขา

3) การตั้งหน่วยพิทักษ์ป่า หน่วยพิทักษ์ป่าสามารถเป็นตัวยับยั้งการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างได้ผล แม้ว่าหน่วยฯ นั้นไม่ได้มีคนประจำอยู่ตลอดเวลา หน่วยพิทักษ์ป่าอาจเป็นแบบโครงสร้างที่ราคาไม่แพงและง่ายซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มงวดในการคุ้มครองป้องกันพื้นที่ และเป็นเครื่องเตือนประชาชนในท้องถิ่นว่าพื้นที่นั้นได้รับการเฝ้าดูแล ควรมีการตรวจดูสถานีป้องกันเหล่านี้บ่อยๆ แต่ไม่สม่ำเสมอ เพื่อที่นักล่าสัตว์จะได้ไม่แน่ใจว่าเมื่อใดที่เจ้าหน้าที่จะอยู่เฝ้า โปรดจำไว้ว่าในขณะที่หน่วยพิทักษ์ป่าเหล่านั้นเป็นประโยชน์ในการเป็นด่านตรวจสำหรับการลาดตระเวน หน่วยพิทักษ์ป่าเหล่านั้นก็สามารถเป็นประโยชน์ในการเป็นค่ายพักแรมให้แก่นักล่าสัตว์ได้ด้วย แต่หากไม่มีงบประมาณในการจัดตั้งหน่วยฯ ในบางครั้งด่านก็เป็นเพียงวิธีเดียวที่ควบคุมทางเข้าออกในพื้นที่คุ้มครอง ด่านอาจจะมีได้หลายรูปแบบ เช่น กั้นทางลากไม้เก่าด้วยต้นไม้ล้ม ทำลายสะพานเก่าๆ ทำรั้วกันล้อมรอบพื้นที่คุ้มครองทั้งหมด ในบางครั้งการสร้างด่านจะส่งผลเสียในการเคลื่อนที่โดยอิสระของสัตว์ป่า หรือตัดหนทางสัตว์สู่ถิ่นอาศัยที่สำคัญ เช่น แหล่งน้ำ หรือโป่ง ควรทำการวิจัยก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่จะกระทำภายในหรือรอบพื้นที่คุ้มครอง

4.2.2.2 การป้องกันพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าโดยไม่ใช้กำลังคน

การปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการปฏิบัติที่สามารถเพิ่มการคุ้มครองป้องกันให้กับพื้นที่ป่า ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าแล้วลดการคุกคามของการบุกรุกของประชาชน โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียเลย

1) การจัดตั้งแนวกันชน (Buffer Zone) ตามปกติพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของรัฐซึ่งอยู่แนวเขตของพื้นที่คุ้มครอง เป็นการออกแบบเพื่อสาธารณะประโยชน์ (เช่น เป็นวนอุทยานท้องถิ่นหรอแห่งชาติ ป่าสงวน พื้นที่เพื่อการพักผ่อน) พื้นที่เหล่านี้เป็นแนวกันชนสำหรับใจกลางของพื้นที่คุ้มครองที่เกิดจากการบุกรุก โดยเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งทรัพยากรต่างๆ ซึ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ภายนอกพื้นที่คุ้มครองมีความจำเป็น หรือต้องการใช้ประโยชน์ แนวกันชนนี้จะช่วยลดผลกระทบจากขอบ ที่บริเวณรอบพื้นที่คุ้มครอง ดังนั้นจึงเป็นการเพิ่มขนาดที่ใช้ประโยชน์ได้จริง (Effective Size) ของพื้นที่คุ้มครองนั้น แนวกันชนนี้ต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มิฉะนั้น จะไม่สามารถป้องกันใจกลางของพื้นที่คุ้มครองอีกต่อไป

2) ป่าชุมชน (Community Forests)

คือพื้นที่ป่าที่มอบให้กับประชาชนในท้องถิ่นเพื่อจะได้รับประโยชน์ เจตนาของป่าชุมชน คือลดความต้องการที่ตักตวงผลประโยชน์จากพื้นที่และเคลื่อนย้ายต่อไปในพื้นที่ใหม่ เมื่อตามปกติประชาชนไม่สามารถขายหรือถางพื้นที่นี้จนเตียนได้ ถ้าหากทำอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วประชาชนในท้องถิ่นควรที่จะสามารถใช้ทรัพยากรที่จำเป็นจากพื้นที่นี้ได้ เช่น ผลไม้สัตว์ป่าที่อนุญาตให้ล่า และไม้ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าคุ้มครอง อย่างไรก็ตามแผนการนี้จะต้องกระทำร่วมไปกับการให้การศึกษาและการเกษตร และจำเป็นต้องดูแลเพื่อให้แน่ใจว่ามีการดูแลรักษาพื้นที่ป่านั้นอย่างถูกต้องเหมาะสม ถ้าไม่อย่างนั้นพื้นที่ของป่าชุมชนก็ไม่สามารถหลีกพ้นการเสื่อมลง และประชาชนก็จะบุกรุกเข้าในพื้นที่คุ้มครองในที่สุด

3) การติดป้ายหรือเครื่องหมายและการกำหนดอาณาเขต

การที่จะหยุดบุคคลที่ต้องการล่าสัตว์ป่าหรือบุกรุกพื้นที่อย่างผิดกฎหมายมีหนทางไม่มาก อย่างไรก็ตามบางกรณีที่ประชาชนบุกรุกเข้าพื้นที่คุ้มครองโดยไม่เจตนา เนื่องจากไม่ทราบขอบเขตของพื้นที่คุ้มครอง อาณาเขตของพื้นที่คุ้มครองหลายแห่งได้รับการสำรวจเพียงคร่าวๆและเกือบตลอดความยาวของพื้นที่ไม่มีการกำหนดเครื่องหมายบอกเขตแดน ถ้าหากอาณาเขตของพื้นที่เหล่านั้นไม่ได้รับการติดป้ายบอกไว้อย่างชัดเจน ก็เป็นการยากในการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและระบบศาล

 

