กลุ่มยุวพิทักษ์ป่า‏ จังหวัดตราด และโครงการยุวพิทักษ์อนุรักษ์ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช

เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด รวมทีมเป็นกลุ่มยุวพิทักษ์ป่า

เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด รวมทีมเป็นกลุ่มยุวพิทักษ์ป่า
ภาพจาก www.dld.go.th/pvlo_tra/th

 กลุ่มยุวพิทักษ์ป่า‏ จังหวัดตราด


ได้ทราบข่าวแล้วรู้สึกดีใจที่เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด รวมทีมเป็น
กลุ่มยุวพิทักษ์ป่า เนื่องปัจจุบันช้างป่าเข้ามาหากินในสวนพืชไร่ตามชุมชนต่าง ๆ ในตำบลหนองบอน
และตำบลใกล้เคียง สร้างความเสียหายในทรัพย์สินและชีวิตเป็นจำนวนมาก กลุ่มยุวพิทักษ์ป่ามี
แนวคิดว่าการที่สัตว์เข้ามาในชุมชนสาเหตุมาจากพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาศัยและอาหารลดน้อยลงด้วย
ฝีมือมนุษย์ที่บุกรุกทำลายป่า การแก้ปัญหาด้วยการขับไล่ย่อมไม่ได้ผลในระยะยาวและยั่งยืน 
กลุ่มยุวพิทักษ์ป่าจึงได้ดำเนินการในการแก้ปัญหาดังนี้
1. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นความสำคัญของป่าและสัตว์ป่า
2. ขอความร่วมมือกับเทศบาลตำบลหนองบอน คืนป่าสัตว์ป่า โดยการปลูกต้นไม้และพืชที่เป็นอาหาร
สำหรับสัตว์ป่าในพื้นที่ป่ากลุ่มเป้าหมาย เช่น ต้นน้ำลานหินดาด พื้นที่ป่าที่ทางการยึดคืน
 

“เยาวชนเมืองลิกอร์” ร่วมอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล สร้างเครือข่าย “เด็กดี” พิทักษ์คุณภาพชีวิต-สิ่งแวดล้อม

“เยาวชนเมืองลิกอร์” ร่วมอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล สร้างเครือข่าย “เด็กดี” พิทักษ์คุณภาพชีวิต-สิ่งแวดล้อม ภาพจาก www.newswit.com


โครงการยุวพิทักษ์อนุรักษ์ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช

สอดคล้องกับการดำเนินงานของโครงการยุวพิทักษ์อนุรักษ์ชายฝั่งทะเล มีจุดเริ่มต้นจากความใฝ่ฝันของ
เด็กๆซึ่งเป็นสมาชิกของเครือข่ายยุวทัศน์ฯ เมื่อครั้งที่ไปพักผ่อนหย่อนใจริมชายหาดในเขตอำเภอท่าศาลา 
จังหวัดนครศรีธรรมราชและพบว่าภาพความงดงามของชายหาดเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเห็นตอนเป็น
เด็ก จึงได้ช่วยกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุและคิดค้นแนวทางแก้ปัญหา

หลังจากที่เด็กๆ ได้พบเห็นสภาพแวดล้อมในบ้านเกิดของตัวเองทรุดโทรมลง ก็เกิดแนวคิดว่า

ทั้งตัวเขาเองและผู้ที่มาเที่ยวพักผ่อนริมชายหาด ย่อมอยากเห็นหาดทรายขาวสะอาดและน้ำทะเลใส

เป็นเครื่องช่วยเติมพลังใจพลังกายคลายความเหนื่อยล้า แต่เมื่อชายหาดมีแต่สิ่งสกปรกก็จะทำให้

การท่องเที่ยวเสียหาย และยังส่งผลเสียต่อสุขภาวะทางใจและทางกายแก่ผู้อยู่อาศัยและผู้ที่พบเห็นอีกด้วย

เด็กๆ จึงได้ช่วยกันวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา โดยเริ่มหาข้อมูลในท้องถิ่นของตนเอง แล้วนำมาปรึกษาหา

รือเพื่อหาทางแก้ร่วมกันแล้วออกแบบเป็นกิจกรรมพร้อมกับดึงชุมชนเข้ามีส่วนร่วมนายอมรกล่าว

กลุ่มยุวพิทักษ์ฯ ที่ได้รับการอบรมเรื่องระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเล และผ่านการสำรวจข้อมูลทรัพยากรใน

