คู่มือการสืบสวนและทำสำนวนสืบสวนความผิดตามกฎหมายป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ

คู่มือการสืบสวนและทำสำนวนสืบสวน

ความผิดตามกฎหมายป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ


ตำรวจภูธรภาค 3

คำนำ

 

การสืบสวนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราตลอดเวลา โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่จะต้องมีการแข่งขันกัน ไม่ว่าจะในเชิงธุรกิจก็ดี การปฏิบัติงานราชการก็ดีหรือแม้แต่เรื่องการดำรงชีวิตส่วนตัวตามปกติก็ดีจะต้องมีการสืบสวนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในเชิงธุรกิจเราก็อาจจะต้องสืบสวนว่า ภาวการณ์ตลาดเป็นอย่างไร คู่แข่งทางธุรกิจนั้น กำลังจะดำเนินการอะไรที่แปลก เราจำเป็นต้องรู้   เพื่อที่จะหาวิธีการทางธุรกิจให้เท่าเทียมกัน หรือทำอย่างไรจึงจะได้เปรียบคู่แข่ง ในการปฏิบัติราชการก็เช่นกันเราจำเป็นที่จะต้องสืบสวน ให้รู้ว่าประชาชนต้องการอะไร ความรู้สึกหรือทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นอย่างไร ทำอย่างไรจะให้ประชาชนพอใจ เป็นต้น

ในทางอาชญวิทยานั้นการสืบสวนสอบสวนยิ่งมีความสำคัญสูงสุด   เพราะว่าการสืบสวนสอบสวนเป็นกระบวนการแรก ที่จะสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ต้องหา จำเลย และผู้ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากว่าการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐาน ที่เป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และวิธีการดำเนินการของพนักงานสืบสวนสอบสวน ย่อมเป็นประโยชน์ให้พนักงานอัยการและศาลดำเนินคดีไปด้วยความรวดเร็วและเที่ยงธรรม                 ตามคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่  160/2551   ลง  28  กุมภาพันธ์ 2551      แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการอบรมสัมมนาให้ความรู้และศักยภาพให้ผู้ปฏิบัติระดับสถานี กองบังคับการและกองบัญชาการ     ในการทำสำนวนการสืบสวน

ตำรวจภูธรภาค  3      ได้รับมอบหมาย ให้ดำเนินการ รับผิดชอบ จัดทำเอกสาร    ขอบเขตวิชาการสืบสวนและการทำสำนวนสืบสวน   ความผิด ตามกฎหมายป่าไม้ และทรัพยากรของชาติอื่นๆ   คณะทำงานของ ตำรวจภูธรภาค   3 ได้จัดทำคู่มือ การสืบสวนและการทำสำนวนสืบสวนนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในระดับสถานีตำรวจ กองบังคับการ และกองบัญชาการต่อไป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการสืบสวนและการทำสำนวนสืบสวน  ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี ผู้กระทำผิดอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

                                                                                                                  คณะทำงานตำรวจภูธรภาค  3

 

 

สารบัญ 

บทที่    1          สถานการณ์ป่าไม้  หลักการและเหตุผลในการบังคับใช้ กฎหมายป่าไม้

                         ทรัพยากรของชาติอื่นๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  

บทที่     2         ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้  ทรัพยากรของชาติอื่นๆ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

บทที่     3          การบันทึกรายงานการสืบสวนและการทำสำนวนสืบสวนความผิดเกี่ยวกับ

                           กฎหมายป่าไม้  ทรัพยากรของชาติอื่นๆ  

บทที่    4           ฝ่ายปกครองเข้าร่วมสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้  และ

                           ทรัพยากรของชาติอื่นๆ  

บทที่    5           ปัญหาข้อขัดข้องและแนวทางแก้ไข       

ภาคผนวก  

บรรณานุกรม   

 

   บทที่  1

หลักการและเหตุผลในการบังคับใช้ กฎหมายป่าไม้

ทรัพยากรของชาติอื่นๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

               ปัจจุบันป่าไม้ในประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 322 ล้านไร่ หรือประมาณ 511 , 936 ตาราง- กิโลเมตร เป็นพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 160 ล้านไร่ หรือราวๆ 50 %  ของเนื้อที่ของประเทศ  และในช่วง 40 ปีประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปถึง 67 ล้านไร่ หรือมีอัตราการสูญเสียเฉลี่ยปีละประมาณ 1.6 ล้านไร่

นอกจากทรัพยากรป่าไม้   แล้ว  ยังมีทรัพยากรของชาติอื่นๆ      ทำลาย  ในลักษณะการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย    ทั่งราษฎรในพื้นที่    นายทุนนอกพื้นที่   ตลอดทั้งนายทุนข้ามชาติ   ใช้อำนาจทางการเงินเข้ามาบ่อนทำลาย ป่าไม้   พื้นที่ป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ  ในรูปของขบวนการ     ทรัพยากรของชาติอื่นกรวดหินดิน ทราย   แหล่งน้ำ  ภูเขา   พรรณไม้  สัตว์ป่าสงวน  สัตว์ป่าคุ้มครอง   ต่างๆถูกทำลายแต่สถานการณ์ของทรัพยากรของชาติที่ถูกทำลายอย่างรุนแรงและเป็นสถานการณ์ที่อันตรายคือทรัพยากรป่าไม้

รัฐบาลได้เร่งรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและทำลายทรัพยากรป่าไม้ (คอป.) และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด รวมถึงนโยบายส่งเสริมการจัดการป่าโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รู้จักคุณค่าของป่าไม้ ดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกันซึ่งภาครัฐเองแม้จะมีมาตรการป้องกัน หรือมีบทลงโทษกับผู้กระทำผิดในการตัดไม้ทำลายป่า   แต่การบุกรุกทำลายป่าก็ยังมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง  จนน่าใจหาย และจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังเห็นได้จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ภาคเหนือ ซึ่งก็พบว่ามีไม้จำนวนมากได้มาพร้อมกับน้ำ  สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก

สิ่งที่สำคัญในการดูแล อนุรักษ์ผืนป่า ควรมีการตั้งองค์กรอิสระเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ด้วยการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์กับองค์กรเอกชน ให้เข้มแข็ง และให้อำนาจตรวจสอบพื้นที่ป่าสงวน เพื่อเป็นตัวแทนประชาชน พร้อมแพร่กระจายข่าวสารต่อเนื่อง ให้ประชาชนรับทราบ เป็นการตรวจสอบแทนสังคม เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนตื่นตัวอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักคุณค่าป่าไม้   และสุดท้ายประชาชนเองควรมีจิตสำนึกในการหวงแหน ช่วยดูแลรักษา   หากพวกยังละเลย ไม่ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม  มีการตัดไม้ทำลายป่า   ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นมากมาย  ทั้งในระบบนิเวศน์    บรรดาเหล่าสิ่งมีชีวิตได้รับความเดือดร้อน    ถึงเวลาแล้วที่เราควรดูแลรักษาป่าไม้และคุ้มครองสภาพแวดล้อมให้มีสภาพที่ดี เพื่อที่จะคงอยู่ถึงรุ่นลูกหลานต่อไป

                            สถานการณ์ป่าไม้

จากการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ เมื่อปี 2498-2500  ปรากฏว่าป่าไม้ตามแหล่ง