1)            ความสำพันธ์กับชุมชนท้องถิ่น

สิ่งนี้เป็นความรับผิดชอบที่สำคัญของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการด้านสัตว์ป่า แต่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่ และถูกมองไปในทางลบโดยประชาชนในท้องถิ่น ในขณะที่บางครั้งสิ่งนี้เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้ใช้เวลาอธิบาย ให้การศึกษา และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการจัดการสัตว์ป่า อาจทำให้ประชาชนมีทัศนะคติในทางที่ดีขึ้น เจ้าหน้าที่ระดับบริหารควรถามตัวเองว่า “ประชาชนในท้องถิ่นรอบพื้นที่คุ้มครองทราบหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่าทำอะไร” “การปรากฏของผู้พิทักษ์ป่าและเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์เผชิญหน้าหรือไม่” “มีการพยายามที่จะเข้าไปในหมู่บ้านในท้องถิ่นหรือเมืองเพื่อที่จะแสดงภายถ่ายสไลด์” “เปิดการอภิปรายในที่ประชุมและมีการแสดงนิทรรศการเช่นในวันสัตว์ป่าหรือไม่” ในการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ ในท้องถิ่นควรได้รับทราบแผนการและขั้นตอนการจัดการเพื่อที่เขาเหล่านนั้นจะได้ตระหนักถึงความยากลำบากที่เกี่ยวข้องและร่วมรับผิดชอบบางประการในความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการคุ้มครองป้องกันพื้นที่

4.2.3 งานวิจัยด้านสัตว์ป่า

งานวิจัยด้านสัตว์ป่าโดยเนื้อหาของงานหลักเป็นการศึกษาเพื่ออนุรักษ์ และจัดการประชากร และถิ่นอาศัยเฉพาะที่เฉพาะแห่ง และเป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาภาคสนามทั้งสิ้น เทคโนโลยีที่ใช้ศึกษาสัตว์ป่ามีหลากหลายเช่น เทคนิคการสำรวจ , การติดวิทยุติดตามตัวสัตว์ (Radio telemetry), Software เพื่อวิเคราะห์ประชากรสัตว์ป่า, การใช้เทคนิคกล้องดักถ่ายภาพ (Camera trapping), เครื่องบันทึกและวิเคราะห์เสียงสัตว์ และอื่นๆ

ปัจจุบันจากพัฒนาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่สามารถใช้ข้อมูลจากหลายๆปัจจัยวิเคราะห์ร่วมกันในเวลาเดียว หรือเปรียบเทียบข้อมูลต่างช่วงเวลา ซึ่งแสดงผลทั้งที่เป็นแผนที่ และตาราง ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้ในระยะเวลาอันสั้น และเห็นภาพหรือ Model ที่ ชัดเจน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการวิจัยด้านสัตว์ป่าเช่นกัน แต่เนื่องจากฐานข้อมูลหลักที่จะใช้วิเคราะห์ด้วยระบบ GIS มาจากข้อมูลด้านการสำรวจระยะไกลคือ ภาพดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศทำให้เหมาะกับการวิจัยในภาพกว้างระดับ Landscape หรือ Region ลักษณะงานวิจัยสัตว์ป่าโดยใช้ GIS ที่พบเห็นเช่น

การวิเคราะห์ความเข้มข้นของการกระจายของสัตว์ป่าในพื้นที่ หรือการวิเคราะห์ถิ่นอาศัยที่เหมาะสมของสัตว์ป่าในภาพกว้าง

การวิเคราะห์ GAP ANALYSIS เพื่อหาช่องว่างของพื้นที่ที่มีสัตว์ป่าชนิดนั้นๆอาศัยอยู่ แต่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองซึ่งข้อมูลในลักษณะภาพกว้างเช่นนั้น จะเพิ่มความแม่นยำและถูกต้องยิ่งขึ้น หากมีข้อมูลภาคสนามที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ในเรื่องการจัดการและอนุรักษ์ประชากรสัตว์ป่าชนิดใดชนิดหนึ่งหรือถิ่นอาศัยบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง งานวิจัยยังคงต้องใช้เทคนิคภาคสนามมที่มีความเข้มข้นในระดับที่ยอมรับได้เช่นเดิม

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสำหรับงานวิจัยสัตว์แล้ว เทคโนโลยีเป็นส่วนเสริมให้เกิดความรวดเร็วในการมองภาพกว้าง แต่เมื่อถึงการจัดการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ยังคงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการสำรวจสัตว์ป่าภาคสนามที่ต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการดำเนินงานตามคุณภาพของข้อมูลที่ผู้วิจัยตั้งไว้เช่นเดิม

4.2.4 การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าและการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่า

การอนุรักษ์สัตว์ป่า นอกจากจะอนุรักษ์สัตว์ป่าในถิ่นกำเนิดที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ (In situ  Conservation) แล้ว การนำสัตว์ป่ามาเพาะเลี้ยงนอกถิ่นกำเนิด (Ex-situ Conservation) ในสถานีเพาะเลี้ยงหรือสวนสัตว์ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์พันธุกรรมของสัตว์ป่าเหล่านั้นด้วย ในอดีตการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามีข้อจำกัดทางกฎหมาย โดยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ยังไม่ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้มีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2546 รวมทั้งภาคเอกชนเริ่มตื่นตัว ตลอดจนมีงานวิจัยสัตว์ป่าที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามีทิศทางและแนวโน้มที่ดีขึ้น

ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าขึ้นโดยได้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่ผิดกฏหมาย โดยหลังสิ้นสุดการแจ้งลงทะเบียนปรากฏว่ามีผู้แจ้งครอบครอง 127,478 ราย จำนวนสัตว์ป่า 1,722,128 ตัว ซึ่งสัตว์ป่าที่ประชาชนมาแจ้งลงทะเบียนไว้ รวมทั้งสัตว์ป่าที่ภาครัฐ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้เลี้ยงไว้ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าและที่สวนสัตว์ขององค์การสวนสัตว์ จะเป็นแหล่งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ของสัตว์ป่าที่จะนำไปพัฒนาและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจและนำไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าต่อไป

สำหรับเป้าหมายสำคัญเมื่อขยายพันธุ์สัตว์สำเร็จแล้ว คือ การคืนสัตว์นั้นสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นงานที่มีขั้นตอนละเอียดอ่อน เริ่มจากการฝึกให้สัตว์ ซึ่งอาจไม่คุ้นเคย ต้องต่อสู้เพื่อการเลี้ยงชีพตนเองในป่าปรับตัวให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ รู้จักหาอาหารให้ตัวเองกิน บางทีก็ไม่อาจสามารถนำสัตว์บางตัวกลับสู่ป่าได้ หรือบางกรณีพออยู่ไปได้สักพักหนึ่งก็ดูแลตัวเองต่อไปไม่รอด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ หรือเจ้าหน้าที่สวนสัตว์จึงมีหน้าที่ฝึกสัตว์ซึ่งจะกลับคืนสู่ป่าให้มีสภาพจิตใจ และ กายพร้อมที่จะเอาตัวรอดในป่า ดูแลเอาใจใส่สัตว์เหล่านั้นให้มีชีวิตความเป็นอยู่ตามสภาพ ธรรมชาติของสัตว์
นั้น ๆ