ท้องถิ่นมาแล้ว ได้สรุปถึงปัญหาและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งว่ามีสาเหตุจากการ

จับจองพื้นที่ชายหาดเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตัว ทำร้านอาหารและมีการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล การประกอบ

อาชีพประมงพื้นบ้านโดยขาดการดูแลรักษาพื้นที่ให้สะอาดปลอดภัย มีการทิ้งเศษเปลือกหอยปูกุ้งแล

ะเศษอวนไว้ตามชายหาด การทำประมงรุกล้ำเขตชายฝั่งในระยะ 200 ไมล์ทะเลทำให้ระบบนิเวศน์เสียหา

ปัญหาองค์กรเอกชนที่มีการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่จนไม่เหลือความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมและยังรบกวน

ระบบนิเวศน์จนทำให้ความอุดมสมบูรณ์ในท้องทะเลลดลง จากข้อสรุปต่างๆ ของปัญหาจึงกลายมาเป็น

จุดเริ่มต้นของกิจกรรม ซึ่งเป็นการจัดการกับปัญหาใกล้ตัวของเยาวชนก่อนเป็นอันดับแรก

ด.ญ.เบญจมาศ พิศพรรณ์ หรือน้องมิว อายุ 14 ปี เยาวชนแกนนำเล่าว่า ปัญหาที่พบในท้องถิ่นของ

ตนเองคือ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยปลานานาชนิด เกิดการเน่าเสียเนื่องจากมีบางครัวเรือน

ที่เลี้ยงหมูได้ปล่อยของเสียจากคอกหมูลงสู่แหล่งน้ำจนทำให้ปลาตาย ชุมชนจึงขาดแหล่งอาหารที่สำคัญ

บ้านหลังหนึ่งปล่อยขี้หมูไหลลงในแหล่งน้ำ เพื่อนๆ เยาวชนจึงได้ช่วยกันอธิบายถึงปัญหาและ

ขอให้หยุดทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เพราะทำให้คนในชุมชนเดียวกันหลายสิบครอบครัว

ต้องเดือดร้อน แม้จะต้องไปขอความเห็นใจและอธิบายหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็สามารถแก้ปัญหาได้น้องมิว

เล่า ด้าน นายกฤษณะ สัจจาดุล หรือน้องกิมมี่ อายุ 18 ปี และนายนันทวุฒิ ช่วยชู หรือน้องเอ็กซ์ อายุ 18 ปี

แกนนำเยาวชนรุ่นพี่ซึ่งเข้าใจถึงปัญหาอย่างลึกซึ้งจากการเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคมตั้งแต่เรียนชั้น

มัธยมต้น กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เหล่ายุวพิทักษ์ที่พยายามแสดงพลังด้วยการจัดการกิจกรรมต่างๆ

เช่น เก็บขยะริมชายหาดและตามร้านอาหาร รวมถึงการทำถังขยะจากวัสดุธรรมชาติไว้ตามสถานที่ต่างๆ

ฯลฯ อาจดูเหมือนเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่แท้จริงแล้วยุวพิทักษ์ฯ หวังว่าเสียงเล็กๆ จะสะท้อนไกล

ไปถึงผู้ใหญ่ทุกคนในชุมชน ที่กำลังใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น ให้หันกลับมาใส่ใจ

และดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นและไม่เสื่อมโทรมลงไปกว่าเดิม เพราะหากปล่อยให้สิ่งแวดล้อมทรุดโทรม

สุขภาพกายและใจก็จะแย่ลงเพราะบ้านไม่น่าอยู่ อาชีพและวิถีชีวิตก็จะสูญสลายไปด้วย

พลังของเหล่ายุวพิทักษ์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยล่าสุด อบต.ท่าศาลาได้ออกกฎหมาย

ท้องถิ่นห้ามทำประมงในเขต 500 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ซึ่งถือเป็นผลงานแห่งความภาคภูมิใจที่เป็น

แรงพลังให้เด็กเร่งสร้างเครือข่ายเพื่อการดูแลรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเองต่อไป” 

อย่างน้อยประเทศไทยก็ยังมีต้นกล้าแห่่งความหวังในการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของผืนแผ่นดินไทย

ด้วยสองมือน้อยๆ ของเด็กๆ ของเรา ผิดกับผู้ใหญ่บางคนที่กอบโกยทรัพยากรธรรมชาติส่วนรวมด้วย

ความละโมบ เป็นกำลังใจให้เยาวชนทุกท่าน ในอนาคตคงได้ทำงานร่วมกัน