ต้นน้ำลำธารและตามเชิงเขาทั่วไปได้ถูกแผ้วถางทำไร่เลื่อนลอยเสียกว่า 20 ล้านไร่   ตลอดจนป่าไม้สักที่มีอยู่ก็ถูกบุกรุกครอบครองเป็นที่ทำกินอีกมิใช่น้อย และในระหว่างปี 2507-2511 ยังมีการลักลอบตัดฟันไม้สักเป็นปริมาณถึงปีละ 82,849 ลูกบาศก์เมตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   มี 15 จังหวัด นับตั้งแต่จังหวัด นครราชสีมาขึ้นไปมีเนื้อที่ป่าไม้อยู่ประมาณ 75,000ตารางกิโลเมตร     ในปี 2511 สามารถผลิตไม้กระยาเลยได้ประมาณ 974,954 ลูกบาศก์เมตร มีการลักลอบตัดฟันประมาณ 15,383 ลูกบาศก์เมตร                    ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าแล้ง และป่าเต็งรัง มี่ดินเหลวและขาดความชุ่มชื้น แต่กระนั้นก็ถูกบุกรุกทำไร่นากันทั่วไป อย่างเช่นป่าแถบดงพญาเย็นตามสองฟากถนนมิตรภาพซึ่งเคยมีป่าไม้ขึ้นปกคลุมเขียวชอุ่มอย่างหนาแน่นมาก่อน อันเป็นต้นน้ำลำธารลำตะคอง  และเทือกเขาอื่นซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี  ถูกถากถางทำไร่เป็นอย่างมาก
ภาคตะวันออก   มี 8 จังหวัด นับตั้งแต่นครนายก   ปราจีนบุรี  และฉะเชิงเทราลงไปมีเนื้อที่ป่าไม้เหลืออยู่ประมาณ 15,000 ตารางกิโลเมตร   เพราะได้สูญเสียไประหว่างใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อปี 2497 ถึงประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ป่าภาคนี้ นอกจากนั้นแล้วป่าไม้ภาคนี้      ยังถูกบุกรุกไปเรื่อยๆ จนกำลังผลิตป่าไม้ลดลงอย่างน่าวิตก กล่าวคือ เมื่อปี 2511 ทำไม้ออกเพียง  225,624 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งเมื่อปี 2509 ผลิตได้สูงถึง 302,283 ลูกบาศก์เมตร  และใน ระหว่างระยะเวลา 5 ปี ได้มีการลักลอบตัดฟันไม้ถึงปีละประมาณ 14,806 ลูกบาศก์เมตร
ภาคตะวันตก    มี8 จังหวัด นับตั้งแต่สมุทรสาคร นครปฐม และกาญจนบุรี ลงไปจน ถึงประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ป่าอยู่ราว 25,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบแล้ว ป่าเบญจพรรณคงมีปะปนอยู่บ้าง บางแห่งมีไม้สักขึ้นอยู่และเจริญเติบโตได้ดีเช่นในท้องที่ จ.กาญจนบุรี         พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดนี้ ส่วนมากเป็นป่าดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร การบุกรุกแผ้วถางทำไร่จึงมีอยู่ทั่วไป การบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำฟืน และเผาถ่านเป็นไปอย่างรุนแรงจน  ป่าบางแห่งถูกทำลายอย่างย่อยยับ แม้แต่ไม้เล็กไม้น้อยก็ถูกทำลายจนหมดสิ้น
ภาคใต้    มี 17 จังหวัด แต่ท้องที่สมบูรณ์มีเพียง 6 จังหวัด เท่านั้น คือ นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง ภาคนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 35,000 ตารางกิโลเมตร       สามารถทำไม้ออกในปี 2511 ได้ 425,225 ลูกบาศก์เมตร     ไม้ที่ถูกลกลอบตัดฟันมีประมาณ  47,938 ลูกบาศก์เมตรปริมาณไม้ที่ทำออกได้นี้รวม ทั้งไม้ที่ถูกลมพายุ พัดหักโค่น ปี 2505 และ       การไม้ออกจากพื้นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง และที่ดินจัดสรรอื่นๆด้วย ตามปกติแล้วภาคนี้จะผลิต ไม้ได้ประมาณปีละ 170,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปี พ.ศ. 2532 พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ได้ถูกบุกรุกทำลายในอัตราเฉลี่ยปีละ 5,572.76 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 3,482,475 ไร่ โดยที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจว่า ประเทศไทยต้องอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ไว้มิให้ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 127 ล้านไร่ ด้วยเหตุผลที่ว่าความต้องการใช้ไม้ของประชาชนมีความสัมพันธ์ กับความสามารถในการเพิ่มพูนรายปีของป่าไม้ อันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ            จากหลักการข้างต้นนี้ ควรจะแสดงตัวเลขบางประการเพื่อให้เห็นได้ชัดเกี่ยวกับพื้นที่ ป่าไม้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามแนวการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศ อันเป็นเหตุทำให้ทรัพยากรป่าไม้ลดลงไปทุกที โดยที่ประเทศไทย     มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ 513,112.02 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 321 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ประมาณ 160 ล้านไร่ และเป็นพื้นที่ป่าถาวรประมาณ 161 ล้านไร่ แต่ปรากฏว่า

– ปี พ.ศ. 2504 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 171 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 53.33 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 138.6 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.21 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2518 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 128.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2519 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 124 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 38.67 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2521 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 109.5 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 34.15 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2525 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 97.9 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 30.52 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2528 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 97.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2531 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 89.8 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.0 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2532 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 89.6 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 85.4 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.64 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 83.5 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.03 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 82.18 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.62 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
– ปี พ.ศ. 2541 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 81 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.28 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

ดังกล่าวข้างต้นและมีเหลืออยู่ในปี 2541 ประมาณ 81 ล้านไร่ หรือประมาณ 25.28 % ของเนื้อที่ประเทศ เนื้อที่ป่าไม้ลดลงประมาณ 89.9 ล้านไร่หรือประมาณ 52.59 % จากปี 2504

 

                สถานการณ์ป่าไม้ที่สำคัญและเร่งด่วนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

วิกฤติการณ์”ไม้พะยูง

จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช “พะยูง” สำหรับเมืองไทยเป็น 1 ใน 9 ของ “ไม้มงคล” ที่มีการใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์ นอกเหนือจาก ราชพฤกษ์ ที่เชื่อว่ามีความหมายถึงความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา, ขนุน หมายถึงหนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน, ชัยพฤกษ์ หมายถึงการมีโชคชัย ชัยชนะ, ทองหลาง หมายถึงการมีเงินมีทอง, ไผ่สีสุก หมายถึงมีความสุข, ทรงบาดาล หมายถึงความมั่นคง หรือทำให้มั่นคงแข็งแรง, สัก หมายถึงความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ, กันเกรา หมายถึงป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง
ขณะที่ “พะยูง” เชื่อว่ามงคลคือพยุงฐานะให้ดีขึ้นในทางวิชาการพฤกษศาสตร์ พะยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dalbergia cochinchinensis Pierre อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOI DEAE ชื่อสามัญ Siamese Rosewood และมีชื่อไทยชื่ออื่น เช่น… พะยุง, ขะยุง, แดงจีน, ประดู่เสน     ข้อมูลจากแหล่งอื่นยังมีชื่ออื่น ๆ ตามแต่พื้นที่ เช่น…พะยูงไหม, ขะยูง, ประดู่ตม, ประดู่ลาย, กระยง, กระยูง, หัวลีเมาะ (จีน) เป็นต้น
ในทางนิเวศวิทยา พะยูงจะขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ในประเทศไทยจะมีมากในป่าทางแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล่าสุดที่มีการจับได้ถูกนำมาจากสุรินทร์, บุรีรัมย์) และภาคตะวันออก   นอกจากชื่อมงคลแล้ว เนื้อไม้พะยูงที่มีสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อจะละเอียด แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดีเป็นไม้ที่นิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และอื่น ๆ        ทั้งนี้ จากข้อมูลที่เปิดเผยสื่อโดยสำนักงานส่วนป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากในไทยที่เชื่อว่า “พะยูง” เป็นไม้มงคล และลวดลายไม้เป็นที่ชื่นชอบแล้ว คน สิงคโปร์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, จีน ก็สนใจไม้พะยูงมาก โดยเฉพาะ “จีนเป็นตลาดใหญ่” เพราะก็มีความเชื่อในเรื่องการเป็นไม้มงคลเช่นกัน ในจีนไม้พะยูงถูกใช้ทำเป็นสิ่งต่าง ๆ มากมายสารพัดชนิด           สำหรับเมืองไทยปัจจุบัน ไม้พะยูงซึ่งโตช้า ใช้เวลานานเป็น สิบ ๆ ปี เริ่มจะหายาก ดังนั้นจึงมีขบวนการลักลอบตัดในพื้นที่ป่าสงวน-ป่าอนุรักษ์ ลักลอบส่งขายต่างชาติ โดยเฉพาะตั้งแต่ 1-2 ปีที่แล้วจนปัจจุบัน โดยไม้พะยูงในพื้นที่ป่าแถบอีสานตอนล่างกำลังตกเป็นเป้าใหญ่ เพราะเนื้อไม้มีแก่นและลวดลายสวยงามเป็นพิเศษ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องนำมาบังคับใช้ในการกระทำผิดเกี่ยวกับ กฎหมายป่าไม้ และทรัพยากรของชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อว  เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้  พ.ศ.2484 , พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ,  พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535,   พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 และพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ฯลฯ