4.2.5 การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยเฉพาะโปรแกรมการอนุรักษ์สำหรับเด็กและเยาวชน ที่มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาชนรู้จักหน้าที่ของทุกคนที่มีในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพื่อจะได้มีทัศนะและรู้จักวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสัตว์ป่าและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า

วิธีการปลูกฝังจิตสำนึกดังกล่าวทำโดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมโดยตรง การมีส่วนร่วมโดยตรงจะทำให้เขาเข้าใจด้วยตัวเองเป็นอย่างดี ตัวอย่างกิจกรรมด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า มีดังนี้

1) นักเรียนมาทัศนศึกษาที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า

2) การประกวดภาพวาดเขียน ภาพระบายสีที่มีสาระเกี่ยวกับสัตว์ป่า สำหรับแต่ละระดับการศึกษา

3) การสัมผัสกับสัตว์อย่างใกล้ชิด (ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่สวนสัตว์)

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยใช้การสื่อความหมายด้านสัตว์ป่า ในการถ่ายโยงความคิด ความรู้ หรือความรู้สึกของบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การพูดคุย กริยา ท่าทาง การแสดงสีหน้า ภาษาเขียน ภาษา ทั้งนี้วิธีการสื่อความหมายที่นำมาใช้ในพื้นที่อนุรักษ์อนุรักษ์สัตว์ป่าของประเทศ มีทั้งที่ที่เป็นสื่อแบบวจนภาษา ส่วนใหญ่ เป็นการสื่อผ่านนักสื่อความหมายธรรมชาติ การฉายไสลด์มัลติมีเดีย และแบบวนจนภาษา มีทั้งการสื่อผ่านป้ายสื่อความหมาย ป้านสัญลักษณ์ แผ่นพับ หนังสือคู่มือ นิทรรศการกลางแจ้ง นิทรรศการในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป้าหมายของการสื่อความหมายธรรมชาติ เพื่อให้ผู้มาเยื่อนหรือนักท่องเที่ยวเกิดความรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ ความตระหนัก และก่อให้เกิดทักษะหรือการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ การสื่อความหมายธรรมชาติด้านสัตว์ป่านั้น นอกจากจะช่วยให้ประชาชน เยาวชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ความเพลิดเพลินในการประกอบกิจกรรมนันทนาการมากขึ้นแล้ว ยังเป็นเครื่องมือ สำหรับในการนำไปใช้ในการจัดการพื้นที่ทั้งด้านการป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่าให้กับนักท่องเที่ยว การควบคุมพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนและชุมชน การอำนวยความสะดวก การสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน และการสร้างแนวร่วมในการดูแลพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าให้อยู่ในความเรียบร้อย

 

 

4.3 บทบาทหน้าที่ของผู้นำสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

 

ผู้นำด้านสังคม   เศรษฐกิจ และการเมือง มีบทบาทและหน้าที่หลายประการ แต่เมื่อผู้นำได้รับมอบหมาย หรือ ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าแล้ว ผู้นำท่านนั้นจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเนื้องานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างละเอียด เพราะการตัดสินใจของผู้นำมีผลต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ป่า สิ่งมีชีวิตซึ่งรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ เช่น นักการเมืองหรือผู้นำประเทศที่ต้องตัดสินใจสร้างเขื่อนซึ่งมีผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ป่าที่ใกล้ศูนย์พันธุ์ ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องตัดถนนผ่านป่า วางท่อก๊าซธรรมชาติผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือทำกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า ผู้นำทางสังคม องค์กรเอกชนที่มีอิทธิพลทางแนวคิดในการเป็นพลังขับเคลื่อนด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า และที่สำคัญที่สุดผู้นำภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการคงอยู่และสูญสิ้นไปของทรัพยากรสัตว์ป่า ผู้นำเหล่านี้ควรจะได้ทราบบทบาทและหน้าที่ของผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อเป็นแนวคิดสำคัญในการดำเนินนโยบายหรือการบริหารงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยทั่วๆ ไป ดังนี้

4.3.1 ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้บริหาร (The Leader as Executive) บทบาทที่เห็นได้ชัดที่สุดของผู้นำก็คือบทบาทในฐานะผู้บริหารซึ่งประสานงานระหว่างกลุ่มต่างๆ ในองค์การ หรือในฐานะผู้ประสานงานภายในกลุ่มที่ตนเป็นผู้บริหาร ผู้นำประเภทนี้คอยช่วยให้งานของบุคลากรทุกคนดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้นำจะเป็นผู้คุมนโยบายและกำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่ม และรับผิดชอบคอยดูแลนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าขององค์กรให้มีการปฏิบัติโดยครบถ้วนถูกต้อง มีรายละเอียดย่อยของบทบาทด้านการบริหารที่ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าพึงมี ดังนี้

4.3.1.1 บทบาทการสร้างเครือข่าย (Networking) คือ การพยายามเข้าสังคม เพื่อจะได้พบปะกับบุคคลที่เป็นแหล่งข้อมูล และพยายามรักษามิตรภาพนั้นไว้อย่างต่อเนื่อง

4.3.1.2 บทบาทการให้การสนับสนุน (Supporting) คือ การที่ผู้นำให้ความสนใจและความเป็นเพื่อนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ เห็นใจ และให้การสนับสนุนให้ผู้ที่มีความวิตกกังวลในการปฏิบัติงาน ยินดีรับฟังการปรับทุกข์และปัญหาต่าง ๆ และพยายามส่งเสริม

4.3.1.3 บทบาทการขจัดความขัดแย้งและการสร้างทีมงาน (Managing conflict and team building) คือ การกระตุ้นและอำนวยความสะดวกในการหาหนทางในการแก้ไขความขัดแย้ง ผลักดันให้มีการสร้างทีมงานและความร่วมมือ และสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์การและทีมงาน

4.3.1.4 บทบาทการติดตาม (Monitoring) คือ บทบาทในการติดตามดูแลการดำเนินการและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยการติดตามดูความก้าวหน้า และคุณภาพของการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ติดตามและวิเคราะห์ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมองค์การที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการและโอกาสต่าง ๆ

4.3.1.5 บทบาทการให้ข้อมูล (Informing) โดยการบอกให้ทราบถึงข้อมูลและผลการตัดสินใจที่จำเป็นแก่การปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีในการปฏิบัติการ และวิธีการที่จะเพิ่มพูนภาพพจน์ หรือชื่อเสียงที่ดีขององค์การ

