สารจากสมาคมฯ

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไทย Thai Ranger

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไทย Thai Ranger

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า(ranger)

เจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติ(Park Ranger) เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า (Forest Ranger) หรือเจ้าหน้าที่พิทักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า(Wildlife Ranger) คือ บุคคลผู้ทำหน้าที่คุ้มครองและรักษาอุทยานแห่งชาติ อุทยานประจำรัฐหรือจังหวัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติต่างๆ แต่ละประเทศก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป Ranger เป็นชื่อเรียกของผู้พิทักษ์ป่าใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ สหราชอาณาจักร ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา Park Ranger คือผู้พิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ในกรมอุทยานแห่งชาติ (National Park Service ) ส่วน Forest Ranger คือผู้พิทักษ์ป่าในกรมป่าไม้ (Forest Service ) ประเทศ อื่น ๆ ใช้ คำว่า park warden หรือ game warden เพื่อเรียกอาชีพนี้ คำจำกัดความซึ่งอธิบายลักษณะงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าก็คือ “ผู้ทำหน้าที่ปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากภัยธรรมชาติ และการปกป้องธรรมชาติให้พ้นจากการทำลายของมนุษย์” ซึ่งการทำหน้าที่พิทักษ์ป่าจะต้องใช้ความรู้ ความชำนาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กฎหมาย เป็นต้น

คำว่า“ranger” ( เรนเจอร์) ปรากฏขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อศตวรรษที่ 13 ในภาษาอังกฤษหมายถึงผู้คุ้มครองป่าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของราชวงศ์อังกฤษ  ทำหน้าที่ปกป้องที่ดินของกษัตริย์จากการบุกรุกและการล่าสัตว์

ในอเมริกาเหนือ ระหว่างศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เรนเจอร์ได้ร่วมในการทำสงครามระหว่างชาวอาณานิคมและชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันอินเดียน เรนเจอร์คือทหารที่ถูกจ้างเต็มเวลาโดยรัฐบาลอาณานิคมเพื่อลาดตระเวนชายแดนระหว่างป้อมปราการ เพื่อลาดตระเวนสอดแนมและเพื่อเป็นการเตือนภัยก่อนการจู่โจม  ในการดำเนินงาน พวกเขาคือผู้ลาดตระเวนหน้าและผู้นำทาง กำหนดที่หมายและที่ตั้งหมู่บ้านและเป้าหมายอื่น ๆ สำหรับกองกำลังงานที่มาจากทหารหรือกองกำลังอาณานิคมอื่น ๆ ในระหว่างสงครามปฏิวัติ นายพลจอร์จวอชิงตันได้สั่งการให้พันโทโทมัสคัดเลือกบุคคลชั้นหัวกะทิเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังสำหรับภารกิจลาดตระเวนสอดแนม หน่วยนี้เป็นที่รู้จักกันทัวไปว่าเป็นเรนเจอร์ของนอลตัน และเป็นหน่วยเรนเจอร์แรกอย่างเป็นทางการของประเทศสหรัฐอเมริกา และถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งของเรนเจอร์ในหน่วยงานของกองทัพในปัจจุบัน

คำว่า”เรนเจอร์”ถูกนำมาตั้งชื่อหน่วยดับไฟป่า โดยปรับโครงสร้างหน่วยดับไฟป่าใน  Adirondack Park หลังจากการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่ในปี 1899 ถึง 80,000 เอเคอร์ (320 ตารางกิโลเมตร ) โดยคำว่า  “เรนเจอร์” นี้ ถูกนำมาจากชื่อหน่วย เรนเจอร์ของโรเจอร์  กองกำลังขนาดเล็กที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับความรู้ความชำนาญในการเดินป่าซึ่งได้ต่อสู้ในสงครามระหว่างฝรั่งเศสและอินเดียนในปี 1755 จากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติและกรมป่าไม้ของสหรัฐอเมริกา ได้นำคำว่า  “เรนเจอร์” มาใช้ในหน่วยงาน (อ้างอิงจาก Pinchot, Gifford, “Breaking New Ground”, ตีพิมพ์ครั้งแรก 1947)

us national park ranger ภาพจากวิกิพีเดีย

us national park ranger
ภาพจากวิกิพีเดีย

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในปัจจุบัน มีความแตกต่างและหลากหลาย ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่พวกเขาทำงาน ว่าต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ และต้องคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบ ข้อห้ามที่วางไว้ เป้าหมายของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าทุกคน ก็คือการปกป้องพื้นที่คุ้มครองสำหรับอนุชนรุ่นต่อไป และการปกป้องนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนให้ได้รับความปลอดภัย ได้รับความรู้ และความประทับใจ เป้าหมายเหล่านี้สำเร็จลงได้ด้วยการทำงานอย่างมืออาชีพ บางครั้งก็เป็นงานที่ทับซ้อนกับงานของหน่วยงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ด้านสื่อความหมาย อาจมีบทบาทการบังคับใช้กฎหมายโดยการอธิบายกฎระเบียบเป็นพิเศษให้กับนักท่องเที่ยว และส่งเสริมให้พวกเขาเป็นเครือข่ายผู้เฝ้าระวังมรดกประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าผู้บังคับใช้กฎหมายและพนักงานพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ อาจทำภารกิจของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ด้านสื่อความหมายโดยการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวก จิตวิญญาณของการทำงานเป็นทีมในการบรรลุภารกิจในการปกป้องพื้นที่คุ้มครองและผู้คน  ที่จะเน้นย้ำความจริงที่ว่า เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายตามที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่คำนึงถึงว่าจะต้องเป็นงานในหน้าที่หรือไม่