 

 

บทที่  2

                พระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญา  ฐานความผิด   บทกำหนดโทษ  ที่เกี่ยวข้องกับ  การกระทำความผิดตามกฎหมายป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ

 

การกระทำความผิด  ที่กฎหมายบัญญัติและกำหนดโทษไว้  ตาม กฎหมายป่าไม้ และ กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรของชาติอื่นๆ    มี   พระราชบัญญัติหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง      ดังนี้

1.   ความผิด ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

¨    มาตรา 11 ฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต (เป็นชนิดไม้สัก – ไม้ยาง ไม้หวงห้าม

ประเภท ข หรือไม้เกินยี่สิบท่อน หรือรวมเกิน 4 ลบ.ม.  (บทกำหนดโทษ มาตรา 73)

¨    มาตรา 69 ฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต

¨    มาตรา 12 ฐานผู้รับอนุญาตทำไม้ต้นที่ไม่มีรอยตราอนุญาต (บทกำหนดโทษ มาตรา 73)

¨    มาตรา 13 ฐานผู้รับอนุญาตทำไม้ต้นที่โตต่ำกว่าขนาดจำกัด (บทกำหนดโทษ มาตรา 73)

¨    มาตรา 31 ฐานตัดหรือโค่นต้นยวนผึ้ง หรือต้นไม้ที่ผึ้งจับทำรังอยู่ (กรณีรวงผึ้งเป็นของป่า

หวงห้าม) (บทกำหนดโทษ มาตรา 73)

¨    มาตรา 48 ฐานภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ แปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้ง

โรงค้าไม้แปรรูป ไว้ในครอบครอง ไม้สัก-แปรรูป (ไม่จำกัดจำนวน) ครอบครองไม้หวงห้ามแปรรูปชนิดอื่นเกิน 0.20 ลบ.ม. โดยไม่ได้รับอนุญาต (รวมถึงการกระทำแก่ไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร) (บทกำหนดโทษ มาตรา 73)

¨    มาตรา 54 ฐานก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือเข้ายึดถือครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

(ศาลมีอำนาจสั่งให้ออกไปจากป่าได้) เนื้อที่เกิน 25 ไร (บทกำหนดโทษ มาตรา 72)

¨    มาตรา 51 ฐานผู้รับอนุญาตรับโรงงานแปรรูปไม้ โรงค้าไม้แปรรูป หรือทำการแปรรูป

ไม้ชั่วคราว มีไม้ไว้ในครอบครอง (นอกจาก 5 กรณี) ในสถานที่ได้รับอนุญาต (เป็นชนิดไม้สัก ไม้ยาง ไม้หวงห้ามประเภท ข หรือไม้อื่นเกิน 5ต้น/ท่อน หรือปริมาตรเกิน 1 ลบ.ม. (บทกำหนดโทษ มาตรา 72)

¨    มาตรา 29 ฐานเก็บหาหรือทำอันตรายของป่าหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต(บทกำหนด

โทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 29  ฐานค้าของป่าหวงห้ามหรือมีของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐ

มนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต  (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨     มาตรา 38 ฐานนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ หรือไม่มีหนังสือกำกับไม้

¨    มาตรา 39  ฐานนำไม้สักที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้างมาแล้วเกินกว่า 5 ปี ออกนอกเขตจังหวัด

โดยไม่ได้รับอนุญาต (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 40 วรรคหนึ่ง  ฐานนำไม้หรือของป่าเข้าเขตด่านป่าไม้ ไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ภายในกำหนด (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 43 วรรคสอง  ฐานผู้มิใช่เจ้าของไม่เก็บไม้ไหลลอยโดยไม่ได้รับอนุญาต (ภายใน

เขตควบคุมไม้ในลำน้ำ) (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 53  ฐานผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ หรือตั้งโรงค้าไม้แปรรูปไม่อำนวยความ

สะดวกในการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 41 ฐานนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ในเวลากลางคืนโดยไม่ได้รับ

อนุญาต (บทกำหนดโทษ มาตรา 72)

¨    มาตรา 52  ฐานผู้รับอนุญาตแปรรูปไม้ในเวลากลางคืนโดยไม่ได้รับอนุญาต (บทกำหนด

โทษ มาตรา 72)

¨     มาตรา 70 ฐานรับไว้ ซ่อนเร้น จำหน่วยหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้น ซึ่งไม้หรือของป่าที่ตนรู้

อยู่แล้วได้มากการกระทำผิด

¨    มาตรา 53 ตรี ฐานภายในเขตควบคุม ค้าหรือมีไว้เพื่อค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้ที่ทำด้วย

ไม้หวงห้ามที่มีชนิดไม้ขนาดปริมาณเกินที่รัฐมนตรีกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต (บทกำหนดโทษมาตรา 73)

¨     มาตรา 58 ฐานผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือข้อกำหนด

(บทกำหนดโทษ มาตรา 73)

¨    มาตรา 35 ฐานตราประทับไม้ของเอกชน ใช้ประทับไม้โดยไม่จดทะเบียนและไม่ได้รับ

อนุญาตวิธีทำลายตรา (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 36 ฐานตราประทับไม้ของเอกชน สูญหายต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็น

หนังสือภายในไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันรู้ (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 44 ฐานผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอยต้องเก็บและรักษาไม้ ตามกฎกระทรวงและให้

มอบไม้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยมิชักช้า (บทกำหนดโทษ มาตรา 71)

¨    มาตรา 57 ฐานผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีใบคู่มือคนงานหรือผู้รับจ้าง (บทกำหนดโทษ

มาตรา 71)

  2.ความผิดตาม     พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ   พ.ศ. 2507

¨    มาตรา 14 ฐานยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง

แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บของป่าทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต (มียกเว้น 2 ข้อ)(บทกำหนดโทษ มาตรา 31)

¨    มาตรา 33?? ฐานทำให้เสียหาย ทำลายหลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมายที่ชัดเจน ให้

มีตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เสียหาย

¨    มาตรา 18 ฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด (บทกำหนดโทษ มาตรา 33 ทวิ)

¨    4.มาตรา 25,(1) (2) ฐานขัดคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการมาตรา 25(1) หรือ (2)

(บทกำหนดโทษ มาตรา 33 ทวิ)