4.3.1.6 บทบาทในการสร้างความชัดเจน (Clarifying) คือ ผู้นำต้องสร้างความชัดเจนในภาระหน้าที่และวัตถุประสงค์ของงานต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยการมอบหมายงานควรเน้นวัตถุประสงค์ของงาน และชี้แจงกำหนดเวลาในการทำงานและความคาดหวังต่อผลงานให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบอย่างชัดเจน

4.3.1.7 บทบาทในการวางแผนและจัดองค์การ (Planning and organizing) คือ บทบาทหน้าที่ของผู้นำในการเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนกลยุทธ์ในการปรับตัวขององค์การ

4.3.1.8 บทบาทในการแก้ปัญหา (Problem solving) โดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลของปัญหาต่องาน วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุและทางเลือกในการแก้ปัญหา จัดการแก้ปัญหาและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

4.3.1.9 บทบาทในการปรึกษาและมอบหมายงาน (Consulting and delegating) คือบทบาทในการสอบถามความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานรู้จักเสนอแนะวิธีการปรับปรุง เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานที่สำคัญและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

4.3.1.10 บทบาทในการสร้างแรงจูงใจ (Motivating) โดยการใช้เทคนิคในการมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ค่านิยม อันทำให้คนปฏิบัติงานตั้งใจและทุ่มเทความสามารถในการทำงานและยอมรับในวัตถุประสงค์ของงาน พร้อมใจกันให้ความร่วมมือและช่วยเหลือต่างๆ

4.3.1.11 บทบาทในการประกาศเกียรติคุณและให้รางวัล (Recognizing and rewarding) คือ การยกย่อง ประกาศเกียรติคุณให้ทราบกันทั่ว และมอบรางวัลสำหรับผลการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยมความสำเร็จตามเป้าหมาย การทำผลประโยชน์พิเศษแก่องค์การ แสดงการยอมรับและซาบซึ้งในความสำเร็จของการปฏิบัติงาน

   4.3.2 ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้วางแผน (The Leader as Planner) โดยปกติผู้นำมักทำหน้าที่วางแผนการปฏิบัติงานทุกชนิด เป็นผู้ตัดสินใจว่าบุคลากรในองค์กรของตนควรใช้วิธีการอย่างไรและใช้อะไรมาประกอบบ้างเพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการ ผู้นำมักทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลด้วยว่าแผนด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่วางไว้นั้นมีการดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ผู้นำมักจะเป็นผู้เดียวที่ทราบแผนทั้งหมดโดยถ่องแท้ คนอื่นในกลุ่มหรือองค์กร มักรู้เรื่องเฉพาะส่วนที่ตนได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบแต่รู้ไม่หมดทั้งแผน

  4.3.3 ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้กำหนดนโยบาย (The Leader as Policy Maker) งานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้นำ คือ การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหมู่คณะ และการวางนโยบายส่วนมากนโยบายมาจากที่ 3 แห่ง คือ มาจาก “เบื้องบน” หรือ เจ้านาย ที่มีตำแหน่งสูง มาจาก “เบื้องล้าง” คือ ได้มาจากคำแนะนำ หรือมติของบุคลากรใต้บังคับบัญชา และสุดท้ายมาจาก “ผู้นำ” ของหมู่คณะนั้นๆไม่ว่านโยบายจะมาจากแหล่งใด ผู้นำมีอำนาจโดยเสรีที่จะกำหนดหรือเลือกด้วยตนเอง

4.3.4 ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้ชำนาญการ (The Leader as Expert) ผู้คนส่วนมากหวังพึ่งผู้นำจะทำหน้าที่คล้ายกับผู้ชำนาญการในสายวิชาชีพนั้น ๆ แต่ผู้นำจะรู้เรื่องต่างๆ ในด้านเทคนิคไปเสียหมดทุกอย่างไม่ได้ ผู้นำในองค์การนอกแบบหรือองค์การอรูปนัย บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในสายวิชาชีพมักจะมีบุคลากรอื่นมาหา เพื่อปรึกษาหารือขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ โดยเป็นการขอความช่วยเหลือส่วนตัว บุคลากรผู้นั้นจึงกลายเป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการอยู่ในองค์การนั้นๆ

ผู้นำทางสังคม  ธุรกิจ หรือการเมือง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการพัฒนาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของคนทั้งประเทศและของโลก เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพซึ่เป็นต้นทุน หรือฐานการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมของประเทศ เพราะผู้นำที่ให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นบุคคลซึ่งคิดถึงอนาคตของประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งต่อทรัพยากรสัตว์ป่าไปสู่อนาคต สู่เยาวชนรุ่นหลัง  กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ และมีอุดมการณ์อย่างเหนียวแน่นต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าซึ่งผลประโยชน์โดยรวมของชาติและแผ่นดิน

 

 

 

4.4 เปรียบเทียบผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าของไทยและต่างประเทศ

 

4.4.1 พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ ที่มีต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย The Great Wisdom of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit to Wildlife Conservation in Thailand

พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ระบรมราชินีนาถ ที่มีต่อ การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย ศึกษาจากพระราชกรณียกิจเพียงบางประการ มิอาจครอบคลุมพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงกระทำทั้งหมด อันเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ดังกรณีศึกษา ดังนี้

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยในพฤติกรรม และธรรมชาติของสัตว์ป่าต่างๆ เช่น ตุ๊กแก กบ เขียด นกกระเรียน ประสบการณ์ของพระองค์ท่านทรงใช้ธรรมชาติและสัตว์ป่า ทำนายสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น พระองค์ท่าน ทรงกล่าวว่าเครื่องมือวัดฝนในสวนจิตรลดาเสียหาย หมายถึง กบ เขียดในสวนจิตรลดาหายหมดไป เนื่องด้วยปกติ กบ เขียดจะส่งเสียงร้องก่อนฝนตก พระองค์ทรงสังเกตการว่ายน้ำของนกกระทุง สามารถช่วยบอกทิศทางการพัดของกระแสลมได้ พระองค์ทรงถามผู้ใกล้ชิดว่าคางคกมีกี่นิ้ว ซึ่งหลายๆ คนนึกไม่ถึง และมองไม่เห็น หรือมิได้สังเกตสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัว อย่างถ่องแท้ดังเช่นพระองค์ท่าน

ตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสังเกต และทราบว่า การกินอาหารของลิงนั้น ต้องรีบแย่ง รีบกินอาหารอย่างรวดเร็ว และแข่งกันมาก โดยกักเก็บไว้ข้างกระพุ้งแก้มก่อนเคี้ยว เป็นที่มาของ “โครงการแก้มลิง” ที่สร้างแนวคิดในการผันน้ำเหนือที่ไหลลงมามีอยู่มาก ในขณะที่น้ำทะเลขึ้นหนุนสูง จึงต้องผันมวลน้ำที่มีมากไปเก็บไว้ในพื้นที่ด้านข้างก่อน เพื่อชะลอและลดระดับน้ำลง เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ใช้ในแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ และพื้นที่ราบที่ประสบปัญหาทั้งน้ำเหนือ และน้ำทะเลท่วมหนุนในเวลาเดียวกัน

การฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติ และสัตว์ป่า

โครงการพระราชดำริหลายพื้นที่ ซึ่งพระองค์ได้ทรงเน้นในเรื่องของการดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ซึ่งธรรมชาติประสบความเสียหายทั้งจากภัยธรรมชาติ และจากน้ำมือมนุษย์ ทรงแนะนำในเรื่องของแนวทางการฟื้นฟูป่าไม้ อันก่อให้เกิดการกลายสภาพเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูสัตว์ป่าโดยกระบวนการธรรมชาติ และเป็นผลดีต่อการทดลองปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติในเวลาต่อมา

จากแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 ในการเร่งฟื้นฟูพื้นที่รอบๆ ห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการบุกรุกจากราษฎร และใช้พื้นที่การเกษตรอย่างขาดความเหมาะสม อีกทั้งเกิดความแห้งแล้ง และกำลังจะกลายเป็นทะเลทราย ทรงแนะนำให้ปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้สมบูรณ์ดังเดิมในพื้นที่ 15,880 ไร่ และทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมให้เร่งขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อทราย (Axis porcinus) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าพื้นเพดั้งเดิมตามชื่อห้วยทราย ให้สามารถนำไปปล่อยให้ดำรงชีพในพื้นที่ป่าดั้งเดิมได้ ปัจจุบันสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทรายได้ดำเนินการปล่อยเนื้อทรายให้อาศัยอยู่ในป่าที่ได้รับการฟื้นฟูดังกล่าวนั้นแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทำพิธีปล่อยเนื้อทรายจากคอกเลี้ยงสู่คอกใหญ่ในป่าบริเวณรอบเขาเตาปูน เพื่อให้เนื้อทรายได้ปรับสภาพตามธรรมชาติ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2535

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2525 พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณคลองบ้านอำเภอ ในท้องที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์ในการกสิกรรมของราษฎรในพื้นที่ เพื่อเป็นประโยชน์ในกิจกรรมทางศาสนาของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร และเพื่อประโยชน์ของการฟื้นฟูป่าเพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยานรักษาป่า และสัตว์ป่า ในพื้นที่ซึ่งสภาพธรรมชาติถูกทำลายทรุดโทรม และในคราวที่พระองค์เสด็จเยี่ยมบริเวณที่ก่อสร้างวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2526 ทรงแนะนำเรื่อง การฟื้นฟูสภาพป่า และสัตว์ป่าในบริเวณป่าเขาชีโอน โดยให้กรมป่าไม้ปลูกป่ารอบๆ บริเวณเขาชีโอน และจัดการสวนสัตว์ธรรมชาติ ต่อมากรมป่าไม้ได้เข้าปลูกป่า และดำเนินการสำรวจ และประกาศจัดตั้งพื้นที่ป่า 2,299 ไร่ ขึ้นเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2528 พร้อมกับการจัดตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง ในพื้นที่ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นผลดีต่อการฟื้นฟูประชากรนกป่า และสัตว์ป่าประเภทสัตว์กีบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 มีใจความสำคัญที่ว่า ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศชายฝั่งของอ่าวไทย แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยกำลังถูกบุกรุก และถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหาประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นโกงกางเป็นพันธุ์ไม้ที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก ต้องการระบบน้ำขึ้นน้ำลง ในการเจริญเติบโต จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกาง และปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป

ในบริเวณพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ป่าชายเลนที่เคยสมบูรณ์ได้ถูกทำลายจากการทำนากุ้ง ระบบการระบายน้ำเสียไม่ถูกวิธี ขาดระบบการดูแลกำจัด และระบายน้ำเสียที่เหมาะสม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับสนองและดำเนินภารกิจในพื้นที่ป่าชายเลนร่วมกันในระหว่างหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทั้ง กรมประมง และกรมป่าไม้ มีการแก้ไขเรื่องระบบการระบายน้ำจากนากุ้ง ควบคู่กับการปลูกไม้โกงกางเพิ่มเติม ปัจจุบันป่าชายเลนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปลูก ดูแล และฟื้นฟูตัวเองอย่างช้าๆ จนมีสภาพที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติป่าชายเลนของผู้สนใจที่มาชมกิจการของศูนย์ศึกษาการพัฒนา เพื่อแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพของราษฎรบริเวณพื้นที่โครงการ และบริเวณใกล้เคียง ผลสัมฤทธิ์ทางด้านสัตว์ป่าที่เห็นได้ชัดก็คือ พะยูน (Dugong; Dugon dugong) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่หาได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งหายไปจากบริเวณนี้นานกว่า 37 ปี ได้กลับเข้ามาอาศัยเมื่อพื้นที่มีความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเหมาะสม และเอื้ออำนวย