วันนี้ผู้พิทักษ์ป่าในพื้นที่คุ้มครองทั่วโลก ได้ส่งต่อภารกิจในการปกป้องพื้นที่คุ้มครองสำหรับสาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง ผู้พิทักษ์ป่าเป็นกำลังสำคัญในการปกป้องทรัพยากรจากการรุกราน โดยการบังคับใช้กฎหมาย กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน, การดับไฟป่า, การดำเนินการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย และงานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย

ผู้พิทักษ์ป่ามีขอบเขตการปฏิบัติงานที่กว้างและหลากหลายในการจัดการพื้นที่คุ้มครอง งานที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การควบคุมไฟป่า ปกป้องทรัพย์สิน รวบรวมและเผยแพร่ประชาสัมพันธุ์ด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การสื่อความหมายทางธรรมชาติ บังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ การกู้ภัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยการจัดการด้านสัตว์ป่า ป่าไม้ ทรัพยากรชายฝั่งและใต้ท้องทะเล สถานที่ทางประวัติศาสตร์และพื้นที่นันทนาการ

เว็บไซต์ www.thairanger.com จึงก่อตั้งขึ้นเพี่อบอกเล่าเรื่องราวของผู้ทำหน้าที่รักษากฎหมายและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่คุ้มครองของประเทศ หรือที่รู้จักกันในนามของ ผู้พิทักษ์ป่า” ซึ่งปฏิบัติงานตามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน พื้นที่ป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งพื้นที่คุ้มครองทั้งทางบกและทางทะเลของประเทศไทย เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ในวิชาชีพ เสริมสร้างกำลังใจ ช่วยเหลือและแบ่งปันในด้านสวัสดิการและเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิงานของผู้พิทักษ์ป่าไทย

หวังไว้ว่าต่อไปในภายหน้าจะทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นชมรม หรือสมาคมของผู้ทำหน้าที่พิทักษ์ป่า ก็คงจะไม่ใช่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่เปิดกว้างสำหรับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ที่มีจิตใจพร้อมที่จะปกป้องทรัพยากรของชาติ เพื่อพัฒนาและยกระดับเป็นองค์การทางวิชาชีพพิทักษ์ป่าของไทย รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดตั้งโรงเรียนพิทักษ์ป่า หรือสถาบันทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์ป่า (Park Ranger School)ในอนาคต

ในแต่ละปีมีผู้ทำหน้าที่พิทักษ์ป่าได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นจำนวนมาก หลายครั้งต้องเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้องกลับ จากการดำเนินคดีกับผู้มีอิทธิพล แม้ผลตอบแทนที่ได้รับจะน้อยนิด แต่ก็มีความภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่พิทักษ์ รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งผู้คนทั้งโลกเป็นเจ้าของ และยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงห่วงใย ช่วยเหลืออุปการะผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตเสมอมา

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต แน่นอนมีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่คุ้มครองอื่นๆซึ่งมีอยู่น้อยมาก และถูกรุกรานในรูปแบบต่างๆ ทั้งผิดกฎหมายและถูกต้องตามกฎหมายอยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งที่จะทำได้ก็คือสนับสนุน และให้กำลังใจคนดีๆที่มีอยู่เหลือน้อยเต็มที ซึ่งนับวันจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ไม่ให้พ่ายแพ้แก่อำนาจเงินและอิทธิพลของคนพาล ให้มีขวัญและกำลังใจในการทำหน้าที่พิทักษ์ไพร ดูแลรักษาป่าที่เรารักต่อไป

 

 พลวีร์ บูชาเกียรติ

polawee@hotmail.com

0899992000

พลวีร์ บูชาเกียรติ

พลวีร์ บูชาเกียรติ

 

ประวัติย่อ

ชื่อจริง: พลวีร์

นามสกุล: บูชาเกียรติ

 ประวัติการศึกษา                 

2541 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์)

2552 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เกษตรศาสตร์บัณฑิต (ส่งเสริมการป่าไม้และสิ่งแวดล้อม)

2555 มหาวิทยาลัยรังสิต ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง) 

ประสบการณ์

2541 ลูกจ้างชั่วคราวประจำอุทยานแห่งชาติลานสาง จ.ตาก

2542 ลูกจ้างชั่วคราวประจำอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

2544 ลูกจ้างชั่วคราวประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

2545 ผู้ช่วยหัวหน้าสวนป่าโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ จ.เชียงใหม่