¨    มาตรา 24, 32 ฐานผู้รับอนุญาตไม่จัดให้คนงานหรือผู้แทนมีใบคู่มือคนงาน

(บทกำหนดโทษ มาตรา 32)

¨    มาตรา 34 ฐานรับไว้ ซ่อนเร้น จำหน่วย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ่งไม้หรือของป่า

ที่ตนรู้อยู่แล้วว่าไม้มาโดยการกระทำผิด

 3 . ความผิดตาม  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504

¨    มาตรา  16    ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ   ห้ามมิให้บุคคลใด

(1)   ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน  รวมตลอดถึง ก่นสร้าง   แผ้วถาง หรือเผาป่า

(2)       เก็บหา  นำออกไป ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้

ยางไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่ หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น

(3)       นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สัตว์

(4)       ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด ทราย

(5)       เปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้ง

(6)       ปิดหรือทำให้กีดขวางทางน้ำหรือทางบก

(7)       เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ  ซึ่ง

กล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้  เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว

(8)       เก็บหรือทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่ดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้

(9)       นำยานพาหนะเข้าออกหรือขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น

(10)นำอากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น

(11)นำหรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป

(12) นำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไป

(13)เข้าไป ดำเนินกิจการใดๆเพื่อหาผลประโยชน์

(14)ปิดประกาศ  โฆษณา หรือขีดเขียนในที่ต่างๆ

(15)นำเครื่องสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์เข้าไป

(16)ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิด หรือจุดดอกไม้เพลิง

(17)ส่งเสียงอื้อฉาวหรือกระทำการอื่นอันเป็นการรบกวนคนหรือสัตว์

(18)ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งอื่นในทีที่ไม่ได้จัดไว้เพื่อการนั้น

(19)ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง

บทกำหนดโทษ   มาตรา  24   ฝ่าฝืน มาตรา  16(1),(2),(3),(4) หรือ  (5)     ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกิน 5 ปี   หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทกำหนดโทษ  มาตรา  25   ฝ่าฝืน  มาตรา  16(6),(7),(9),(10),(17) หรือ 18ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  1 เดือน หรือปรับไม่เกิน  1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 4 . ความผิดตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535  

¨    มาตรา 16   ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง(บทกำหนดโทษมาตรา

¨    มาตรา 19  ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในความครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน   สัตว์ป่าคุ้มครอง

ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง

¨    มาตรา  20 ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง  ซากของสัตว์ป่าสงวน

ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ของซากสัตว์ดังกล่าว

¨    มาตรา  23   นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีกำหนด

หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่าสงวน    สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว

บทกำหนดโทษ  มาตรา   47   ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน  4  ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

¨    มาตรา  25 นำสัตวป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่ของผู้ได้รับอนุญาตค้า

โดยไม่ได้รับอนุญาต     บทกำหนดโทษ มาตรา  52  ปรับไม่เกิน  5,000 บาท

6. ความผิดตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 

 

¨    มาตรา  47  ขัดขวางไม่อำนวยความสะดวก ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การเข้าดำเนินการตาม

มาตรา  23 และ  มาตรา  27 พ.ร.บ.ฯ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

7 . ความผิดตาม พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545

¨    มาตรา 17 ฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งหรือวรรคสี่ (การมี การผลิต

การนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ผู้รับใบอนุญาตให้ผลิตเลื่อยโซ่ยนต์ ผู้รับใบอนุญาตให้ผลิตเลื่อยโซ่ยนต์จัดทำบัญชีและหมายเลขตามกฎกระทรวง)

¨    มาตรา 18 ฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสี่ (เปลี่ยนแปลงให้

มีกำลังเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้น)

¨    มาตรา 19 ฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 หรือมาตรา 8 (เปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้มี

หรือใช้เลื่อยโซ่ยนต์หรือการนำออกไปใช้นอกพื้นที่แตกต่างจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

¨    มาตรา 20 ฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 (ผู้มีเลื่อยโซ่ยนต์ต้องมีใบอนุญาตหรือ

สำเนาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทันที)

¨    มาตรา 21 ฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 (ห้ามซ่อมแซมเลื่อยโซ่ยนต์เป็นธุรกิจ

เพื่อสินจ้างและซ่อมแซมได้เฉพาะเลื่อยฯที่ถูกต้อง

8.  ความผิดตาม พระราชบัญญัติแร่  พ.ศ.2510 

¨    มาตรา  43   ทำเหมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต  บทกำหนดโทษ  มาตรา  135  ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกิน  3  ปี หรือปรับไม่เกิน   30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

¨    มาตรา  105 มีแร่ไว้ในความครอบครองแต่ละชนิดเกินกว่า สองกิโลกรัม ในเขตควบคุมแร่

โดยไม่ได้อนุญาต  บทกำหนดโทษ มาตรา 148  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1  ปี ถึง  5 ปี หรือปรับสองเท่าถึงหกเท่าของมูลค่าแร่

¨    มาตรา  108 ขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต    บทกำหนดโทษ มาตรา 148  ต้องระวางโทษจำ

คุกตั้งแต่ 1  ปี ถึง  5 ปี หรือปรับสองเท่าถึงหกเท่าของมูลค่าแร่

9. ความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469

¨    มาตรา  27   นำหรือพาส่งของต้องห้ามต้องจำกัด เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่าน

ศุลกากรเสียภาษี    หรือให้ที่เก็บ หรือซ่อนสิ่งของนั้น   ต้องระวางโทษปรับ สี่เท่าราคาของรวมอากร หรือจำคุกไม่เกิน  10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

¨    มาตรา  27 ทวิ      รับไว้ด้วยประการใดๆ   ซึ่งสิ่งของ ต้องห้ามต้องจำกัด เข้ามาในราช

อาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรเสียภาษี   ต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่า ราคาของรวมค่าอากรหรือจำคุกไม่เกิน  5 ปี  หรือทั้งจำทั้งปรับ

¨    มาตรา  99  ทำหรือจัดหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ หรือยื่น หรือจัดให้ผู้อื่นยื่นซึ่งใบขนสินค้า

คำแสดง ใบรับรอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นความเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน  (แสดงเท็จ หรือสำแดงเท็จ)

10. ความผิดตาม พระราชบัญญัติที่มีทางอาญา อื่น ที่เกี่ยวข้อง 

      –  ประมวลกฎหมายที่ดิน   มาตรา  9 ,  มาตรา  108

      –   พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านไทย  พ.ศ.2456

      –   ฯลฯ

*************************

               

  แนวทางการปฏิบัติการตรวจปราบปรามและการดำเนินคดี

1. การตัดไม้

เนื่องจากปรากฏว่า   เมื่อมีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้เกิดขึ้นแต่ไม่อาจนำตัวผู้กระทำผิดผิดมาลงโทษได้อยู่เสมอ   ทั้งนี้เพราะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง   ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินคดีไม่เป็นผลนั้น    อาจมีสาเหตุมาจากการบกพร่องในการเขียนบันทึกจับกุมของเจ้าหน้าที่    จึงขอแนะนำแนวทางซึ่งควรปฏิบัติในการบันทึกจับกุมหรือกล่าวโทษดำเนินคดีไว้เป็นแนวทางดังต่อไปนี้

1. เกี่ยวกับชื่อที่อยู่หรือภูมิลำเนา ของผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องสงสัย ถ้ากรณีที่ไม่ทราบตัวผู้กระทำผิดร่องรอยต่างๆ และสภาพแวดล้อมควรจะได้บันทึกไว้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการสืบหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป การระบุชื่อผู้กระทำผิดเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินคดีกรณีที่มีการกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้กระทำผิดอาจเป็นตัวการหรือสมรู้ด้วย แล้วแต่การสืบสวนว่าบุคคลนี้ได้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดเพียงใด กรณีที่มีการตัดไม้หลายต้นแต่ได้ตัวผู้ต้องหาคนเดียวยังไม่เรียกว่าได้ตัวผู้กระทำผิดโดย