การจัดการพื้นที่อาศัย และสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทอดพระเนตรเห็นความสมบูรณ์ของป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ขณะประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินผ่าน ในระหว่างการแปรพระราชฐานจากจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร กลับสู่กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นโครงการตามแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ จึงได้กำเนิดขึ้นหลายโครงการ เช่น มีการดำเนินงานโครงการสวนสัตว์ธรรมชาติภูเขียว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้คณะทำงานที่ได้รับการจัดตั้งโดยกองทัพภาคที่ 2 ได้รับการสนับสนุนงาน กปร. เมื่อปี 2526 เพื่อส่งเสริมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และโครงการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยส่งเสริมให้สัตว์ป่าอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีการกักขัง แต่มีการเข้าไปดำเนินการในการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมต่อสัตว์ป่า ต่อมาพระองค์ท่านทรงศึกษาแผนที่ และเสนอแนะแนวคิดในการดำเนินการปรับปรุงถิ่นที่อาศัย โดยการจัดสร้างอ่างเก็บน้ำแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่าในหน้าแล้งในพื้นที่บริเวณแหล่งสัตว์ป่าที่ทุ่งกะมัง และทรงเลือกจุดสร้างฝายหลายแห่ง และที่บริเวณพื้นที่บึงมน กลายสภาพเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณค่าของนกป่าที่หายาก เช่น เป็ดก่า และนกอ้ายงั่ว ตลอดจนถึงนกน้ำต่างๆ หลายชนิด รวมทั้งสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น หมูป่า อีเก้ง กวางป่า กระทิง และช้างป่า ได้เข้ามาใช้แหล่งน้ำแห่งนี้ตลอดทั้งปี โดยทรงพระราชทานแนวคิดในการจัดการแหล่งน้ำจากการจัดทำฝายขนาดเล็ก และทรงเน้นเรื่องความปลอดภัยของสัตว์ป่า ผู้เกี่ยวข้องคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้นำแนวพระราชดำริไปดำเนินการ และรณรงค์ขอมอบอาวุธปืนคืนจากราษฎรซึ่งมีอาชีพเป็นพรานป่าได้สำเร็จ ซึ่งทำให้สัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2526 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ เสด็จประทับแรม ณ เรือนประทับแรมทุ่งกะมัง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ทรงปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ เช่น ไก่ฟ้า นกต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อทราย ซึ่ง ณ เวลานั้นเป็นสัตว์ป่าสงวน แหล่งทุ่งหญ้า และแหล่งน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำให้จัดสร้างฝายกั้นน้ำขึ้น แหล่งน้ำกลางทุ่งที่เกิดขึ้นมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของเนื้อทราย จากประชากรเนื้อทรายตั้งต้นที่ปล่อยสู่ธรรมชาติ 2 ครั้งในปี 2525 และ 2530 รวม 15 ตัว ซึ่งประชากรเนื้อทรายได้เพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันสามารถนับได้ไม่น้อย กว่า 100 ตัว

การแก้ปัญหาช้างป่าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

โครงการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี พ.ศ. 2540 พระองค์ท่าน ทรงแนะนำให้ดำเนินการในบริเวณพื้นที่ตอนในของป่า เพื่อดึงช้างป่าให้คงอยู่ในป่า ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ทรงแนะนำให้แก้ปัญหาด้วยแนวทางต่างๆ สามารถสรุปได้เป็น 3 ประการ ดังนี้ คือ การทำฝายแม้ว (check dam) เพื่อชะลอ และกักเก็บน้ำไว้ในป่าตอนใน เพื่อให้ป่าเกิดความชุ่มชื้น การโปรยเมล็ดหญ้าด้วยเครื่องบิน เพื่อให้หญ้าขึ้นในพื้นที่เป็นการเพิ่มอาหารแก่สัตว์ป่า การจัดการแหล่งอาหารในบริเวณป่าด้านใน เพื่อให้ช้างป่าหากินอยู่ในบริเวณป่าด้านใน ทรงเน้นเรื่องการให้ความปลอดภัยแก่ช้างป่า

 

4.4.2 เซอร์ จูเรียน ฮัคซลิ (Sir Julian Huxley)

“เซอร์ จูเรียน ฮัคซลิ” (Sir Julian Huxley) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ และประธาน องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ผู้ซึ่งปลุกกระแสการอนุรักษ์ให้ขยายวงกว้างและทำเรื่องการอนุรักษ์กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นในสังคมโลก

ในปี พ.ศ. 2503 ฮัคซลี เดินทางไปยังแอฟริกาตะวันออก ในการประชุมของ UNESCO ว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า คราวนั้นเองเขาได้พบว่าสัตว์ป่าหลายชนิดกำลังถูกล่าอย่างหนัก และหากไม่มีการจัดการใด ในอีก 20 ปี ข้างหน้า สัตว์ป่าเหล่านี้คงสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่ฮัคซลีเดินทางกลับสู่อังกฤษ เขาได้เขียนบทความตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวอังกฤษตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บทความของเขาได้สร้างกระแสให้คนอ่านหันมาตระหนักถึงความจริงที่ว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติเรื่องที่ต้องจริงจังและให้ความสำคัญ

ภายหลังจากบทความของฮัคซลีได้รับการแผยแพร่ มีจดหมายแสดงความห่วงใยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหลายฉบับถูกส่งกลับมาถึงเขา ซึ่งร่วมถึงจดหมายของนักธุรกิจคนสำคัญอย่าง วิคเทอร์ ซโทแลน (Victor Stolan) ที่ได้แนะนำประเด็นสำคัญในการอนุรักษ์ไว้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนในเวลานี้ก็คือ การจัดตั้งองค์กรนานาชาติเพื่อระดม สำหรับใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

จากคำแนะนำดังกล่าว ฮัคซลิ ได้หารือกับ แมค นิคโคลซัน (Max Nicholson)ประธานองค์กรพิทักษ์ธรรมชาติของอังกฤษ (Britain’s Nature Conservancy) เพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 นิคโคลซันได้รวบรวมคนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญในงานประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อจัดตั้งองค์กรนานาชาติด้านการอนุรักษ์ขึ้น ในนาม WWF (World Wildlife Fund) ประธานคนแรกของ WWF ได้แก่ เซอร์ ปีเตอร์ สก๊อต ซึ่งในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (World Conservative Union : IUCN) WWFมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองกล๊อง ประเทศสวิทเซอร์แลนด์ และได้ใช้แพนด้าเป็นโลโก้ขององค์กรมาจนถึงปัจจุบัน

 

สรุปผลการศึกษาและการนำไปใช้ประโยชน์

 

5.2.1 สถานการณ์สัตว์ป่าไทย

ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจทำให้ทราบว่ามีจำนวนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย 285 ชนิด ในส่วนของสัตว์ปีกมีการสำรวจพบนก 938 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานจำนวน 313 ชนิด และจำนวนที่พบมากที่สุดคือ งู ถึงร้อยละ 53.7 รองลงมาได้แก่ กลุ่มของตุ๊กแก จิ้งเหลนพบร้อยละ 34.5 ส่วนเต่าพบ 27 ชนิด จากจำนวนที่มีอยู่ในโลก 257 ชนิด จำแนกเป็นเต่าบก 3 ชนิด เต่าปูลู 1 ชนิด เต่าน้ำจืด 13 ชนิด ตะพาบ 5 ชนิด เต่าทะเล 4 ชนิด และเต่ามะเฟือง 1 ชนิด จำนวนชนิดพันธุ์ที่พบน้อยที่สุด คือ จระเข้พบ 3 ชนิด ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าสิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันอันใกล้นี้ มีสาเหตุจาก