2546 นักวิชาการประจำสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรุงเทพมหานคร

2548 ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด

2551 หัวหน้าสำนักงาน หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการข่าว และหัวหน้าส่วนจัดการที่ 2 เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และ จ.ตาก

2552 ผู้ก่อตั้งและดูแลเว็บไซต์ www.thairanger.com 

2554 หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.สุโขทัย และ จ.ลำปาง

2559 หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก จ.ตาก

2562 หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก

2562-ปัจจุบัน ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า (หน่วยฯพญาเสือ)อีกหน้าทีหนึ่ง

2562-ปัจจุบัน ทำหน้าที่วิทยากรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพงานลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Training of Trainers Course for SMART Patrol System) อีกหน้าที่หนึ่ง

2563-ปัจจุบัน หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง จ.กำแพงเพชร

2563-ปัจจุบัน ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายฐานข้อมูลอาชญากรรมด้านสัตว์ป่า โครงการ Combatting Illigal Wildlife Trade,focusing on ivory, Rhino Horn, Tiger and Pangolins in Thailand

การฝึกอบรม

2543 Surveillance Detection บริษัท Armor Group Asia Pacific Ltd.

2545 ผู้สอบได้คะเเนนสูงสุด หลักสูตร “พนักงานสายตรวจของอุทยานแห่งชาติ” ค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา จังหวัดลำปาง

2548 Primate Ecology and Conservation in Thailand at Phu Khieo Wildlife Sanctuary

2548 การแปลเอกสารราชการ สัญญา และหมายศาล โดย บริษัทพัฒนายุทธศาสตร์และระบบธุรกิจจำกัด

2549 การสืบสวนดำเนินคดีด้านป่าไม้ รุ่นที่ 56

2550 การดำน้ำเบื้องต้น (Open water)

2550 การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน จังหวัดเกาะกง Cambodia

2551 การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับงานด้านป่าไม้

2551 Elephant Trade Infomation System (ETIS) and Ivory Identification Training Course

2553 Protected Area Protection and Enforcement Manager (PAPEM) Course at Khao Yai National Park

2553 Park Protection and Management Training Course delivered by MJP and Sequoia andKing Canyon National Park (U.S. National Park Service,NPS) at Samlout, Cambodia

2554 การสืบสวนดำเนินคดีด้านป่าไม้และสัตว์ป่า รุ่นที่ 2

2555 การพัฒนาหัวหน้างาน

2555 การจัดการอุทยานแห่งชาติและการอนุรักษ์สัตว์ป่า Kenya

2556 นักจัดการพื้นที่อนุรักษ์ ระดับชำนาญงาน และชำนาญการ

2557 การจัดการอุทยานแห่งชาติประเทศสหรัฐ อเมริกา International Visitor Leadership Program (IVLP) กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

2558 การวางแผนป้องกันและปราบปรามเชิงยุทธวิธีในพื้นที่อนุรักษ์ Top Course รุ่นที่ 1 

2559  Changbai Mountain International  Eco – forum ประเทศจีน                        

2559  การบริหารความขัดแย้งด้วยสันติวิธีโดยการเจรจา รุ่นที่ 4   

2560 การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่อนุรักษ์

2560  การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนำชุมชนให้เข้าร่วมในกระบวนการดูแลมรดกโลก (COMPACT) 2560 Alliance of Protected Areas Annual Meeting  2017 Tangjiahe National Nature Reserve, Sichuan ,China

2562 การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 42   กรุงมานามา ประเทศบาห์เรน

2562 การฝึกอบรมการสร้างวิทยากรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพงานลาดตระเวนเชิงคุณภาพ Training for Trainer Smart Patrol System

2562 การประชุมผู้พิทักษ์ป่าโลก ครั้งที่ 9 World Ranger Congress 2019 IRF,อุทยานแห่งชาติจิตวัน เนปาล

ประสบการณ์พิเศษ

2546 หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการโครงการช้างลาดตระเวนป่า

2556 หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานพิเศษ ด้านคดีป่าไม้และสัตว์ป่า (Special operation forest and wildlife Unit : SOFU) ตามคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ 1588/2556 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2556

2557 เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่ป้องกันและควบคุมโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ธรรมชาติ สบอ.14 (ตาก)

2558 เจ้าหน้าที่สายตรวจการค้างาช้าง สายที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสุโขทัย

2559 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกลุ่มงานปฏิบัติงานด้านความมั่นคง กอ.รมน. จังหวัดสุโขทัย

2559 วิทยากรทบทวนการลาดตระเวน หลักสูตรการวางแผนป้องกันและปราบปรามเชิงยุทธวิธีในพื้นที่อนุรักษ์ รุ่นที่ 2 ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 (ตาก)

เรารักและภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่รักษาป่าให้กับทุกท่าน

พิทักษ์ป่าไทย...แค่คนเฝ้าป่าคนหนึ่ง

พิทักษ์ป่าไทย…แค่คนเฝ้าป่าคนหนึ่ง