แท้ ควรจะได้สอบสวนผู้ต้องหานั้นต่อไปว่าทำไม้อย่างไร ใช้เครื่องมือหรือใครเข้ามาช่วยเหลือด้วย สิ่งเหล่านี้อาจยึดโยงไปหาผู้กระทำผิดได้อีก

2.  เกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุและเวลากระทำผิด  จะต้องมีการกล่าวโทษใครเป็นเจ้าของสถานที่ ผู้เป็นเจ้าของเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือมีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดเพียงใดลักษณะโดยละเอียดของสถานที่นั้นเป็นอย่างใด   เช่นในน้ำ   ที่ควรระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นอู่เพื่อเก็บไม้หรือแม่น้ำลำ

คลองมีขอบเขตอย่างไร  มีน้ำมากน้อยเพียงใด    รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆนี้ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่การดำเนินคดีมาก    พยายามบันทึกให้ชัดเจนพอที่ผู้ซึ่งไม่เคยเข้าไปในสถานที่นั้นเลยสามารถมองเห็นภาพสถานที่นั้นได้  และสิ่งจัดทำแผนที่สังเขปประกอบเรื่องที่กล่าวโทษได้ทุกเรื่องก็เป็นการดี    ส่วนเวลาก็เป็นไปตามหลักสากล    หากจำเป็นมืดหรือสว่างเพียงใด

3. ของกลางต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นไม้ผิดกฎหมาย เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือทรัพย์สินสิ่งของอย่างอื่นที่ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิดก็ควรบันทึกให้สอดคล้องกับข้อกล่าวหา เช่น ฟ้องฐานนำไม้เคลื่อนที่ไม่มีใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ การบรรยายในการนำเคลื่อนที่ต้องประกอบด้วยไม้ของกลางเป็นไม้ชนิดใด จำนวนและปริมาตรเท่าใด ยานพาหนะผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ หรือควบคุมนำมาจากไหนไปไหนดังนี้เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้กรมป่าไม้มีระเบียบเกี่ยวกับการนับจำนวน วัดขนาดไม้ของกลางอยู่ชัดแจ้งแล้ว แต่ในการดำเนินคดีหากจำเป็น    จะต้องระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะและสภาพไม้ด้วยเพื่อสอดคล้องกับการกล่าวโทษก็ควรระบุให้ชัดเจน เช่น มีการกล่าวอ้างว่าเป็นไม้เก่าใช้แล้วก็ต้องบรรยายสภาพไม้หักล้างว่าไม้นั้นยังไม่ได้ใช้โดยมีเหตุผลประกอบ สำหรับเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะต่างๆ แม้ไม่มีระเบียบกรมป่าไม้วางไว้ เรื่องการเรียกชื่อนับจำนวน แต่ก็โดยสภาพสิ่งเหล่านี้เองเจ้าหน้าที่อาจบรรยายเครื่องมือเครื่องใช้ได้ชัดเจน เช่น ชื่อทะเบียนต่างๆ สี ยี่ห้อหรือเครื่องหมายเหล่านี้เป็นต้น

4. การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าการกระทำผิดนอกจากสถานที่ เวลาดังกล่าวมาแล้วการบันทึกหรือการกล่าวโทษจะต้องมีการมุ่งหมายหรือทราบเป็นประการแรกว่าการกระทำผิดฐานใดแล้วบรรยายการกระทำผิดในบันทึกให้ตรงกับความผิดที่กล่าวหานั้น การกระทำผิดที่จะเป็นการผิดกฎหมายต้องประกอบด้วย

4.1  ไม่มีอำนาจได้ตามกฎหมาย เช่น ไม่มีใบอนุญาตหรือกฎหมายไม่ยกเว้นไว้

4.2  ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำผิดและมีบทกำหนดโทษไว้

4.3  มีเจตนากระทำผิดหรือไม่เพียงใด

2.  การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้

2.1     การดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ขั้นตอนการ

ดำเนินการ ดังนี้

2.1.1  กำหนดแผนงานการปฏิบัติงาน โดยการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงาน

2.1.2  เมื่อพบการกระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เกี่ยวกับไม้เจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำผิด แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

–  ในที่เกิดเหตุไม่พบผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้

–  ในที่เกิดเหตุพบว่ามีบุคคลอยู่ในที่เกิดเหตุ ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบไม้ดังกล่าวว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถ้าเป็นไม้ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้เจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาในการกระทำผิดให้บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุทราบเพื่อดำเนินคดีต่อไป

2.1.3 เจ้าหน้าที่ทำการจับกุม ตรวจสอบชนิดไม้ว่าเป็นไม้หวงห้ามชนิดใดจาม พระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม เพื่อคิดคำนวณค่าภาพหลวงเป็นเงินค่าเสียหายของรัฐ

2.1.4 แจ้งข้อกล่าวหาเพื่อกำหนดโทษความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484   ตามความผิด  ตามฐานความผิดที่กำหนดไว้ในกฎหมายป่าไม้

2.1.5  รวบรวมพยานหลักฐานในการกระทำผิดส่งพนักงานสอบสวน (ตำรวจท้องที่) เพื่อดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป

2.1.6  ส่วนไม้ของกลางให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ดำเนินการชักลากนำมาเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย (ส่วนไม้ท่อนของกลางที่มีจำนวนมากขอความร่วมมือองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ดำเนินการชักลากมาเก็บรักษาไว้ที่ปลอดภัยต่อไป)

2.1.7  ส่วนไม้ของกลางที่เก็บรักษาไว้ในระหว่างคดี ขอรับความเห็นชอบจากพนักงานสอบสวนต่อไป (ตำรวจท้องที่) เพื่อดำเนินการจำหน่ายไม้ของกลางให้แก่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต่อไป

– 13  –

2.1.8  ในส่วนคดีที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจะต้องหาพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดโดยให้หาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อดำเนินคดีให้ได้

2.1.9  ระบุสถานที่เกิดเหตุว่าอยู่ในเขตป่าไม้ประเภทใด

ขั้นตอนการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบุกรุกแผ้วถางป่า  ดังนี้

กำหนดแผนการปฏิบัติงานโดยการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงาน

1.  เมื่อตรวจพบการกระทำผิดการบุกรุกแผ้วถางป่าเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจพบการกระทำผิดแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1.1          ในที่เกิดเหตุไม่พบผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ให้เจ้าหน้าที่ทำการ

ตรวจสอบและ ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ (พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 54 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 54 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง)

1.2          ในที่เกิดเหตุพบว่ามีบุคคลอยู่ในที่เกิดเหตุ ให้เจ้าหน้าที่ขอตรวจเอกสารสิทธิ์ ที่

ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากไม่มีเอกสารสิทธิ์ให้แจ้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4, 54, 55 และ 72 ตรี และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และ 31

2.เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับกุม หรือตรวจพบการกระทำ  ต้องใช้เครื่องมือหาค่าพิกัด

(เครื่องมือG.P.S)     ในการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าหรือไม่

3.ให้ทำการรังวัด  คำนวณพื้นที่ที่เกิดเหตุ  และ ตรวจสอบพื้นที่ว่าอยู่ในชนิดป่าโซนใด

เพื่อคำนวณค่าเสียหายของรัฐ  หากเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1  และ ชั้น 2  ให้คิดค่าเสียหายไร่ ละ 150,000 บาท