1)  การลดลงหรือสูญพันธุ์ไปตามธรรมชาติ

2)  การลดลงหรือสูญพันธุ์จากการล่าโดยตรง

3)  การลดลงหรือสูญพันธุ์จากการทำลายที่อยู่อาศัย

4)  การลดลงหรือสูญพันธุ์จากสารพิษ

5)  การลดลงหรือสูญพันธุ์เนื่องจากนำสัตว์จากที่อื่นเข้ามาในพื้นที่

แนวโน้มการวิจัยและการอนุรักษ์สัตว์ป่าในอนาคตจะมีการการขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านงานอนุรักษ์สัตว์ป่าร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในและต่างประเทศ มีความพยายามผลักดันให้การจัดการและการอนุรักษ์อยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยตามหลักการและทฤษฎีด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเน้นให้เกิดงานวิจัยเพื่อการพื้นฟูประชากรสัตว์ป่าที่หายาก หรือถิ่นอาศัยที่ถูกเปลี่ยน รวมทั้งการส่งเสริมให้มีงานวิจัยด้านสัตว์ป่าที่เสริมคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย

5.2.2 ความรู้ทางวิชาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและถิ่นอาศัย

1)  การจัดการพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่า

การจัดการพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าที่รอบคอบจะช่วยเพิ่มโอกาสของการมีชีวิตรอดของสัตว์ป่า และช่วยอนุรักษ์สัตว์ป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งกิจกรรมทุกกิจกรรมจะต้องอยู่บนพื้นฐานการจัดการสัตว์ป่าตามหลักวิชาการ

2)            การป้องกันพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่า

เมื่อพื้นที่แห่งหนึ่งได้รับการคุ้มครองบนแผ่นกระดาษ งานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสัตว์ป่าพึ่งจะเริ่มต้น ในบางครั้งการผลักดันให้พื้นที่ให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนั้นง่ายกว่าที่จะปกป้องคุ้มครองพื้นที่นั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย เป็นการแสดงให้เห็นว่าเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานภาคสนามและเจ้าหน้าที่ระดับบริหารจำเป็นต้องทำงานร่วมกันในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่า ด้วยวิธีการ การลาดตระเวน การจ้างคนในท้องถิ่น  การตั้งหน่วยพิทักษ์ป่า การจัดตั้งแนวกันชน ป่าชุมชน การติดป้ายหรือเครื่องหมายและการกำหนดอาณาเขต และการสร้างความสัมพันธ์ความสำพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นเป็นต้น

 

 

3)            งานวิจัยด้านสัตว์ป่า

งานวิจัยด้านสัตว์ป่าโดยเนื้อหาของงานหลักเป็นการศึกษาเพื่ออนุรักษ์ และจัดการประชากร และถิ่นอาศัยเฉพาะที่เฉพาะแห่ง และเป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาภาคสนามทั้งสิ้น เทคโนโลยีที่ใช้ศึกษาสัตว์ป่ามีหลากหลายเช่น เทคนิคการสำรวจ , การติดวิทยุติดตามตัวสัตว์ (Radio telemetry), Software เพื่อวิเคราะห์ประชากรสัตว์ป่า, การใช้เทคนิคกล้องดักถ่ายภาพ (Camera trapping), เครื่องบันทึกและวิเคราะห์เสียงสัตว์ และอื่นๆ สรุปได้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนเสริมให้เกิดความรวดเร็วในการมองภาพกว้าง แต่เมื่อถึงการจัดการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ยังคงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการสำรวจสัตว์ป่าภาคสนามที่ต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการดำเนินงานตามคุณภาพของข้อมูลที่ผู้วิจัยตั้งไว้เช่นเดิม

4)            การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าและการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่า

การอนุรักษ์สัตว์ป่า นอกจากจะอนุรักษ์สัตว์ป่าในถิ่นกำเนิดที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ (In-situ  Conservation) แล้ว การนำสัตว์ป่ามาเพาะเลี้ยงนอกถิ่นกำเนิด (Ex-situ Conservation) ในสถานีเพาะเลี้ยงหรือสวนสัตว์ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์พันธุกรรมของสัตว์ป่าเหล่านั้น

สำหรับเป้าหมายสำคัญเมื่อขยายพันธุ์สัตว์สำเร็จแล้ว คือ การคืนสัตว์นั้นสู่ธรรมชาติ เป็นการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าที่อาจสัญพันธุ์ไปจากพื้นที่นั้น ๆ

5)            การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยเฉพาะโปรแกรมการอนุรักษ์สำหรับเด็กและเยาวชน ที่มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาชนรู้จักหน้าที่ของทุกคนที่มีในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพื่อจะได้มีทัศนะและรู้จักวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสัตว์ป่าและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า

5.2.3 บทบาทและหน้าที่ของผู้นำสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

ผู้นำด้านสังคม   เศรษฐกิจ และการเมือง มีบทบาทและหน้าที่หลายอย่าง แต่เมื่อผู้นำได้รับมอบหมาย หรือ ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าแล้ว ผู้นำท่านนั้นจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเนื้องานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างละเอียด เพราะการตัดสินใจของผู้นำมีผลต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ป่า สิ่งมีชีวิตซึ่งรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ ผู้นำด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าควรจะได้ทราบบทบาทและหน้าที่ของผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อเป็นแนวคิดสำคัญในการดำเนินนโยบายหรือการบริหารงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

 

 

หน้าที่ของผู้นำการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีดังนี้

1.อนุรักษ์คุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

2.วิจัย พัฒนาให้บริการด้านวิชาการด้านสัตว์ป่า

3.บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าโดยการมีส่วนร่วมบนพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสม

4.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

บทบาทของผู้นำการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีดังนี้

1)  ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้บริหาร (The Leader as Executive) บทบาทที่เห็นได้ชัดที่สุดของผู้นำก็คือบทบาทในฐานะผู้บริหารซึ่งประสานงานระหว่างกลุ่มต่างๆ ในองค์การ หรือในฐานะผู้ประสานงานภายในกลุ่มที่ตนเป็นผู้บริหาร ผู้นำประเภทนี้คอยช่วยให้งานของบุคลากรทุกคนดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้นำจะเป็นผู้คุมนโยบายและกำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่ม และรับผิดชอบคอยดูแลนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าขององค์กรให้มีการปฏิบัติโดยครบถ้วนถูกต้อง

2)  ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้วางแผน (The Leader as Planner) โดยปกติผู้นำมักทำหน้าที่วางแผนการปฏิบัติงานทุกชนิด เป็นผู้ตัดสินใจว่าบุคลากรในองค์กรของตนควรใช้วิธีการอย่างไรและใช้อะไรมาประกอบบ้างเพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการ ผู้นำมักทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลด้วยว่าแผนด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่วางไว้นั้นมีการดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ผู้นำมักจะเป็นผู้เดียวที่ทราบแผนทั้งหมดโดยถ่องแท้ คนอื่นในกลุ่มหรือองค์กร มักรู้เรื่องเฉพาะส่วนที่ตนได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบแต่รู้ไม่หมดทั้งแผน