หากเป็นป่าที่มิใช่ป่าต้นน้ำลำธารให้คิดค่าเสียหายไร่ละ 68,244.22  บาทและมีหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ที่ ทส 0911.2/2181  ลงวันที่    6 กุมภาพันธ์  2547  เรื่อง แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการหลังการทำลายป่าไม้   มาเพื่อถือปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่  1ตุลาคม 2547   เป็นต้นไป

4.หากเจ้าของมีหลักฐานเอกสารสิทธิ์ น.ส. 3 ก หรือโฉนดที่ดิน ให้ตรวจสอบการได้

มาของเอกสาร ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ท้องที่จังหวัดนั้น ว่าเอกสารดังกล่าว ออกตามมาตรา 58 ทวิ 59 ทวิ หรือ มาตรา  59 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หากออกตามมาตรา 58 ทวิ หรือ มาตรา 59 ทวิ โดยไม่มีหลักฐานเดิม เช่น สค.1  หรือใบจอง ให้สันนิษฐานว่าเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากมีหลักฐานเดิม คือ สค.1 และออกตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินให้ สันนิษฐานว่าออกโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็น ส.ค.1 ที่ตรงกับตำแหน่งที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ หากมีข้อสงสัยก็ให้ใช้ภาพถ่ายทางอากาศในการตรวจสอบ

5.   แจ้งข้อกล่าวหา เพื่อกำหนดโทษความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช   2484 มาตรา 54 และมาตรา  55  พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มาตรา 14 และ 31

6.รวบรวมพยานหลักฐาน นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย

7.แสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม  เพื่อเพิ่มน้ำหนักพยาน

8.ระบุสถานที่เกิดเหตุ  อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ประเภทใด

3. การดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ

เมื่อพบการกระทำผิด พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ.2504 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ในคดีที่มีความผิดบางมาตรา เช่น มาตรา 16(8) และ 16( 12)-16(19) มีขั้นตอนในการปฏิบัติ

1.  แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้กระทำผิด ชี้แจงข้อกฎหมายพร้อมทำบันทึกให้ผู้กระทำผิดรับทราบข้อกล่าวหา ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหาต่อหน้าพยาน

2.  บันทึกให้ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบปรับได้ และลงบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน

3.  ปรับเงินตามอัตราในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ) โดยออกใบเสร็จรับเงิน ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงนามรับเอกสารไป

4.  บันทึกลงรายละเอียดในสาระบบ คดีของอุทยานแห่งชาติ

5.  นำเงินส่งเป็นรายได้อุทยานแห่งชาติ

6.  รายงานคดีต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

4. แนวทางการปฏิบัติเมื่อพบการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ เช่น การตัดไม้ การล่าสัตว์ป่า บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ รถยนต์บรรทุกไม้ฯ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

4.1 พบการกระทำผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกกรณี มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

4.1.1  แสดงตนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการหรือแจ้งสายด่วน 1362 (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช)

4.1.2  ขอตรวจสอบเมื่อพบว่าเป็นความผิดให้ควบคุมผู้ต้องหาพร้อมของกลางไว้

4.1.3  จัดบันทึกการตรวจยึดจับกุม (โปรดดูตัวอย่าง) ลงรายละเอียดตามข้อเท็จจริง เช่น

(1)  ชื่อคณะเจ้าหน้าที่ ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด ทุกคน

(2)  ชื่อ นามสกุล อายุ ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ของผู้กระทำผิด (ผู้ต้องหา)

(3)  เขียนเหตุการณ์ที่พบอย่างละเอียด

(4)  ตรวจสอบ วัด ขนาด ชนิด จำนวน ของกลาง เช่น ถ้าบุกรุกพื้นที่จำนวนเท่าใดไร่ไม้แปรรูป จำนวนแผ่นฯ

(5)  ลงจุดพิกัดที่เกิดเหตุ ระบุใช้เครื่องมือใดตรวจสอบ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าประเภทใด

(6)  แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้กระทำผิดทราบว่าผิดตามกฎหมายใด ยอมรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธ

(7)  มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่รับผิดชอบ นำผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ และจัดการกับของกลางตามระเบียบต่อไป

(8)  สถานที่เกิดเหตุ หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าประเภทใด

(9)  วัน เดือน ปี เวลา ที่เกิดเหตุ

(10)  จัดทำแผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่เกิดเหตุ

(11)  ลงจุดเกิดเหตุในแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1: 50,000 โดยใช้เครื่อง GPS หาค่าพิกัด (ถ้ามี)

(12)  จัดทำบัญชีของกลาง (ถ้ามี)

(13)  จัดทำบัญชีไม้ของกลาง (ถ้ามี)

(14)  ลงจุดเกิดเหตุในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (ถ้ามี)

(15)  ลงจุดเกิดเหตุในแผนที่ท้ายกฎกระทรวงในกรณีเป็นป่าสงวนแห่งชาติ (ถ้ามี)

(16)  พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 พร้อมบัญชี(ถ้ามี)

(17)  พระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2530 พร้อมบัญชี(ถ้ามี)

(18)  กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 พร้อมบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง (ถ้ามี)

(19)  อ่านให้ผู้เกี่ยวข้องฟังหรืออ่านเองเมื่อถูกต้องแล้วให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานทุกคน (ผู้ต้องหาและคณะเจ้าหน้าที่)

4.1.4                   ถ่ายภาพที่เกิดเหตุ  ผู้ต้องหา  ของกลางในที่เกิดเหตุประกอบ

4.1.5                   รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน

4.1.6                   ขอสำเนาประจำวัน  เลขคดี  เลขบัญชียึดทรัพย์

4.1.7                   รายงานผู้บังคับบัญชา

4.1.8                   ติดตามผลคดีเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสินบนรางวัลต่อไป

 

 

บทที่  3

การเขียนบันทึกการสืบสวนและการทำสำนวนสืบสวน

                   การสืบสวน (Investigation)    หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด  (ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(10) )

                   เขตอำนาจการสืบสวนคดีอาญา

¨    “เขตอำนาจ”ในการสืบสวนคดีอาญาตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้

โดยตรง

¨    คำพิพากษาฎีกาที่ 140/2490 ว่า “ตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร”

                     การสืบสวน คือ การเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง

1. เพื่อให้รู้เรื่อง

2. เพื่อให้รู้ตัวผู้กระทำผิด, คู่กรณี และผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. เพื่อให้รู้วิธีการในการกระทำผิดว่าเป็นอย่างไร

4. เพื่อให้รู้ว่าผู้กระทำผิดหลบหนีไปอยู่ที่ใด รวมทั้งทรัพย์สินที่ได้มา มีไว้ หรือใช้ในการกระทำผิดว่าอยู่ที่ใด การตรวจสอบต้องชัดเจน บางครั้งบุคคลอาจจะมีชื่อและนามสกุลซ้ำกันได้

                    การเขียนบันทึกการสืบสวน     หลักจากสืบสวนเสร็จสิ้นแล้ว  มีการเขียนบันทึกหรือรายงานการสืบสวน  เสนอหัวหน้าพนักงานสอบสวน  เพื่อทราบพิจารณาสั่งการต่อไป   เพียงเท่านั้น

                การทำสำนวนการสืบสวน      ตามในสั่งการ หนังสือ ตร.  ด่วนมาก ที่  0031.212/4501    ลง  3   ตุลาคม  2550    เรื่องแนวทางปฏิบัติในการรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ   การบันทึกคดี(ออกเลขคดี) การสอบสวนคดีไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดและการรายงานคดี     –    ปรากฏการทำสำนวนการสืบสวน   เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีหน้าที่ในการสืบสวน ปราบปราม นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