3)            ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้กำหนดนโยบาย (The Leader as Policy Maker)

งานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้นำ คือ การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหมู่คณะ และการวางนโยบายส่วนมากนโยบายมาจากที่ 3 แห่ง คือ มาจาก “เบื้องบน” หรือ เจ้านาย ที่มีตำแหน่งสูง มาจาก “เบื้องล้าง” คือ ได้มาจากคำแนะนำ หรือมติของบุคลากรใต้บังคับบัญชา และสุดท้ายมาจาก “ผู้นำ” ของหมู่คณะนั้นๆไม่ว่านโยบายจะมาจากแหล่งใด ผู้นำมีอำนาจโดยเสรีที่จะกำหนดหรือเลือกด้วยตนเอง

4)             ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในฐานะผู้ชำนาญการ (The Leader as Expert) ผู้คน

ส่วนมากหวังพึ่งผู้นำจะทำหน้าที่คล้ายกับผู้ชำนาญการในสายวิชาชีพนั้น ๆ แต่ผู้นำจะรู้เรื่องต่างๆ ในด้านเทคนิคไปเสียหมดทุกอย่างไม่ได้ ผู้นำในองค์การนอกแบบหรือองค์การอรูปนัย บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในสายวิชาชีพมักจะมีบุคลากรอื่นมาหา เพื่อปรึกษาหารือขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ โดยเป็นการขอความช่วยเหลือส่วนตัว บุคลากรผู้นั้นจึงกลายเป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการอยู่ในองค์การนั้นๆ

ผู้นำทางสังคม  ธุรกิจ หรือการเมือง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการพัฒนาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของคนทั้งประเทศและของโลก เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพซึ่เป็นต้นทุน หรือฐานการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมของประเทศ เพราะผู้นำที่ให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นบุคคลซึ่งคิดถึงอนาคตของประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งต่อทรัพยากรสัตว์ป่าไปสู่อนาคต สู่เยาวชนรุ่นหลัง  กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ และมีอุดมการณ์อย่างเหนียวแน่นต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าซึ่งผลประโยชน์โดยรวมของชาติและแผ่นดิน

ผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางให้ผู้นำทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของไทย นำไปใช้การกำหนดบทบาทในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าของตนเอง เป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายและแนวทางการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศในอนาคต และทำให้ทราบถึงข้อมูลทางด้านสถานการณ์ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในปัจจุบันรวมถึงแนวโน้มสถานการณ์ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสมต่อไป

 

5.3   ข้อเสนอแนะ

 

5.3.1 ปัจจุบันมี บุคคล กลุ่มบุคคล องก์กรบางประเภทที่อาศัยการอนุรักษ์สัตว์ป่าบังหน้า เพื่อหาผลประโยชน์ ดังนั้นผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าต้องมีการตรวจสอบคัดกรอง ที่จะทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มคนเหล่านี้โดยละเอียด มีฉะนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายโดยรวมต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า

5.3.2 สถานการณ์ด้านสัตว์ป่ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามพลวัฒน์ของโลก ผู้นำด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ควรติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำวิธีการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในองค์กรของตน

5.3.3 การศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาในรายละเอียดที่สำคัญ เช่น ผู้นำด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น

 

บรรณานุกรม

 

ฝ่ายอนุรักษ์วิจัย  สวนสัตว์สงขลา, ผู้บรรยาย.  การอนุรักษ์สัตว์ป่า.[งานนำเสนอ]. สงขลา :
สวนสัตว์สงขลา, 2553.

ฝ่ายอนุรักษ์วิจัย  สวนสัตว์สงขลา, ผู้บรรยาย.  การจัดการสัตว์ป่าในสวนสัตว์.[งานนำเสนอ].

สงขลา : สวนสัตว์สงขลา, 2553.

ธีรภัทร ประยูรสิทธิ และคณะ. ยุทธวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการพิทักษ์ป่าในเขตรักษาพันธุ์   

         สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, กรุงเทพฯ, 2551.

สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ประเทศไทย, คู่มือจำแนกสัตว์ป่า เพื่องานป้องกัน และปราบปรามการ  

         ลักลอบค้าสัตว์ป่า. กรุงเทพฯ : เพาเวอร์พริ้นท์, 2550.

สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า. แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548-2557,

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกรุงเทพฯ, 2548.

ราบิโนวิทซ์, อลัน. คู่มืออบรมการทำวิจัยและการอนุรักษ์สัตว์ป่า. แปลและเรียบเรียงโดย ศลิษา

สถาปนวัฒน์. Plan Printing, กรุงเทพฯ, 2542.

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400588, 7 กันยายน 2555.

นิคม พุทธา, และคณะ.สถานการณ์สัตว์ป่าไทย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://elibrary.trf.or.th/downloadFull.asp?proid=PDG5130001, 1 กันยายน 2555.

ทรัพยากรสัตว์ป่า. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

http://www.ubonzoo.com/wild_animals/wild_worth_main.htm, 6 กันยายน 2555.

สัตว์ป่าสงวน. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

http://www.ku.ac.th/AgrInfo/wild/index.html, 6 กันยายน 2555.

สมชาย คุ้มพูล. ทฤษฎีและรูปแบบภาวะผู้นำ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://203.149.30.199/lms_rsu/courses/49/locker/PDF/SBP601_L3.pdf, 1 กันยายน 2555.

 

 

ประวัติผู้ศึกษา

 

ชื่อ ชื่อสกุล                           พลวีร์ บูชาเกียรติ

วันเดือนปีเกิด                       23 ตุลาคม 2517

สถานที่เกิด                           สุโขทัย ประเทศไทย

ประวัติการศึกษา                  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน

                                              วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์), 2541

                                              มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                                              เกษตรศาสตรบัณฑิต (ส่งเสริมการป่าไม้และสิ่งแวดล้อม), 2552

                                             มหาวิทยาลัยรังสิต

                                              ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม

                                               ธุรกิจ และการเมือง, 2554

ที่อยู่ปัจจุบัน                          เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม

ตู้ ปณ.3 อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย 64150

polawee@hotmail.com

สถานที่ทำงาน                     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.สุโขทัยและ จ.ลำปาง

ตำแหน่ง                                หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า