  1. 1.    เอกสารประกอบในสำนวนการสืบสวนคดีต่างๆ

รายงานการสืบสวน

เอกสารข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ ผู้กล่าวหา/ผู้เสียหาย/ผู้ตาย

เอกสารข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ต้องหา

เอกสารข้อมูลมั่วไปเกี่ยวกับพยานที่เกี่ยวข้อง

เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับพยานเอกสารและพยานวัตถุ

เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้าย

บันทึกพนักงานสืบสวน

บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ

แผนที่เกิดเหตุ

เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง   เช่น ข้อมูลท้องถิ่น ประวัติบุคคลพ้นโทษ  ฯลฯ

เอกสารการโต้ตอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำเนาการรับคำร้องทุกข์

บัญชีท้ายรายงานการสืบสวน

  1. 2.    หนังสือสั่งการ ตร.และตัวอย่างเอกสารในสำนวนการสืบสวน

2.1  ด่วนมาก ที่  0031.212/4501    ลง  3   ตุลาคม  2550    เรื่องแนวทางปฏิบัติในการรับคำ

ร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ   การบันทึกคดี(ออกเลขคดี) การสอบสวนคดีไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดและการรายงานคดี

                2.2 ตัวอย่างรายงานการสืบสวน

                2.3  ตัวอย่างบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา

                2.4  ตัวอย่างบันทึกการจับกุม(ไม่มีหมายจับ)

                2.5  ตัวอย่างบันทึกแจ้งข้อกล่าวหากรณีผู้ต้องหาเข้ามอบตัว

                2.6  ตัวอย่างสมุดคุมสำนวนการสืบสวน

*************************

บทที่ 4

การสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ

                การกระทำความผิดอันถือว่าเป็นความผิดอาญา คือ มีบทลงโทษในลักษณะที่เป็นการประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ซึ่ง

การดำเนินคดีอาญาตามประมวล กม.วิธีพิจารณาความอาญานั้น ดำเนินการได้ 2 วิธี คือ

1.ผู้เสียหายนำคดีไปฟ้องศาล ซึ่งคดีในลักษณะนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง

2.ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวโทษ เข้าร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งจะต้องดำเนินการสอบสวน และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป ฟ้องร้องต่อศาลจนถึงผลที่สุดแห่งคดี

อำนาจในการสืบสวนคดีอาญา

การสืบสวนหมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอง (เฉพาะในเขตอำนาจ) หรือตำรวจ (มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร) ได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด

อำนาจในการสอบสวนคดีอาญา การสอบสวน หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ ซึ่งในทางคดีอาญาข้าราชการฝ่ายปกครองเข้าไปเกี่ยวข้องในการสอบสวน โดยเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนฝ่ายเดียว หรือสอบสวนร่วมกับตำรวจ

การสืบสวนและการสอบสวน   มีความสัมพันธ์เกี่ยวพันกันโดยที่ไม่อาจแยกออกได้   ขาดส่วนหนึ่งส่วนใด    กระบวนการยุติธรรมที่จะทราบรายละเอียดพฤติการณ์ในการกระทำผิด  นำตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษก็ไม่อาจสัมฤทธ์ผลได้

ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ และ ทรัพยากรของชาติอื่นๆ ฝ่ายปกครองเข้ามามีมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาได้     โดยอาญาบทบัญญัติของกฎหมาย   ระเบียบ   ข้อบังคับ   ดังต่อไปนี้

1.  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา    มาตรา 18 บัญญัติว่า ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้             มาตรา 2(16) บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้อำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมถึงทั้งพัสดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมปราบปราม

 ดังนั้นคำว่าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง จึงมีความหมาย 2 ประการ คือ

1)พนักงานฝ่ายปกครองโดยสายงาน คือปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

2)พนักงานฝ่ายปกครองที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่น เช่นป่าไม้ สรรพสามิต เป็นต้น

2.  ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ.2523 และแก้ไขเพิ่มเติม

โดยเข้ามาร่วมสอบสวนหรือเข้าควบคุมการสอบสวนในคดีอาญา ดังต่อไป

1)กรณีข้าราชการต้องหาคดีอาญา (ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2509 ข้อ 13) เมื่อข้าราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น เทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล และกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ต้องหาคดีอาญา เพราะได้กระทำตามหน้าที่ หรืออ้างว่าได้กระทำตามหน้าที่ พนักงานสอบสวนต้องรีบรายงาน ผวจ. หรือ นอภ. ทราบเป็นการด่วน เพื่อสั่งให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินคดี ถ้าเป็นเรื่องที่เสนอมายังส่วนกลางหรือส่วนกลางดำเนินการเอง ให้กรมการปกครอง และกรมตำรวจจัดพนักงานสอบสวนของแต่ละฝ่ายร่วมกันสอบสวนดำเนินคดี

2)กรณีผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดร้องขอ (ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2523 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2525 ข้อ 4.3) เมื่อมีเหตุสำคัญหรือจำเป็นสมควรให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ทำการสอบสวนหรือร่วมในการสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้รักษาราชการแทนเสนอเหตุผล ต่อ ผวจ. เพื่อสั่งการ

3)กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอประสบเหตุเกี่ยวกับความผิดอาญา(ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2523 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2525 ข้อ 4.4) กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอประสบเหตุเกี่ยวกับความผิดอาญา ซึ่งควรจะทำการจับกุมได้ ก็ให้ทำการจับกุม แต่หากไม่สามารถจับกุมได้ในทันที สามารถสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจับกุม และเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนคดี ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ อาจสืบสวนสอบสวน หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเพื่อรวบรวมหลักฐาน ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือดำเนินการทั้งหลายอื่น ๆ เพื่อเป็นหลักฐานในชั้นต้น และบันทึกไว้ รวมทั้งส่งหลักฐานที่ได้ทำการสืบสวนสอบสวน และตัวบุคคลที่จับไว้ไปให้พนักงานสอบสวนท้องที่ดำเนินการเอง

4)กรณีฝ่ายปกครองควบคุมการสอบสวน (ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2523 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 )

4.1ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้อ 12.4) การสอบสวนคดีอาญาใด ๆ ที่อยู่ในเขตอำนาจจังหวัด หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นเป็นการสมควร สามารถเร่งรัดหรือควบคุมการสอบสวนได้ดังนี้

1)เรียกพนักงานสอบสวนให้มาชี้แจง พร้อมทั้งนำสำนวนการสอบสวนมาตรวจพิจารณา และแนะนำเร่งรัดให้ดำเนินการ เพื่อเกิดผลดีเป็นไปในทางที่ชอบและเหมาะสม

2)หากเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจะไม่เป็นผล สามารถใช้อำนาจควบคุมการสอบสวน โดยสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามที่เห็นสมควร รวมทั้งการสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว สั่งเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน แต่งตั้งพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมสอบสวนคดีเรื่องนั้นด้วย กรณีดังกล่าวนี้ ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคท้าย และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม วิ.อาญา มาตรา 140

4.2นายอำเภอ (ข้อ12.5) นายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับ ผวจ.ตามข้อ 4.1 แต่เฉพาะในเขตอำเภอที่รับผิดชอบเท่านั้น

4.3ป.หน.กิ่งอำเภอ (ข้อ12.6) ป.หน.กิ่งอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับ นอภ.แต่เฉพาะในเขตกิ่งอำเภอที่รับผิดชอบเท่านั้น

4.2ปลัดกระทรวงมหาดไทย (ข้อ12.7) ปลัดกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเช่นเดียวกับ ผวจ.ตามข้อ 4.1 แต่มีเขตอำนาจครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร

5)การสอบสวนคดีอาญาบางประเภท คดีอาญาบางประเภทที่ฝ่ายปกครองทำหน้าที่ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท ในจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2520 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท พ.ศ. 2521 กำหนดให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองทำการสอบสวนคดีอาญา 10 ประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการ ซึ่งเป็นคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนที่ดิน น้ำมันเชื้อเพลิง การประถมศึกษา การสาธารณสุข การสุสานและฌาปนสถาน และสัตว์พาหนะ

3.  หนังสือกระทรวงมหาดไทย  ด่วนมาก ที่ มท 0207/ ว 981   ลง  26 กรกฎาคม 2532   เรื่องการควบคุมการสอบสวนคดีเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ            เมื่อมีคดีเกิดขึ้นในท้องที่ใด    หัวหน้าพนักงานสอบสวน   จะต้องดำเนินการ  ดังนี้

3.1 เมื่อมีคดีเกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนในท้องที่นั้น รีบรายงานให้ ป.หน.กิ่ง นอภ. หรือ ผวจ. แล้วแต่กรณีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการ

3.2   คดีที่ ป.หน.กิ่ง นอภ. หรือ ผวจ. แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นว่าควรมีการตรวจสอบกำกับดูแลการสอบสวน ให้พิจารณาดำเนินการเรียกสำนวนการสอบสวนมาตรวจพิจารณา แนะนำหรือเร่งรัดการปฏิบัติของพนักงานสอบสวนให้เป็นผลดี และเป็นไปในทางที่เหมาะสมได้

3.3   กรณีที่เป็นคดีใหญ่หรือสำคัญ และการดำเนินการข้างต้นจะไม่ได้ผล ให้ ผวจ. นอภ. หรือ ป.หน.กิ่ง เข้าควบคุมการสอบสวนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ตามนัยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ. 2523 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12.4 12.5 และ 12.6 แล้วแต่กรณี

3.4 เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้จับกุม หรือร่วมในการจับกุมคดีเกี่ยวกับคดีป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่น ๆ ให้ ผวจ. นอภ. หรือ ป.หน.กิ่ง เข้าควบคุมการสอบสวนทุกคดี

3.5   หัวหน้าพนักงานสอบสวนต้องรายงานคดีป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติให้ฝ่ายปกครองทราบโดยด่วน เพื่อให้อำเภอ และจังหวัดรายงานตามลำดับชั้นไปยังกระทรวงมหาดไทยทราบ

เห็นได้ว่า   ในการทำงานการสืบสวน  และทำสำนวนการสืบสวน  จะต้องทราบถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องของการทำงาน  ในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ    ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ที่สำคัญที่ต้องประสานการปฏิบัติในการสืบสวน  เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานคือ พนักงานฝ่ายปกครอง     ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น     นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งในการเข้าถึงข้อมูลอื่น  เช่น

กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ  และหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

*****************************

 

บทที่ 5

ปัญหาข้อขัดข้องและแนวทางแก้ไข

      . ในภาพกว้างโดยทั่วไปในการบริหารจัดการให้การทำงานบรรลุผล

กระบวนการจัดการ

                    INPUT คือทรัพยากรการบริหาร ( Management resources ) อันได้แก่ 4 M’s ประกอบด้วย คน ( Man ) เงิน ( Money ) วัตถุดิบ ( Material ) และวิธีการ  /  จัดการ (  Method / Management ) ถูกนำเข้าในระบบเพื่อการประมวลผลหรือการบริหารงานสืบสวน ให้ประสบความสำเร็จ  พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทำให้ทรัพยากรเพียง 4 ประการเริ่มไม่เพียงพอสำหรับเป้าหมาย จึงได้เพิ่มขึ้นอีก 2 M’s เป็น 6 M’s ได้แก่ เครื่องจักรกล ( Machine ) และ การตลาด ( Market ) ในขณะเดียวกันการทำงานที่มองเห็นถึงความสำคัญ หรือคุณค่าของจิตใจของผู้ปฏิบัติงานมีมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคนงานมากขึ้น จึงเพิ่มขวัญและกำลังใจ ( Morale ) เข้าไปเป็น 7 M’s และเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ( Globalization ) ระบบการสื่อสารไร้พรหมแดนที่ติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วใครไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลย่อมเสียเปรียบหรืออยู่ในสถานะที่เป็นรองต่อผู้กระทำผิด  จึงต้องได้มาซึ่ง      ข้อมูลข่าวสาร ( Message ) เข้าไปในทรัพยากรกระบวนการผลิต รวมเป็น 8 M’s  ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่อาชญากรรม   กลยุทธ์   วิธีการในการกระทำผิด ที่ยังคงพัฒนาและก้าวไปไม่หยุดยั้ง

PROCESS คือ หน้าที่หรือกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่ผู้บริหารต้องกระทำ

OUTPUT คือเป้าหมาย ( Goals ) หรือ วัตถุประสงค์ ( Objectives ) ของการสืบสวน

  • ปัจจัยสำคัญหรือปัญหาขัดข้อง       ในการสืบสวนและทำสำนวนการสืบสวนให้บรรลุถึงเป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของการสืบสวน     ประกอบด้วย
  1. 1.            คน ( Man )
  2. 2.            เงิน ( Money )
  3. 3.            วัตถุดิบ ( Material )
  4. 4.            วิธีการ  /  จัดการ (  Method / Management )
  5. 5.            ขวัญและกำลังใจ ( Morale )
  6. 6.            ข้อมูลข่าวสาร ( Message )
  • แนวทางการแก้ไข       ที่นำเสนอเข้ามาเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขในภาพรวม    คือ การ

ได้มาซึ่ง ข้อมูลข่าวสาร( Message)   เพื่อเป็นแนวทางการสืบสวนให้บรรลุถึงเป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของการสืบสวน     หน่วยปฏิบัติ   ระดับผู้ปฏิบัติ    เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน  ประจำ สภ. /สน.  เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการสืบสวน   การกระทำผิด  ทั้งส่วนของ คดีเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ     ตลอดทั้งข้อมูลคดีในด้านอื่น    รายงานเก็บข้อมูลไว้ที่   ภ.จว./บก.น.   ส่งข้อมูลเก็บไว้ที่   ภ./บช.น.    รวบรวม รายงาน  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จัดเก็บเป็นข้อมูลกลาง  เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการสืบสวนสอบสวน     ที่  เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน  ที่เกี่ยวข้องสามารถสืบค้นนำมาประกอบการสืบสวนและทำสำนวนการสืบสวน   จัดส่งให้   ฝ่ายสอบสวน  นำไปประกอบสำนวนการสอบสวน  เพื่อ  นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย  ตามกระบวนยุติธรรมต่อไป

***********************************************

 

บรรณานุกรม

 – หลักทั่วไปในการสืบสวน

                                                                                                                           โดย    พล.ต.ท.วรรณรัตน์  คชรักษ์  

–  การตรวจที่เกิดเหตุ / การตั้งประเด็น

                                                                                                                           โดย   พล.ต.ต.คงเดช  ชูศรี

 – แนวคิดในระบบงานการสืบสวน

                                                                                                                           โดย   พล.ต.ต.สมคิด   บุญถนอม

 – การดำเนินการภายหลังการสืบสวน : ยุทธวิธีการตรวจค้นและจับกุม                                                                                                                                                       

                                                                                                                            โดย  พล.ต.ต.โกสินทร์  หินเธาว์

– ประวัติและปรัชญาในการสืบสวน

 

                                                                                                                            โดย    พ.ต.อ.พงศ์พัฒน์  ฉายาพันธุ์ 

 

– “สถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย”             

                                                                                                                               โดย     กรมป่าไม้

 

 

เอกสารอ้างอิง

ตุลา มหาผสุธานนท์ 2545. หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

อุทัย เลาหวิเชียร 2544. เอกสารการสอน ร.อ. 600 หลักการจัดการ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